การพัฒนารูปแบบการดูแลหญิงตั้งครรภ์ที่มารับบริการในห้องคลอด โรงพยาบาลแวงน้อย จังหวัดขอนแก่น

ผู้แต่ง

  • นงเยาว์ คำปัญญา พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ โรงพยาบาลแวงน้อย จังหวัดขอนแก่น
  • จริยา โคตนาคำ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ โรงพยาบาลแวงน้อย จังหวัดขอนแก่น

คำสำคัญ:

การดูแลหญิงตั้งครรภ์, การพัฒนารูปแบบ, การพัฒนางานห้องคลอด

บทคัดย่อ

     การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและใช้รูปแบบการดูแลหญิงตั้งครรภ์ที่มารับบริการในห้องคลอด โรงพยาบาลแวงน้อย จังหวัดขอนแก่น ทำการศึกษาในช่วงเดือนพฤษภาคม 2565 -พฤษภาคม ปี 2566 รวมระยะเวลา 13 เดือน กลุ่มตัวอย่างเจ้าหน้าที่ห้องคลอดโรงพยาบาลแวงน้อย 5 คน และ สหวิชาชีพ 9 คน และ หญิงตั้งครรภ์ที่มารับบริการคลอด จำนวน 54 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แบบประเมินทักษะ แบบเก็บข้อมูลทางคลินิก และ แบบสัมภาษณ์เชิงคุณภาพ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา และเปรียบเทียบก่อนหลังด้วยสถิติ paired t-test
     ผลการศึกษาพบว่า บุคลากรห้องคลอดโรงพยาบาล อายุอยู่ในช่วง 31-40 ปี ร้อยละ 40.00 ประสบการณ์ในห้องคลอดมากมากกว่า 10 ปี ร้อยละ 80.00 หญิงตั้งครรภ์มีความเสี่ยงคือ Hct <33 vol % ร้อยละ 14.14 และ มารดาอายุน้อยกว่า 20 ปี ร้อยละ 13.13 ภายหลังการพัฒนาทักษะการดูแลหญิงตังครรภ์เพิ่มสูงขึ้นจาก 3.83 คะแนน เป็น 4.82  คะแนน ทดสอบด้วยสถิติ paired t-test พบว่าคะแนนเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (t = 6.16) โดยสรุปควรใช้การพัฒนาทักษะและการทำงานร่วมกันกับทีมสหวิชาชีพและการดูแลในชุมชนจึงประสบผลสำเร็จได้

References

World Health Organization. Trends in maternal mortality 2006 to 2023: estimates by WHO, UNICEF, UNFPA, World Bank Group and the United Nations Population Division. Geneva: World Health Organization; 2022.

Janz MK, Becker MH, Hartman PE. Contingency contracting to enhance patient compliance: a review. Patient Educ Couns 1984;5(4):165-78.

กองยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. นโยบายมุ่งเน้นกระทรวงสาธารณสุขประจำ ปี 2567. ปลัดกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข. 2566.

กองตรวจราชการ กระทรวงสาธารณสุข. แผนการตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข ประจำ ปี งบประมาณ 2564.

รายงานสถานการณ์หญิงตั้งครรภ์ที่มารับบริการโรงพยาบาลแวงน้อย. กลุ่มการพยาบาล. โรงพยาบาลแวงน้อย สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น. 2566.

สรภัญ ส่งเสริมพงษ์ และคณะ. การพัฒนารูปแบบการดูแลหญิงตั้งครรภ์เสี่ยงสูงในยุคแห่งการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัล.วารสารวิชาการสาธารณสุข. 2566; 32(1): 125-137.

พรรณี เลิศเจริญยงศ์. การพัฒนารูปแบบการดูแลหญิงตั้งครรภ์เพื่อป้องกันและเฝ้าระวังการคลอดก่อนกำหนด โรงพยาบาลปากคาด อำเภอปากคาด จังหวัดบึงกาฬ. งานการพยาบาลผู้คลอด กลุ่มงานการพยาบาล โรงพยาบาลปากคาด สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดจังหวัดบึงกาฬ. 2567

อรกัญญา ฟังสูงเนิน และคณะ ได้ทำการศึกษาเรื่องการพัฒนาระบบการดูแลสตรีตั้งครรภ์ระยะคลอดในสถานการณ์โควิด-19 โรงพยาบาลบุรีรัมย์. วารสารการแพทย์โรงพยาบาลศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์. 2565 ; 37(3): 679-688.

พรจิต จันโทภาส และคณะ ได้ทำการศึกษเรื่อง การพัฒนารูปแบบการพยาบาลหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกาหนดตามกรอบมิติคุณภาพการบริการผู้คลอด. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยการพยาบาลสาธารณสุขภาคใต้ 2564 ; 8(2): 123-137.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-10-31

How to Cite

คำปัญญา น. ., & โคตนาคำ จ. . . (2024). การพัฒนารูปแบบการดูแลหญิงตั้งครรภ์ที่มารับบริการในห้องคลอด โรงพยาบาลแวงน้อย จังหวัดขอนแก่น. วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน, 9(5), 412–419. สืบค้น จาก https://he03.tci-thaijo.org/index.php/ech/article/view/3423