แนวปฏิบัติการพยาบาลในการป้องกันการเกิดที่มีภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำซ้ำ ในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 โรงพยาบาลร่องคำ จังหวัดกาฬสินธุ์
คำสำคัญ:
แนวปฏิบัติการพยาบาล, การป้องกันการเกิดที่มีภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำซ้ำ, ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2บทคัดย่อ
การศึกษา แนวปฏิบัติการพยาบาลในการป้องกันการเกิดที่มีภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำซ้ำ ในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 โรงพยาบาลร่องคำ จังหวัดกาฬสินธุ์ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำซ้ำ ในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 และศึกษาแนวปฏิบัติการพยาบาลในการป้องกันการเกิดที่มีภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำซ้ำ ในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 โรงพยาบาลร่องคำ จังหวัดกาฬสินธุ์ เป็นการวิจัยกึ่งทดลองแบบวัดก่อนและหลัง มีระยะเวลาในการวิจัย ระหว่างเดือน กันยายน –ตุลาคม 2567รวมระยะ 2 เดือน เป็นการวิจัยกึ่งทดลองแบบวัดก่อนและหลัง มีระยะเวลาในการวิจัย กันยายน –ตุลาคม 2567รวมระยะ 2 เดือน วิเคราะห์ข้อมูล โดยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (Content Analysis) ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ Dependent t – test
ผลการศึกษา พบว่า ความพร้อมในการปฏิบัติตัวของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มีภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ โรงพยาบาลร่องคำ จังหวัดกาฬสินธุ์ ก่อนดำเนินงาน โดยรวมและรายด้าน อยู่ในระดับปานกลาง หลังการดำเนินการโดยรวมและรายด้าน อยู่ในระดับมากที่สุด ความพร้อมในการปฏิบัติตัวของญาติผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มีภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ โรงพยาบาลร่องคำ จังหวัดกาฬสินธุ์ ก่อนดำเนินงาน โดยรวมและรายข้อ อยู่ในระดับปานกลาง หลังดำเนินงาน โดยรวมและรายข้อ อยู่ในระดับมากที่สุดและความพร้อมในการปฏิบัติตัวของญาติและผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มีภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ โรงพยาบาลร่องคำ จังหวัดกาฬสินธุ์ ก่อนและหลังการดำเนินงาน พบว่า มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยที่ ความพร้อมในการปฏิบัติตัวของญาติและผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มีภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ โรงพยาบาลร่องคำ จังหวัดกาฬสินธุ์ หลังการดำเนินงาน มีค่าคะแนนเฉลี่ยมากกว่าก่อนการดำเนินงาน ส่วนผลของแนวปฏิบัติการพยาบาลในการป้องกันการเกิดที่มีภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำซ้ำ ในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 โรงพยาบาลร่องคำ จังหวัดกาฬสินธุ์ พบว่า มีผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 โรงพยาบาลร่องคำ จังหวัดกาฬสินธุ์ ที่มีภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ จำนวน 23 ราย และไม่มีภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำซ้ำในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 โรงพยาบาลร่องคำ จังหวัดกาฬสินธุ์ คิดเป็นร้อยละ 100
References
คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.(2566). 14 พฤศจิกายน วันเบาหวานโลก WORLD DIABETES DAY. ออนไลน์
กองโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค (2566). กรมควบคุมโรค รณรงค์วันเบาหวานโลก 2566 มุ่งเน้นให้ความรู้ประชาชนถึงความเสี่ยงโรคเบาหวาน และหากตรวจพบก่อนจะลดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงได้. ออนไลน์ https://ddc.moph.go.th/brc/news.php?deptcode=brc&news=38403&news_views=2606
ราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี สมาคมต่อมไร้ท่อแห่งประเทศไทย. (2566) แนวทางเวชปฏิบัติสำหรับโรคเบาหวาน 2566. กรุงเทพ: บริษัท ศรีเมืองการพิมพ์ จำกัด
Brunton LL, Dandan RH, Knollmann BC. Goodman & Gliman's the pharmacological basis of therapeutics. 13th ed. New York: McGraw-Hill, 2018.
