การพัฒนานวัตกรรมในการเตรียมน้ำแข็งปลอดเชื้อในกระบวนการการผ่าตัดจัดเก็บอวัยวะด้วยถุงเทอร์โมพลาสติกโพลียูรีเทน “Smart Nurse Smart Bag” ในงานพยาบาลผู้ป่วยผ่าตัด โรงพยาบาลขอนแก่น

ผู้แต่ง

  • พีรญา พาอ่อนตา พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ งานพยาบาลผู้ป่วยผ่าตัด โรงพยาบาลขอนแก่น

คำสำคัญ:

การเตรียมน้ำแข็งปลอดเชื้อ, งเทอร์โมพลาสติกโพลียูรีเทน, การปลูกถ่ายอวัยวะ

บทคัดย่อ

     วิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) เพื่อพัฒนานวัตกรรมที่ใช้ในการเตรียมน้ำแข็งปลอดเชื้อโรงพยาบาลขอนแก่น กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ น้ำแข็งปลอดเชื้อ อวัยวะที่เตรียมปลูกถ่าย พยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในห้องผ่าตัด ของโรงพยาบาลขอนแก่น และเป็นพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานที่ห้องผ่าตัดจัดเก็บและปลูกถ่ายอวัยวะและมีหน้าที่ในการเตรียมน้ำแข็งปลอดเชื้อสำหรับการผ่าตัด จำนวน 60 คน พัฒนาโดยใช้กระบวนการ P-A-O-R ตามแนวคิดของ Kemmis และ McTaggart เป็น 2 วงรอบ ประกอบด้วยวงรอบละ 4 ระยะ ประกอบด้วย ขั้นวางแผน (Plan) วิเคราะห์ปัญหาที่เกิดขึ้นขณะปฏิบัติงาน,ขั้นลงมือปฏิบัติ (Action) 1) วางแผนการออกแบบนวัตกรรมโดยใช้ปัญหาเป็นฐาน, 2) จัดทำนวัตกรรม, สังเกตการณ์ (Observe) 3) นำนวัตกรรมที่พัฒนาขึ้นใช้ในการผ่าตัดในปี 2566 ติดตามผลของการใช้นวัตกรรมที่พัฒนาขึ้น และขั้นสะท้อนผล (Refection) ประเมินผลลัพธ์การใช้นวัตกรรม วิเคราะห์ปัญหาอุปสรรคจากการใช้นวัตกรรมและปรับปรุงแผนการพัฒนา, เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ประกอบด้วย นวัตกรรมที่พัฒนาขึ้น แบบบันทึกข้อมูลทั่วไป เพศ, อายุ, อายุงาน,ระดับการศึกษา  แบบประเมินความพึงพอใจการใช้นวัตกรรม วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยสถิติ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์ เนื้อหา
     ผลการศึกษา พบว่า อวัยวะที่เตรียมปลูกถ่ายไม่เกิดการบาดเจ็บจากสิ่งแปลกปลอมที่เกิดจากกระบวนการเตรียมน้ำแข็งปลอดเชื้อที่ใช้ถุงเทอร์โมพลาสติกโพลียูรีเทน ร้อยละ 100 ไม่พบสิ่งปนเปื้อนขนาดใหญ่กว่า 1 มิลลิเมตรในน้ำแข็ง ร้อยละ 100 ไม่พบสิ่งปนเปื้อนขนาดเล็กกว่า 1 มิลลิเมตรในน้ำแข็ง ร้อยละ 100 ของผู้ป่วยปฏิบัติตัวก่อนผ่าตัดได้ถูกต้องเพิ่มขึ้น และบุคลากรมีความพึงพอใจต่อการใช้นวัตกรรมสิ่งที่ประดิษฐ์ขึ้นในระดับมากที่สุด

References

OPTN Organ Procurement & Transplantation Network. (2023) Continued increase in organ donation drives new records in 2023; New milestones exceeded. Published on: Wednesday, January 10, 2024.

