การพัฒนาแนวปฏิบัติทางคลินิกสำหรับการพยาบาลผู้ป่วยจิตเภทที่มีอาการหูแว่ว โรงพยาบาลนภาลัย จังหวัดสมุทรสงคราม
คำสำคัญ:
แนวปฏิบัติทางคลินิก, ผู้ป่วยจิตเภท, หูแว่วบทคัดย่อ
การวิจัยเชิงปฏิบัติการ ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลทางคลินิกสำหรับผู้ป่วยจิตเภทที่มีอาการหูแว่วในคลินิกจิตเวช โรงพยาบาลนภาลัย โดยยึดหลักการปฏิบัติบนพื้นฐานความรู้เชิงประจักษ์ของสภาวิจัยสุขภาพ และการแพทย์แห่งชาติประเทศออสเตรเลีย (NHMRC, 1998) เก็บข้อมูลจากแบบสอบถามคุณภาพการนำใช้ของแนวปฏิบัติการพยาบาล การประเมินคุณภาพการนำใช้ของแนวปฏิบัติการพยาบาลทางคลินิกสำหรับผู้ป่วยจิตเภทที่มีอาการหูแว่วโดยพยาบาลจิตเวชและพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานดูแลผู้ป่วยจิตเภท จำนวน 20 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหาและสถิติพรรณนา
ผลการศึกษา พบว่าร้อยละ 100 มีความเห็นด้วยว่าแนวปฏิบัติใช้งานได้ง่าย มีความชัดเจน เหมาะสมกับหน่วยงาน มีความสะดวกในการนำไปใช้ ประหยัดทั้งด้านกำลังคน เวลา และงบประมาณ และเห็นว่าแนวปฏิบัติทางคลินิกสำหรับการพยาบาลผู้ป่วยจิตเภทที่มีอาการหูแว่วมีความเป็นไปได้ในการปฏิบัติ การประเมินผลแนวปฏิบัติทางคลินิกตามตัวชี้วัดที่ได้กำหนดขึ้น ไม่พบอุบัติการณ์พฤติกรรมก้าวร้าวรุนแรงทั้งต่อตนเองและผู้อื่น ผู้ป่วยทุกรายมีความทุกข์ทรมานจากอาการหูแว่วลดลง และไม่กลับมารักษาซ้ำภายใน 28 วันด้วยอาการหูแว่วที่รุนแรง
References
พนิดา บุตรดีวงษ์. (2561). แนวทางการประเมินและการจัดการอาการหูแว่วในผู้ป่วยจิตเภท. รายงานผล การดำเนินการ โครงการพัฒนาคุณภาพ.โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ.
โรงพยาบาลนภาลัย.(2562). สถิติประจำปีโรงพยาบาลนภาลัย จังหวัดสมุทรสงคราม.สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข.
รวินันท์ ใจเงิน.(2566).ประสิทธิผลของการใช้แนวปฏิบัติทางคลินิกสำหรับการพยาบาลผู้ป่วยจิตเภทที่มีอาการหูแว่ว แผนกผู้ป่วยใน โรงพยาบาลสวนปรุง จังหวัดเชียงใหม่.วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
กรมสุขภาพจิต.(2563).คู่มือระบบการดูแลผู้ป่วยจิตเวชที่มีความเสี่ยงสูงต่อการก่อความรุนแรงสำหรับสถาบัน/โรงพยาบาล สังกัดกรมสุขภาพจิต.พิมพ์ครั้งที่1.กรุงเทพฯ: บริษัทพรอสเพอรัสพลัส จำกัด
ยาใจ สิทธิมงคล, พวงเพชร เกษรสมุทร, นพพร ว่องสิริมาศ, และอทิตยา พรชัยเกตุ โอว ยอง. (2561). การพยาบาลจิตเวชศาสตร์ .(พิมพ์ครั้งที่3). สแกนอาร์ค.