อภิชาติ ใจใหม่ กฤตพัทธ์ ฝึกฝน ขนิษฐา จันทิมา.(2565). ปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่เข้ารับบริการแผนกผู้ป่วยนอกโรคเบาหวาน. วารสารวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ ปีที่ 17ฉบับที่ 1 :มกราคม–เมษายน2566
สลิดา รันนันท์ พาพร เหล่าสีนาท.(2562). การพัฒนาแนวปฏิบัติทางการพยาบาลเพื่อส่งเสริมการจัดการตนเองของผู้ป่วยเบาหวาน ชนิดที่ 2 ที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้ โรงพยาบาลกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม. วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม. ปีที่ 16 ฉบับที่ 3 (2019): กันยายน-ธันวาคม. 138-48
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกาฬสินธุ์. (2566). ฐานข้อมูล HDC https://ksn.hdc.moph.go.th/hdc/reports/report.php?&cat_id=6a1fdf282fd28180eed7d1cfe0155e11&id=cefa42b9223ec4d1969c5ce18d762bdd#
มยุรี เที่ยงสกุล สมคิด ปานประเสริฐ.(2562). การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวานโรงพยาบาลสมเด็จพระพุทธเลิศหล้า. วารสารวิชาการสาธารณสุขปีที่ 28 ฉบับที่ 4 กรกฎาคม - สิงหาคม 2562 696-710
National Health and Medical Research Council. A guide to the development, implementation and evaluation of clinical practice guidelines. [Internet] 1999 [cited 2020 May 1] Available from: https://www.nhmrc.gov.au/about-us/publications/guide-development-evaluation-and-implementation-clinicalpractice-guidelines.
ฉวีวรรณ ธงชัย.(2548). การพัฒนาแนวปฏิบัติทางคลินิก. วารสารสภาการพยาบาล. ปีที่ 20 ฉบับที่ 2 เมษายน-มิถุนายน 2548.
อริสรา สุขวัจนี.(2555). แนวปฏิบัติเพื่อแก้ไขภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำในผู้ป่วยเบาหวาน สำหรับพยาบาลเวชปฏิบัติ. ออนไลน์ https://nurse.swu.ac.th/2555/ file/วิจัย/update/8.บทความสำหรับประชาชน/อริสรา%20สุขวัจนี%203.pdf
S P Hart, B M Frier.(1998) Causes, management and morbidity of acute hypoglycaemia in adults requiring hospital admission., QJM: An International Journal of Medicine, Volume 91, Issue 7, Jul 1998, Pages 505–510, https://doi.org/10.1093/qjmed/91.7.505
Vanessa J. Briscoe, Stephen N. Davis. (2006). Hypoglycemia in Type 1 and Type 2 Diabetes: Physiology, Pathophysiology,and Management Clin Diabetes 2006;24(3):115–121 https://doi.org/10.2337/diaclin.24.3.115
สุรีรัตน์ ปิงสุทธิวงศ์.(2562). การพยาบาลผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ในชุมชน,วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี ปีที่ 2 ฉบับที่ 3 กันยายน - ธันวาคม 2562
อริสรา สุขวัจนี. (2558). การจัดการภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำในผู้ป่วยเบาหวาน: บทบาทพยาบาลเวชปฏิบัติ. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ. ปที่ 33 ฉบับที่ 1 : มกราคม - มีนาคม 2558
นุชระพี สุทธิกุล สุมาลี จารุสุขถาวร เยาวภา พรเวียง.(2564). การพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่ วยเบาหวานที่มีน้ำตาลในเลือดสูงร่วมกับสารคีโตนคั่งในระยะวิกฤต. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข. Vol. 31 No. 1 14-32