การพัฒนารูปแบบการบริบาลทางเภสัชกรรม การจัดการ การติดตาม และการส่งต่อข้อมูลหลังเกิดภาวะเลือดเป็นกรดในผู้ป่วยเบาหวานที่ได้รับยาเมทฟอร์มินบนหอผู้ป่วยอายุรกรรมของโรงพยาบาลมหาสารคามสู่โรงพยาบาลเครือข่าย
คำสำคัญ:
ภาวะเลือดเป็นกรดจากแลคติคคั่ง, อาการไม่พึงประสงค์จากยา, ความคลาดเคลื่อนทางยาบทคัดย่อ
การศึกษานี้มีรูปแบบงานวิจัยเชิงปฏิบัติการ และเก็บข้อมูลย้อนหลัง เพื่อหาความชุก ผลการเกิดความคลาดเคลื่อนทางยา ผลการเกิดอาการไม่พึงประสงค์ เปรียบเทียบระหว่างก่อนและหลังการพัฒนาระบบการสั่งใช้ยา และศึกษาผลการพัฒนาระบบการติดตาม เก็บข้อมูล และส่งต่อผู้ป่วยหลังการเกิดภาวะเลือดเป็นกรดจากแลคติคคั่งในยาเมทฟอร์มิน ที่เข้ารักษาตัวในหอผู้ป่วยโรงพยาบาลมหาสารคาม เก็บข้อมูลจากฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ของโรงพยาบาล ระหว่าง พ.ศ.2562-2567
ผลการศึกษาพบว่า ผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาจากการเกิดอาการไม่พึงประสงค์ทั้งหมด 168 ราย จากฐานข้อมูลการใช้บริการสาธารณสุข(HDC Service) มีรายงานผู้ป่วยเบาหวานจากทุกเขตพื้นที่ในจังหวัดมหาสารคาม พบความชุกในการเกิด MALA เท่ากับ 46.7 รายต่อประชากร 100,000 รายต่อปี จำนวนการรายงานผู้ป่วยที่เกิด MALA ที่เข้ามานอนรักษาตัวโรงพยาบาลพบว่ามีจำนวนสูงขึ้นหลังจากที่มีการพัฒนาระบบการติดตาม จากจำนวน 47 ราย เป็น 121 รายอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ พบปัจจัยมีผลต่อการเพิ่มความเสี่ยง MALA ได้แก่ การดื่มแอลกอฮอล์พบมากที่สุด รองลงมาคือ ใช้ยา NSAIDs และใช้สมุนไพรร่วมด้วย ผลการเกิดความคลาดเคลื่อนทางยาก่อนพัฒนาระบบมีจำนวนการรายงาน 104 ครั้ง โดยสามลำดับแรกคือ สั่งยาในขนาดสูงเกินไปคำสั่งใช้ยาไม่ชัดเจน และสั่งยาที่มีข้อห้ามใช้ หลังการพัฒนาระบบพบว่ามีจำนวนความเคลื่อนทางยามากขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ เป็นจำนวน 130 ครั้ง
References
สมาคมเบาหวานแห่งประเทศไทย. แนวทางเวชปฏิบัติสำหรับโรคเบาหวาน พ.ศ.2566
Ahmad E, Sargeant JA, Yates T, Webb DR, Davies MJ. Type 2 diabetes and impaired physical function: a growing problem. Diabetology. 2022;3(1):30-45.
Cryer DR, Nicholas SP, Henry DH, Mills DJ, Stadel BV. Comparative outcomes study of metformin intervention versus conventional approach the COSMIC Approach Study. Diabetes Care 2005;28(3):539-43.
รจนา จักรเมธากุล. บทความฟื้นวิชาการ: ภาวะเลือดเป็นกรดแลคติกเกิน ซึ่งสัมพันธ์กับการใช้ยาเมทฟอร์มิน. วารสารสมาคมเวชศาสตร์ป้องกันแห่งประเทศไทย, 8(1):147-151
Stang M, Wysowski DK, Butler-Jones D. Incidence of lactic acidosis in metformin users. Diabetes Care 1999; 22(6): 925-7.
Van Berlo-van de Laar IR, Vermeij CG, Doorenbos CJ. Metformin associated lactic acidosis: incidence and clinical correlation with metformin serum concentration measure ments. J Clin Pharm Ther 2011 Jun;36(3):376-82.
Edwards IR, Aronson JK. Adverse drug reactions: Definitions, diagnosis, and management. Lancet. 2000;356:1255–9.
