ผลของแนวปฏิบัติทางการพยาบาลในการใช้ยาระงับความรู้สึกในผู้ป่วยส่องกล้อง Colonoscopy
คำสำคัญ:
แนวปฏิบัติทางการพยาบาล, การใช้ยาระงับความรู้สึก, ผู้ป่วยส่องกล้อง Colonoscopyบทคัดย่อ
การศึกษา ผลของแนวปฏิบัติทางการพยาบาลในการใช้ยาระงับความรู้สึกในผู้ป่วยส่องกล้อง Colonoscopy มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์ทางการพยาบาลในการใช้ยาระงับความรู้สึกในผู้ป่วยส่องกล้อง Colonoscopyและศึกษาแนวปฏิบัติทางการพยาบาลในการใช้ยาระงับความรู้สึกในผู้ป่วยส่องกล้อง Colonoscopy เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi Experiment) มีระยะเวลาในการดำเนินการวิจัย ระหว่างเดือนกรกฎาคม 2567 ถึง เดือน สิงหาคม 2567 รวม 2 เดือน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้ป่วยส่องกล้อง Colonoscopy ที่โรงพยาบาลยางตลาด 261 ราย เป็นผู้ป่วยในเขตโรงพยาบาลยางตลาด 133 ราย ผู้ป่วยในเครือข่ายบริการ หนองกุงศรี 81 ราย และผู้ป่วยในเครือข่ายบริการ ท่าคันโท 47 ราย เก็บข้อมูลจากแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูล โดยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (Content Analysis) ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ Dependent t – test และ F – test ด้วยเทคนิค One way ANOVA
ผลการศึกษา พบว่า หลังการใช้ ความเข้าใจในการใช้ยาระงับความรู้สึกในผู้ป่วยส่องกล้อง Colonoscopy และความเข้าใจในการปฏิบัติตัวของผู้ป่วยส่องกล้อง Colonoscopy โรงพยาบาลยางตลาด โดยรวมและรายด้าน อยู่ในระดับมากที่สุด ความวิตกกังวลในการใช้ยาระงับความรู้สึกในผู้ป่วยส่องกล้อง Colonoscopy โรงพยาบาลยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์ โดยรวมอยู่ในระดับน้อยที่สุด ก่อนและหลังแนวปฏิบัติทางการพยาบาลในการใช้ยาระงับความรู้สึกในผู้ป่วยส่องกล้อง Colonoscopy พบว่ามีความแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยที่ หลังแนวปฏิบัติทางการพยาบาลในการใช้ยาระงับความรู้สึกในผู้ป่วยส่องกล้อง Colonoscopy มีความเข้าใจในการใช้ยาระงับความรู้สึกในผู้ป่วยส่องกล้อง Colonoscopy และความเข้าใจในการปฏิบัติตัวของผู้ป่วยส่องกล้อง Colonoscopy โรงพยาบาลยางตลาด มีค่าคะแนนเฉลี่ยมากกว่าก่อนการดำเนินการแนวปฏิบัติ ส่วนความวิตกกังวลในการใช้ยาระงับความรู้สึกในผู้ป่วยส่องกล้อง Colonoscopy โรงพยาบาลยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์ มีค่าคะแนนเฉลี่ยน้อยกว่าก่อนการดำเนินการแนวปฏิบัติ
References
วิษณุ ปานจันทร์, เสาวคนธ์ ศุกรโยธิน, อาคม ชัยวีระวัฒนะ, และวีรวุฒิ อิ่มสำราญ. (2558). แนวทางการตรวจคัดกรอง วินิจฉัย และรักษาโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ และไส้ตรง. https://www.nci.go.th/th/cpg/Cervical_Cancer3.pdf
Stauffer CM, Pfeifer C. Colonoscopy. [Updated 2023 Jul 24]. In: StatPearls [Internet]. Treasure Island (FL): StatPearls Publishing; 2024 Jan-. Available from: https://www.ncbi.nlm.nih.gov/books/NBK559274/
อุทัยวรรณ จิระชีวะนันท์.(2566). กรณีศึกษา: บทบาทของพยาบาลในการดูแลผู้ป่วยที่ได้รับการส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่. วารสารสุขภาพและสิ่งแวดล้อมศึกษา. ปีที่ 8 ฉบับที่ 3 198-207
พิกุล วิชาพานิช, (2565) กระบวนการการดูแลผู้ป่วยก่อนและหลังส่องกล้องลำไส้ใหญ่ ColonoscopyColonoscopy) ในผู้ป่วยนัดนอนโรงพยาบาล ของโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยบูรพา. คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
โสภณา ว่องทวี (2561). บทบาทของพยาบาลกับการส่องกล้องลำ ไส้ใหญ่แบบผู้ป่วยนอก. วารสารพยาบาลสงขลานครินทร์, 38(2), 142-148.
กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข, (2565) ราชวิทยาลัยศัลยแพทย์แห่งประเทศไทย, ราชวิทยาลัยวิสัญญีแพทย์แห่งประเทศไทย, สภาการพยาบาล, สำนักงานประกันสังคม, สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.), และ สมาคมพยาบาลห้องผ่าตัดแห่งประเทศไทย. (2565). ข้อเสนอแนะด้านการพัฒนาระบบบริการผ่าตัดแบบวันเดียวกลับ (One Day Surgery: ODS) และการผ่าตัดแผลเล็ก (Minimally Invasive Surgery: (MIS) ปี 2565. บริษัท จรัลสนิทวงษ์การพิมพ์ จำกัด. http://training.dms.moph.go.th/rtdc/article/10
Best, J.W. (1991). Research in education (8th ed.). New Delhi: V. k. Batra at Peart officer Prees.
นฤมล ภูธรฤทธิ์ ชนัญญา จิระพรกุล สุพรรณี พรหมเทศ เนาวรัตน์ มณีนิล ประจักษ์ จันทะราช ชาญณรงค์ อรรคบุตร.(2562). ความวิตกกังวลและความเครียดระหว่างรอการส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่และไส้ตรง. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น ปีที่ 12ฉบับที่ 2เดือน เมษายน–มิถุนายน 2562. 31-41
สมาคมการศึกษาเรื่องความปวดแห่งประเทศไทย, สภาการพยาบาล, ชมรมวิสัญญีพยาบาลแห่งประเทศไทย, และ ชมรมระงับความรู้สึกเฉพาะส่วนแห่งประเทศไทย. (2561). Safety in One Day Surgery (ODS) ความปลอดภัยของการผ่าตัดแบบวันเดียวกลับ. โรงพิมพ์เทพเพ็ญวานิสย์. http://training.dms.moph.go.th/rtdc//storage/app/uploads/public/5d2/541/b42/5d2541b425d93126523781.pdf
ธนานันต์ อาสนานิ และ ไคลศรี บาดาล. (2564). การพัฒนารูปแบบการเตรียมความสะอาดของลำไส้ใหญ่ก่อนการตรวจส่องกล้องลำไส้ใหญ่ทางทวารหนัก ในผู้ป่วยที่มารับบริการในคลินิกพิเศษ โรงพยาบาลหนองคาย. วารสารสุขภาพและสิ่งแวดล้อมศึกษา, 6(4), 120-133.