เปรียบเทียบผลลัพธ์ทางคลินิกผู้ป่วยไตวายระยะสุดท้ายที่ล้างไตทางเยื่อบุช่องท้องด้วยตนเองและผู้ป่วยไตวายระยะสุดท้ายที่ล้างไตทางเยื่อบุช่องท้องด้วยเครื่องอัตโนมัติ โรงพยาบาลหนองบัวลำภู

ผู้แต่ง

  • มลิดา อินานันท์ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ กลุ่มงานการพยาบาลตรวจรักษาพิเศษ โรงพยาบาลหนองบัวลำภู

คำสำคัญ:

โรคไตวายเรื้อรัง, ESRD, การฟอกไตทางช่องท้องอัตโนมัติ, การฟอกไตทางช่องท้องแบบผู้ป่วยนอกอย่างต่อเนื่อง

บทคัดย่อ

     การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ แบบย้อนหลัง มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบผลลัพธ์ทางคลินิกผู้ป่วยไตวายระยะสุดท้ายที่ล้างไตทางเยื่อบุช่องท้องด้วยตนเองและผู้ป่วยไตวายระยะสุดท้ายที่ล้างไตด้วยเครื่องอัตโนมัติ โดยศึกษาจากฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ในโรงพยาบาลหนองบัวลำภู โดยแบ่งเป็น2 กลุ่ม กลุ่มที่1 ผู้ป่วยไตวายระยะสุดท้ายที่ล้างไตทางเยื่อบุช่องท้องชนิดต่อเนื่องด้วยตนเอง102ราย เก็บข้อมูลย้อนหลังตั้งแต่เดือน พฤษภาคม 2566 ถึง ธันวาคม 2566 จำนวน 78 รายและกลุ่มที่2 ผู้ป่วยไตวายระยะสุดท้ายที่ล้างไตทางเยื่อบุช่องท้องชนิดต่อเนื่องด้วยเครื่องอัตโนมัติ เก็บข้อมูลย้อนหลัง ตั่งแต่เดือน พฤษภาคม 2566 ถึง ธันวาคม 2566 จำนวน 24 ราย วิเคราะห์ข้อมูล โดยการเปรียบเทียบความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วัดผลลัพธ์ทางคลินิกด้วย Risk difference regression.และ Mean difference regression.
     ผลการศึกษา พบว่า ผู้ป่วยไตวายระยะสุดท้ายที่ล้างไตทางเยื่อบุช่องท้องชนิดต่อเนื่อง 102 รายมีอายุระหว่าง 17-74 ปี  หลังปรับอิทธิพลตัวแปร ได้แก่ เพศ อายุ BMI Blood pressure โรคร่วม อาชีพ การศึกษา Caregiver การได้รับยา Medication และโรคร่วม พบว่า ผู้ป่วยไตวายระยะสุดท้ายที่ล้างไตด้วยเครื่องอัตโนมัติ (Automated Peritoneal Dialysis) มีค่าเฉลี่ยผลตรวจทางห้องปฏิบัติการเพิ่มขึ้นได้แก่ Hemoglobin ,Albumin , Sodium ,Phosphorus และผลตรวจทางห้องปฏิบัติการมีค่าเฉลี่ยลดลงได้แก่ Blood urea nitrogen, Creatinine Potassium, Sodium bicarbonate และ Calcium ซึ่งไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ยกเว้น มีภาวะติดเชื้อน้อยกว่า 19% (95% CI: -0.32,-0.08,p=0.001) ค่าเฉลี่ย Hematocrits เพิ่มขึ้น 3.09mg% (95% CI: 0.42,5.75, p=0.023) และค่าเฉลี่ยระยะเวลาที่ได้รับการผักผ่อนมากขึ้นเฉลี่ย  4.26 ชั่วโมง (95% CI:3.79,4.73, p<0.001) แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ เมื่อเทียบกับกลุ่มที่ล้างไตทางช่องท้องชนิดต่อเนื่องด้วยตนเอง

References

ธเรศ กรัษนัยรวิวงค์/.2566/ รณรงค์วันไตโลก 2566 “ตระหนักภัย ใส่ใจไต ป้องกันไว้ เน้นกลุ่มเสี่ยงโรคไตเรื้อรัง” [อินเตอร์เนต] เข้าถึงได้จากhttps://ddc.moph.go.th/brc/news.php?news=32575&deptcode=brc

