ผลของการให้คุณค่าและการเสริมพลังต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมไม่ได้ในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านผักแว่น ตำบลยางขี้นก อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี
คำสำคัญ:
การให้คุณค่า , การเสริมพลัง , พฤติกรรม, เบาหวานที่ควบคุมไม่ได้บทคัดย่อ
การวิจัยแบบกึ่งทดลองครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการให้คุณค่าและการเสริมพลังต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมไม่ได้ในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านผักแว่น ตำบลยางขี้นก อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี กลุ่มตัวอย่างแบ่งเป็น 2 กลุ่ม ๆ ละ 30 คน รวม 60 คน กลุ่มทดลอง คือ ผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมไม่ได้ในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านผักแว่น ตำบลยางขี้นก อำเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี กลุ่มเปรียบเทียบ คือ ผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมไม่ได้ในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านธาตุน้อย ตำบลธาตุน้อย อำเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี โดยกลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมเป็นระยะเวลา 12 สัปดาห์ กลุ่มเปรียบเทียบได้รับโปรแกรมปกติ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม 2 ครั้ง ก่อนและหลังการทดลอง ระหว่างวันที่ 8 สิงหาคม 2567 ถึงวันที่ 8 ตุลาคม 2567 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนานำเสนอด้วยค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน มัธยฐาน เปอร์เซนต์ไทล์ที่ 25 และ 75 เปรียบเทียบผลต่างของคะแนนเฉลี่ยของตัวแปรภายในกลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบโดยใช้สถิติ paired t-test และระหว่างกลุ่มโดยใช้สถิติ Independent t-test กำหนดนัยสำคัญที่ระดับ 0.05
ผลการศึกษาพบว่า หลังการทดลองผลต่างคะแนนเฉลี่ยของความรู้เรื่องโรคเบาหวาน การรับรู้โอกาสเสี่ยงของการป่วยด้วยโรคเบาหวาน การับรู้ความรุนแรงของการป่วยด้วยโรคเบาหวาน การรับรู้ประโยชน์การดูแลสุขภาพตนเอง การรับรู้อุปสรรคการดูแลสุขภาพตนเอง การเห็นคุณค่าของตนเอง การเสริมพลัง และพฤติกรรมการดูแลตนเองของกลุ่มทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองและสูงกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
References
World Health Organization. (2020). Global report on diabetes. World Health Organization.
American Diabetes Association. (2021). Standards of medical care in diabetes—2021. Diabetes Care, 44(Supplement 1), S1-S232.
Zhou, B., Lu, Y., Hajifathalian, K., Bentham, J., Di Cesare, M., Danaei, G., ... & Ezzati, M. (2019). Worldwide trends in diabetes since 1980: a pooled analysis of 751 population-based studies with 4.4 million participants. The Lancet, 387(10027), 1513-1530.
Lloyd, A., Sawyer, W., & Hopkinson, P. K. (2018). Impact of long-term complications on quality of life in patients with type 2 diabetes not using insulin. Value in Health, 11(3), 91-98.
สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย. (2564). แนวทางเวชปฏิบัติสำหรับโรคเบาหวาน พ.ศ. 2564.บริษัทศรีเมืองการพิมพ์จำกัด.
World Health Organization. (2018). Global status report on noncommunicable diseases 2014. Retrieved from https://www.who.int/nmh/publications/ncd-status-report-2014/en/
Funnell, M. M., Anderson, R. M., Arnold, M. S., Barr, P. A., Donnelly, M., Johnson, P. D., & White, N. H. (1991). Empowerment: an idea whose time has come in diabetes education. The Diabetes Educator, 17(1), 37-41.
Anderson, R. M., Funnell, M. M., Butler, P. M., Arnold, M. S., Fitzgerald, J. T., & Feste, C. C. (1995). Patient empowerment: results of a randomized controlled trial. Diabetes Care, 18(7), 943-949.
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านผักแว่น. (2567). รายงานสถิติผู้ป่วยโรคเบาหวานในเขตพื้นที่บริการ. อุบลราชธานี: โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านผักแว่น.
กรมสุขภาพจิต. (2563). รายงานสถานการณ์โรคเบาหวานในประเทศไทย. กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข.
Lemeshow, S.. Hosmer, D.W.. Jr., Klar, J.. & Lwanga, S. (1990). Adequacy of sample size in health studies. New York : John Wiley & Sons.
วรรณี ปทุมวิวัฒนา. (2567). ผลของการให้ความรู้และการให้คำปรึกษาด้านยาสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ควบคุมไม่ได้. วารสารการวิจัยสุขภาพชุมชน, 45(3), 123-135.
อติญาณ์ ศรเกษตริน และคณะ. (2566). ประสิทธิผลของโปรแกรมสร้างเสริมสุขภาพร่วมกับการสนับสนุนการจัดการตนเองในผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2. วารสารการแพทย์ชุมชน, 40(2), 245-258.
นันทิมา เนียมหอม. (2566). ผลของการดูแลแบบทีมสหสาขาวิชาชีพร่วมกับการติดตามการรักษาทางโทรศัพท์ในผู้ป่วยเบาหวาน. วารสารการแพทย์สาธารณสุข, 47(1), 89-100.
ธนพร แก้วเนตร. (2566). ประสิทธิผลของโปรแกรมสร้างเสริมสุขภาพในผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลไม่ได้. วารสารสุขภาพและการพัฒนา, 48(2), 140-152.
จุฬาลักษณ์ สินธุเขต. (2566). ผลของการเยี่ยมบ้านผู้ป่วยต่อระดับน้ำตาลสะสมในผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมไม่ได้. วารสารการพยาบาลชุมชน, 39(2), 101-115.
ฐิตารัตน์ โกเสส และคณะ. (2565). ผลของโปรแกรมการกำกับตนเองต่อการจัดการอาหารและระดับน้ำตาลในเลือดในผู้ที่มีภาวะเบาหวานชนิดที่ 2. วารสารวิจัยทางการแพทย์, 35(4), 317-329.
โสภารัตน์ อารินทร์ และคณะ. (2564). ผลของโปรแกรมการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมต่อการป้องกันแผลที่เท้าในผู้เป็นเบาหวานชนิดที่ 2. วารสารการแพทย์ชุมชน, 32(4), 240-255.
อุบลรัตน์ รัตนอุไร และคณะ. (2561). ผลของโปรแกรมจัดการผู้ป่วยรายกรณีในผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลไม่ได้. วารสารวิทยาการแพทย์, 44(3), 158-172.