ปัจจัยที่มีผลต่อความรอบรู้ด้านสุขภาพของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลคลองสี่ หมู่ที่ 13 ตำบลคลองสี่ อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี

ผู้แต่ง

  • ไพฑูรย์ ดำริห์ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลคลองสี่

คำสำคัญ:

อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน, ความรอบรู้ด้านสุขภาพ, ปัจจัยที่มีผล

บทคัดย่อ

     การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจแบบตัดขวาง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัยความสามารถตามมาตรฐานสมรรถนะ และปัจจัยด้านการปฏิบัติของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) 2) ระดับความรอบรู้ด้านสุขภาพของ อสม. และ 3) ปัจจัยที่มีผลต่อความรอบรู้ด้านสุขภาพของ อสม. โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลคลองสี่ หมู่ที่ 13 ตำบลคลองสี่ อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี กลุ่มตัวอย่างคือ อสม. ที่ขึ้นทะเบียนและปฏิบัติงานในพื้นที่มาไม่น้อยกว่า 1 ปี จำนวน 159 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม 4 ส่วน ได้แก่ ข้อมูลทั่วไป ปัจจัยความสามารถตามมาตรฐานสมรรถนะ การปฏิบัติงาน และความรอบรู้ด้านสุขภาพ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน
     ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศชาย ร้อยละ 50.9 อายุเฉลี่ย 57.86 ปี จบการศึกษาระดับประถมศึกษา ร้อยละ 54.1 มีสถานภาพสมรส ร้อยละ 77.4 มีรายได้อยู่ในช่วง 5,001-10,000 บาทต่อเดือนร้อยละ 42.8 ส่วนใหญ่ไม่มีโรคประจำตัว ร้อยละ 50.9 และมีระยะเวลาการเป็น อสม. 11-20 ปี ร้อยละ 42.1 ด้านปัจจัยความสามารถตามมาตรฐานสมรรถนะ อสม. ส่วนใหญ่อยู่ในระดับปานกลาง (ร้อยละ 50.9) ส่วนปัจจัยด้านการปฏิบัติงาน พบว่าการรับรู้บทบาท แรงจูงใจในการปฏิบัติงาน และการได้รับแรงสนับสนุนทางสังคมอยู่ในระดับสูง ร้อยละ 56.6, 68.6 และ 57.2 ตามลำดับ ด้านความรอบรู้ด้านสุขภาพ พบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีความรอบรู้ด้านสุขภาพอยู่ในระดับดี ร้อยละ 57.9 รองลงมาคือระดับดีมาก ร้อยละ 25.2 ระดับพอใช้ ร้อยละ 15.7 และระดับไม่ดี ร้อยละ 1.2 โดยมีคะแนนเฉลี่ย 110.89 คะแนน ปัจจัยที่มีผลต่อความรอบรู้ด้านสุขภาพของ อสม. ได้แก่ การรับรู้บทบาทหน้าที่ (β = 0.606, p < 0.001) แรงจูงใจในการปฏิบัติงาน (β = 0.353, p < 0.001) การได้รับแรงสนับสนุนทางสังคม (β = 0.202, p < 0.001) และอายุ (β = -0.002, p < 0.001) โดยสามารถร่วมกันทำนายความรอบรู้ด้านสุขภาพได้ร้อยละ 54.3

References

กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ. ระเบียบกระทรวงสาธารณสุขว่าด้วยอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน พ.ศ.2554. หน้า 1-10.

กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ. การเสริมสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพ จาก อสม.สู่ อสค. กรุงเทพฯ: โอ-วิทย์ (ประเทศไทย); 2560.

กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ. การเสริมสร้างและประเมินความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพ. นนทบุรี: กองสุขศึกษากรมสนับสนุนบริการสุขภาพ; 2561.

สำเริง แหยงกระโทก. คณะกรรมการควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบแห่งชาติเห็นชอบกรอบแนวทางการเฝ้าระวังโรคปอดอักเสบที่เกิดจากบุหรี่ไฟฟ้า [อินเทอร์เน็ต]. 2562 [เข้าถึงเมื่อ วันที่ 24 ต.ค. 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/24412 5

Nutbeam D. The evolving concept of health literacy. Social science & medicine 2008;67(12):2072-8.

Bandura A. Social foundations of thought and action: A social cognitive theory. Englewood Cliffs, NJ: Prentice Hall; 1986.

Yamane T. Statistics: an introductory analysis. New York: Harper & Row; 1973.

Bloom BS. Taxonomy of Education. New York: David McKay Company; 1975.

ปรางค์ จักรไชย. ปัจจัยที่มีผลต่อการปฏิบัติงานของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ในทีมหมอครอบครัว จังหวัดปทุมธานี. วารสารพยาบาลสาธารณสุข 2560;31(1):16-28.

อุไรรัตน์ คูหะมณี. ความรอบรู้ด้านสุขภาพกับบทบาทของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ในการป้องกันโรคเรื้อรัง. วารสารการแพทย์ 2564;45(1):32-48.

ทรรศนีย์ บุญมั่น. ปัจจัยที่มีผลต่อความรอบรู้ด้านสุขภาพของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านจังหวัดสุโขทัย [วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต]. พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร; 2564.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-10-31

How to Cite

ดำริห์ ไ. . . (2024). ปัจจัยที่มีผลต่อความรอบรู้ด้านสุขภาพของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลคลองสี่ หมู่ที่ 13 ตำบลคลองสี่ อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี . วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน, 9(5), 845–852. สืบค้น จาก https://he03.tci-thaijo.org/index.php/ech/article/view/3471