( สืบค้นข้อมูลออนไลน์เมื่อ วันที่ 20 กันยายน 67 Continued increase in organ donation drives new records in 2023; New milestones exceeded - OPTN )

United Network for Organ Sharing. (2022). New all-time records set for organ transplants and deceased donor donation in 2021. ( สืบค้นข้อมูลออนไลน์เมื่อ วันที่ 20 กันยายน 67 https://unos.org/news/2021-all-time-records-organ-transplants-deceased-donor-donation/#:~:text=In%202021%2C%2041%2C354%20organ%20transplants,and%20Transplantation%20Network%20under%20federal )

Muco E, Yarrarapu SNS, Douedi H, Burns B. Tissue and Organ Donation. 2023 Jul 24. In: StatPearls [Internet]. Treasure Island (FL): StatPearls Publishing; 2024 Jan–. PMID: 32491363. ( สืบค้นข้อมูลออนไลน์ https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/32491363/ )

ศูนย์รับบริจาคอวัยวะ(2566). สภากาชาดไทย. รายงานประจำปี พ.ศ.2566. ศูนย์รับบริจาคอวัยวะ สภากาชาดไทย.(สืบค้นข้อมูลออนไลน์https://www.organdonate.in.th/assets/files/odc2566.pdf )

กระทรวงสาธารณสุข (2565) รายงานการสร้างระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ประจำปีงบประมาณ 2565.( สืบค้นข้อมูลออนไลน์ https://www.nhso.go.th/storage/downloads/operatingresult/54 )

Charan, T., Kaewput, W., Pattawarin, P., & Cheungpasitporn, W. (2022). Progress and recent advances in solid organ transplantation. MDPI Journals, 11(8), 2112.( สืบค้นข้อมูลออนไลน์ https://doi.org/10.3390/jcm11082112 )

El-Bandar, N., Lerchbaumer, M. H., Peters, R., Maxeiner, A., Kotsch, K., Sattler, A., Miller, K., Schlomm, T., Hamm, B., Budde, K., & et al. (2022). Contrast-enhanced ultrasound (CEUS) perfusion is associated with kidney function in living kidney donors. Journal of Clinical Medicine, 11, 791. ( สืบค้นข้อมูลออนไลน์ https://doi.org/10.3390/jcm11030791 )

สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. (2567). ผลการดำเนินงานการสร้างระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ปีงบประมาณ 2566 (1 ตุลาคม 2566 - 30 กันยายน 2567). ( สืบค้นข้อมูลออนไลน์ https://www.nhso.go.th/operating_results/64 )

กระทรวงสาธารณสุข (2559) แผนยุทธศาสตร์ระยะ 20 ปี (ด้านสาธารณสุข). ( สืบค้นข้อมูลออนไลน์ https://waa.inter.nstda.or.th/stks/pub/2017/20171117-MinistryofPublicHealth.pdf )

เวชระเบียนโรงพยาบาลขอนแก่น. (2566). สถิติศูนย์รับบริจาคอวัยวะ

Nicholson, L. M., & Hosgood, A. S. (2023). Organ retrieval and preservation. Surgery (Oxford), 41(9), 559-565. ( สืบค้นข้อมูลออนไลน์ https://www.researchgate.net/publication/342252922_Organ_retrieval_and_preservation )

Westenberg, L. B., van Londen, M., Sotomayor, C. G., Moers, C., Minnee, R. C., Bakker, S. J. L., & Pol, R. A. (2021). The association between body composition measurements and surgical complications after living kidney donation. Journal of Clinical Medicine, 10, 155. ( สืบค้นข้อมูลออนไลน์ https://doi.org/10.3390/jcm10010155 )

นันทวรรณ เหลืองธาดา.(2558) 2 ทศวรรษการปลูกถ่ายอวัยวะ โรงพยาบาลรามาธิบดี: บทบาทของพยาบาลห้องผ่าตัดใน การเตรียมความพร้อมการผ่าตัดนำอวัยวะออกจากผู้บริจาคอวัยวะสมองตาย.รามาธิบดีรามาพยาบาลสาร.21(1): 12-0.

Kemmis, S., & McTaggart, R. (1988). The action research planner (3rd ed.). Geelong, Australia: Deakin University Press. ( สืบค้นข้อมูลออนไลน์ https://chatgpt.com/c/67179dd5-1a50-8011-9598-b147cad3f905?model=gpt-4o-canmore )

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-10-31

How to Cite

พาอ่อนตา พ. . . . . (2024). การพัฒนานวัตกรรมในการเตรียมน้ำแข็งปลอดเชื้อในกระบวนการการผ่าตัดจัดเก็บอวัยวะด้วยถุงเทอร์โมพลาสติกโพลียูรีเทน “Smart Nurse Smart Bag” ในงานพยาบาลผู้ป่วยผ่าตัด โรงพยาบาลขอนแก่น. วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน, 9(5), 818–827. สืบค้น จาก https://he03.tci-thaijo.org/index.php/ech/article/view/3479