วิโรจน์ ตันติโกสุม./2564/ล้างไตทางหน้าท้องแบบอัตโนมัติ ดีกว่า ฟอกไตทางหลอดเลือด [อินเตอร์เนต] เข้าถึงได้จาก https://www.chewa.co.th/?p=13728

ชุติเดช ตาบ-องครักษ์ /2566/สปสช. หนุนใช้ 'APD' เครื่องล้างไตทางช่องท้องแบบอัตโนมัติ เพิ่มคุณภาพชีวิตผู้ป่วยไตวายเรื้อรัง [อินเตอร์เนต] เข้าถึงได้จาก https://www.thecoverage.info/news/content/4943

สุชาย ศรีทิพยวรรณ/2563/หนุนสิทธิผู้ป่วยไต เข้าถึงเครื่องล้างอัตโนมัติ [อินเตอร์เนต] https://www.thaihealth.or.th/?p=234617

สุชาย ศรีทิพยวรรณ /2563/เผยผู้ป่วยล้างไตทางช่องท้อง 10% จำเป็นต้องใช้เครื่องล้างไตอัตโนมัติ[อินเตอร์เนต] เข้าถึงได้จาก https://www.nhso.go.th/news/2869

สปสช/2566/พลิกโฉมคุณภาพชีวิตผู้ป่วยโรคไตด้วยเครื่องล้างไตอัตโนมัติ [อินเตอร์เนต] เข้าถึงได้ จากhttps://www.youtube.com/watch?v=hJnFbDK3DyI&t=12s

อนุตตร จิตตินันทน์.Peritoneal Dialysis prescription and Adequacy Monitoring .Textbook of peritoneal Dialysis,2009;หน้า189-201.

ธนิต จิรนันท์ธวัช. Automate Peritoneal Dialysis and Its Role in Peritoneal Dialysis. Textbook of peritoneal Dialysis,2009;หน้า537-551

United States Renal data Sstem.USRDS 1998.Annual Data report.National Institutes of Health. National Institutes of Diabetis and kidney Disease.Bethesda,MD,1998.

Warady BA Herbert D Sullivan EK Alexander SR, Tejani A. Renal transplantation, choonic dialysis and chronic renal insufficiency in children and adolescent The 1995 Annual Report of the North American Pediatric Renal Transplant Cooperative Study.Pediatr Nephrol 1997;11(1):49-64

Correa-Rotter R. APD in the developing world: is there a future? Semin Dial.2002:15(6):385-7

Enoch C Aslam N.Piraino B Intra-abdominal pressure.Peritoneal dialysis exchange volum.and tolerance in APD. Semin Dial 2002; 15(16);403-406.

Flanigan MJ.Lim VS. Pflederer TA.Tidal peritoneal dialysis; kinetic and protein balance.Am J kidney Dis 1993;22;700-7

ดรุณี จันทร์เลิศฤทธิ์,มัลลวีร์ อดุลวัฒนศิริ,ฉันทนา กล่อมจิต.การให้คำปรึกษาบำบัดทดแทนไต. Textbook of peritoneal Dialysis,2009;หน้า87-100

เกรียง ตั่งสง่าการจัดตั่งหน่วยบริการการล้างไตทางช่องท้อง Textbook of peritoneal Dialysis,2009;หน้า 63-85

สกานต์ บุญนาค .การบำบัดทดแทนไต.โรงพยาบาลราชวิถี;2559

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-10-31

How to Cite

อินานันท์ ม. . . . . (2024). เปรียบเทียบผลลัพธ์ทางคลินิกผู้ป่วยไตวายระยะสุดท้ายที่ล้างไตทางเยื่อบุช่องท้องด้วยตนเองและผู้ป่วยไตวายระยะสุดท้ายที่ล้างไตทางเยื่อบุช่องท้องด้วยเครื่องอัตโนมัติ โรงพยาบาลหนองบัวลำภู. วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน, 9(5), 595–603. สืบค้น จาก https://he03.tci-thaijo.org/index.php/ech/article/view/3453