การพยาบาลผู้ป่วย ที่มีภาวะช็อคจากการติดเชื้อในกระแสเลือด ในงานอุบัติเหตุฉุกเฉิน กรณีศึกษาเปรียบเทียบ 2 ราย
คำสำคัญ:
การพยาบาลผู้ป่วย, ภาวะช็อคจากการติดเชื้อในกระแสเลือด, งานอุบัติเหตุฉุกเฉินบทคัดย่อ
การศึกษานี้เป็นกรณีศึกษา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการดำเนินของโรค ข้อวินิจฉัยการพยาบาล ปฏิบัติการพยาบาลและผลลัพธ์การพยาบาลในผู้ป่วยที่มีภาวะช็อกจากการติดเชื้อในกระแสเลือดในงานบริการผู้ป่วยอุบัติเหตุและฉุกเฉิน เปรียบเทียบ 2 ราย เป็นผู้ป่วยที่มีภาวะช็อคจากการติดเชื้อในกระแสเลือด ในงานผู้ป่วยอุบัติเหตุฉุกเฉิน ที่เข้ารับการรักษาโรงพยาบาลสมเด็จ ตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2567 – 31 ตุลาคม 2567 จำนวน 2 ราย
ผลการศึกษา พบว่า ผู้ป่วยทั้ง 2 ราย ได้รับการดูแล การเกิดภาวะช็อคจากการติดเชื้อในกระแสเลือด พยาธิสภาพ อาการและอาการแสดง การรักษา ปัญหาและข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล กรณีศึกษาทั้ง 2 รายมีภาวะวิตกกังวลเพราะผู้ป่วยและสมาชิกในครอบครัวต้องเผชิญปัญหาต่อการเจ็บป่วยของผู้ป่วย ต้องดูแลให้ข้อให้ข้อมูลมูลการรักษาพยาบาลและการช่วยเหลือประคับประคองแก่ครอบครัวตามความต้องการ
References
ทิฏฐิ ศรีวิชัย และวิมล อ่อนเส็ง. (2560). ภาวะช็อกจากการติดเชื้อ: ความท้าทายของพยาบาล ฉุกเฉิน.วารสารวิทยาลัยบรมราชชนนีอุตรดิตถ์. 9(2) : 152-162.
กระทรวงสาธารณสุข. (2564). รายงานสถิติอัตราตายผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือด [อินเตอร์เน็ต].สืบค้นเมื่อ 1พฤษภาคม 2567. จากเว็ปไซต์ :https://hdcservice.moph.go.th/hdc/reports/
ฑิตยา วาระนัง. (2562). ผลลัพธ์ของการใช้แนวทางปฏิบัติการดูแลผู้ป่วยที่มีภาวะติดเชื้อใน กระแสโลหิต โรงพยาบาลฝาง จังหวัดเชียงใหม่. เชียงรายเวชสาร. 11(1/2562). 1-8.
ข้อมูลเวชระเบียนและสถิติ. (2567). จํานวนผู้ป่วย sepsis/septic shock โรงพยาบาลสมเด็จ งานเวชระเบียนและสถิติโรงพยาบาลสมเด็จจังหวัดกาฬสินธุ์.สืบค้นเมื่อ 1พฤษภาคม2567.รายงานhos-XP/end user report
รัฏฏิกาญจน์ นาคโนนทัน (2566).การพยาบาลผู้ป่วยที่มีภาวะช็อคจากการติดเชื้อในกระแสเลือดในงานบริการผู้ป่วยอุบัติเหตุฉุกเฉิน โรงพยาบาลชุมแพ. : กรณีศึกษาเปรียบเทียบ 2 ราย
สมพร รอดจินดา. (2563). การพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือดโรงพยาบาลน่าน. วารสารพยาบาลโรคหัวใจและทรวงอก. 31(1). 212-231.
สมาคมเวชบำบัดวิกฤตแห่งประเทศไทย. (2558). การดูแลรักษาผู้ป่วย Severe Sepsis และ Septic Shock (ฉบับร่าง) แนวทางเวชปฏิบัติ. กรุงเทพฯ : สมาคมเวชบำบัดวิกฤต.
นฤมล ฮามพิทักษ์. (2563). การพยาบาลผู้ป่วยที่มีภาวะช็อกจากการติดเชื้อ : กรณีศึกษา 2 ราย โรงพยาบาลขอนแก่น. วารสารสุขภาพและสิ่งแวดล้อมศึกษา, 5(3). 79-87.