การพัฒนารูปแบบการคัดแยกประเภทผู้ป่วย งานผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลยางสีสุราช จังหวัดมหาสารคาม

ผู้แต่ง

  • มยุรฉัตร อุทปา โรงพยาบาลยางสีสุราช
  • พิศสมัย ไลออน โรงพยาบาลยางสีสุราช
  • กาญจนา จันทะนุย โรงพยาบาลยางสีสุราช
  • นิจพร สว่างไธสง โรงพยาบาลยางสีสุราช
  • กำทร ดานา วิทยาลัยพยาบาลศรีมหาสารคาม คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก Corresponding author: kamthorn@smnc.ac.th
  • อนุชา ไทยวงษ์ วิทยาลัยพยาบาลศรีมหาสารคาม คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก

คำสำคัญ:

รูปแบบ, การคัดแยกประเภทผู้ป่วย, งานผู้ป่วยนอกและอุบัติเหตุฉุกเฉิน

บทคัดย่อ

     การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการคัดแยกประเภทผู้ป่วย และเพื่อศึกษาประสิทธิผลของการใช้รูปแบบการคัดแยกผู้ป่วย โรงพยาบาลยางสีสุราช จังหวัดมหาสารคาม กลุ่มตัวอย่าง คือ บุคลากรที่ปฏิบัติงานในงานผู้ป่วยนอกและอุบัติเหตุฉุกเฉิน จำนวน 16 คน ได้แก่ พยาบาลวิชาชีพ 13 คน และเจ้าพนักงานเวชกิจฉุกเฉิน 3 คน และเวชระเบียนผู้ป่วยที่มารับบริการที่แผนกผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยอุบัติเหตุฉุกเฉิน ระหว่าง เดือนพฤษภาคม - สิงหาคม 2566 จำนวน 496 แฟ้ม เครื่องมือวิจัย ประกอบด้วย ระบบ MOPH ED Triage ของกรมการแพทย์ แบบบันทึกข้อมูลจากเวชระเบียน แบบประเมินการคัดแยกผู้ป่วยของบุคลากรผู้ให้บริการ และแบบประเมินคุณภาพการคัดแยกประเภทผู้ป่วย วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา และการวิเคราะห์เนื้อหากับการสรุปผล
     ผลการวิจัย พบว่า มีการจัดทําคุณสมบัติเฉพาะตําแหน่ง หน้าที่ความรับผิดชอบ และการมอบหมายหน้าที่ กําหนดแนวทางการดําเนินงานที่และจัดทําคู่มือและแนวทางปรับปรุงเกณฑ์ในการคัดแยกผู้ป่วย หลังพัฒนาระบบการคัดแยกประเภทผู้ป่วย การคัดแยกประเภทผู้ป่วยถูกต้องและผลการคัดแยกรายเดือน ตั้งแต่ พฤษภาคม - สิงหาคม 2566 ความถูกต้องมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ร้อยละ 61.90, 64.18, 73.28 และ 87.94 ตามลำดับ และกลุ่มที่มีผลการคัดแยกประเภทผู้ป่วยต่ำกว่าเกณฑ์ที่กำหนด (Under triage) มีแนวโน้มลดลง ผลลัพธ์ด้านระยะเวลาที่ผู้ป่วยได้รับการตรวจตามประเภทความรุนแรง อัตราการได้รับการตรวจมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น

References

Zeqiri, A., Lenjani, B., Zeka, B., Lenjani, D., Lenjani, I., & Dogjani, A. (2024). Triage Prehospital EMS and Medical Care. Albanian Journal of Trauma and Emergency Surgery, 8(2), 1419-1424. https://doi.org/10.32391/ajtes.v8i2.411

Ko, Y., Park, B., Lee, H., & Kim, D. (2021). Developing and testing a Korean patient classification system for general wards based on nursing intensity. Nursing open, 8(4), 1870–1878. https://doi.org/10.1002/nop2.845

กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. MOPH ED. Triage. นนทบุรี : สำนักวิชาการแพทย์กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ; 2561.

Lansiaux, Edouard & Ibrahim, Eman & Minaz, Anmol & Itani, Rania & Kukkadi, Rihana & Obinna, Ozota & Huang, Helen. (2024). Medical Triage : From Battlegrounds Darkness to the Machine Light.

Gorick H. (2023). How to triage patients in the emergency department. Emergency nurse : the journal of the RCN Accident and Emergency Nursing Association, 10.7748/en.2023.e2186. Advance online publication. https://doi.org/10.7748/en.2023.e2186

Komashie A, Ward J, Bashford T, et al. (2021). Systems approach to health service design, delivery and improvement: a systematic review and meta-analysis BMJ Open, 11, e037667. doi: 10.1136/bmjopen-2020-037667

Cheng AW, McCreesh P, Moffatt S, Maziarz R, Vos D, Mastenbrook J. (2020). Going vertical: triage flags improve extraction times for priority patients. JACEP Open, 1, 1185-1193. https://doi.org/10.1002/emp2.12235

Usman, M., Sani, A., Alhassan, M., & Auwal, R. H. (2024). Effect of Sorting and Arrangement of Patient Health Records in Health Records Department of Cottage Hospitals Bojude and Malam Sidi in Kwami L.G.A. Gombe State, Nigeria. American Journal of Applied Statistics and Economics, 3(1), 44–50. https://doi.org/10.54536/ajase.v3i1.2002

Sutham, K., Khuwuthyakorn, P., & Thinnukool, O. (2020). Thailand medical mobile application for patients triage base on criteria based dispatch protocol. BMC medical informatics and decision making, 20(1), 66. https://doi.org/10.1186/s1

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-10-31

How to Cite

อุทปา ม. ., ไลออน พ. ., จันทะนุย ก. ., สว่างไธสง น. ., ดานา ก. ., & ไทยวงษ์ อ. . (2024). การพัฒนารูปแบบการคัดแยกประเภทผู้ป่วย งานผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลยางสีสุราช จังหวัดมหาสารคาม. วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน, 9(5), 420–430. สืบค้น จาก https://he03.tci-thaijo.org/index.php/ech/article/view/3424