American Diabetes Association. Standards of Medical Care in Diabetes 2022. Diabetes Care 2022;45(Suppl. 1):S1–S2 Available from: https://doi.org/10.2337/dc22-SINT
ศูนย์เฝ้าระวังความปลอดภัยด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ. [อินเทอร์เน็ต]. นนทบุรี: สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา[เข้าถึง เมื่อ 17 มิย. 2567]. เข้าถึงได้จาก http://hpvc.fda.moph.go.th/AEINFO/NewsPublishList.aspx?PID=10010media.php (moph.go.th)
Raumcharoen, F. (2015). Metformin-Induced Metabolic Acidosis in Diabetic Patients attending NakhonPhanom Hospital, 2010-2013-ภาวะ กรดในเลือด จาก ยา Metformin ในผู้ป่วยโรคเบาหวานทีรักษาในโรงพยาบาลนครพนม ปี 2553-2556. Journal of Health Science of Thailand, 337-346.
Kanjanasilp, J., Kuncharoenrut, N., Seehawong, A., &Jittayanan, B. Risk Factors of Metformin-associated Lactic Acidosis in Type 2 Diabetic Patients Using Metformin.
วิลาสินี เสียงตรง และคณะ. Risk Factors Related to Mortality of Metformin Associated Lactic Acidosis in Patients with type 2 Diabetes Mellitus of Buriram Hospital, Thailand. Journal of Health Science of Thailand. 2019;28(6):1066-76.
Boucaud‐Maitre, D., Ropers, J., Porokhov, B., Altman, J. J., Bouhanick, B., Doucet, J., &Emmerich, J. (2016). Lactic acidosis: relationship between metformin levels, lactate concentration and mortality. Diabetic Medicine, 33(11), 1536-1543.
Van Berlo‐van de Laar, I. R. F., Vermeij, C. G., &Doorenbos, C. J. (2011). Metformin associated lactic acidosis: incidence and clinical correlation with metformin serum concentration measurements. Journal of clinical pharmacy and therapeutics, 36(3), 376-382.
ปิยะวัฒน์รัตนพันธ์. การประเมินความเหมาะสมของการสั่งใช้ยา metformin ในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 โรงพยาบาลอินทร์บุรี. วารสารการแพทย์และสาธารณสุขเชต 4. 2023:13(2):1-12
วิกาวี รัศมีธรรม.การศึกษาการเกิดภาวะเลือดเป็นกรดจากแล็กติกคั่งจากยาเมทฟอร์มินโดยใช้ข้อมูลรายงานอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยาของศูนย์เฝ้าระวังความปลอดภัยด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข ประเทศไทย. [วิทยานิพนธ์ เภสัชศาสตรมหาบัณฑิต]. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.2562
Richy, F., Sabidó-Espin, M., Guedes, S., Corvino, F. A., &Gottwald-Hostalek, U. Incidence of lactic acidosis in patients with type 2 diabetes with and without renal impairment treated with metformin: a retrospective cohort study. Diabetes care, 37(8), 2291-2295.
สิริรัตน์ ภูมิรัตนประพิณ. ผลการใช้แนวทางปฏิบัติเพื่อป้องกันการเกิดภาวะเลือดเป็นกรดแลคติกเกินซึ่ง สัมพันธ์กับการใช้ยาเมทฟอร์มินในโรงพยาบาลชัยภูมิ.ชัยภูมิเวชสาร. 2023
ปรารถนา ปันทะวิน.ความชุกและปัจจัยที่สัมพันธ์กับการสั่งยา Metformin อย่างไม่สมเหตุสมผลในโรง พยาบาลลำปาง. Region 11 Medical Journal, 33(1), 131-140.
Hsu CN, Chang CH, Lin JH and Tai YK. Outcome of Metformin-associated Lactic Acidosis in Type 2 Diabetic Patients.Journal of Internal Medicine.2012:23:360-6.
Benmoussa, J. A., Chaucer, B., &Chevenon, M. (2018). Metformin-associated lactic acidosis refractory to hemodialysis in the setting of concomitant alcohol intoxication. J Diabetes MetabDisord Control, 5(6), 204-206.
ปัญจพล กอบพึ่งตน และนลวัลท์ เชื้อเมืองพาน. อุบัติการณ์และ อัตราตายของการเกิดภาวะกรดแลกติกในเลือดในผู้ป่วยเบาหวานที่ได้รับยาmetforminและปัจจัยที่สัมพันธ์ในรพ.เชียงรายประชานุเคราะห์. เชียงรายเวชสาร., 12(1): 44-46.