ผลลัพธ์ของการจัดการเรียนการสอนห้องเรียนเสมือนจริงในห้องผ่าตัด สำหรับนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 2
คำสำคัญ:
พยาบาลห้องผ่าตัด , วิสัญญีพยาบาล , ห้องเรียนเสมือนจริงในห้องผ่าตัดบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบของห้องเรียนเสมือนจริงในห้องผ่าตัด สำหรับนักศึกษาพยาบาล 2) ศึกษาวิธีการจัดการเรียนการสอนในห้องเรียนเสมือนจริงในห้องผ่าตัด และ 3) ศึกษาผลลัพธ์ของการจัดการเรียนการสอนในห้องเรียนเสมือนจริงในห้องผ่าตัด โดยการสนทนากลุ่ม กับผู้ใช้วิธีการจัดการเรียนการสอนห้องเรียนเสมือนจริงในห้องผ่าตัด ระหว่างเดือนมีนาคม ถึงเดือน เมษายน 2566 ที่ห้องผ่าตัด โรงพยาบาลศรีนครินทร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ผู้ร่วมวิจัยแบ่งเป็น 2 กลุ่มๆละ 2 กลุ่มย่อย ประกอบด้วย อาจารย์พยาบาล 1 คน พยาบาลห้องผ่าตัด 1 คน วิสัญญีพยาบาล 1 คน และนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 2 คณะพยาบาลศาสตร์ วิทยาลัยบัณฑิตเอเชียกลุ่มย่อยละ 8 คน รวมทั้งหมด 4 กลุ่ม โดยมีประเด็นคำถามระหว่างการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลโดย การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (Content Analysis) และค่าสถิติเชิงพรรณนา ร้อยละ ค่าเฉลี่ย
ผลการวิจัยพบว่า นักศึกษามีความคิดเห็นว่าควรมีการจัดการเรียนการสอนในห้องผ่าตัด ร้อยละ 100 ข้อที่ 1 ความคาดหวังก่อนขึ้นฝึก คาดว่าน่าจะไม่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลง ร้อยละ 87.5 และน่าจะมีผลต่อการเปลี่ยนแปลง ร้อยละ 12.5 ข้อที่ 2 การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นเมื่อเทียบกับความคาดหวัง ร้อยละ 100 และบอกว่าเกินความคาดหวังมาก ข้อที่ 3 องค์ประกอบของห้องเรียนเสมือนจริงในห้องผ่าตัด ประกอบด้วย ชุดที่ 1 ของพยาบาลห้องผ่าตัด ได้แก่ 1) อ่างล้างมือ เตียงผ่าตัด โคมไฟผ่าตัด 2) ชุดเสื้อกาวน์และถุงมือ Sterile 3) ห่อผ้า Sterile และ 4) Sterile Set ชุดที่ 2 ของวิสัญญีพยาบาล ประกอบด้วย 1) เครื่องวัดสัญญาณชีพอัตโนมัติ 2) ชุดผสมยาชนิดน้ำและชิดผง 3) ชุดให้ออกซิเจนชนิด Canular, Mask และ T-piece 4) ชุดแทงเส้นให้น้ำเกลือ พร้อมทั้งมีแบบบันทึกทางการพยาบาลก่อน ขณะ และหลังผ่าตัด ทั้งสองกลุ่มงาน ข้อที่ 4 วิธีการจัดการเรียนการสอนอบบจัดเป็นห้องเรียนเสมือนจริงให้นักศึกษาได้มาฝึกในวันหยุดจนเข้าใจ ก่อนจะเข้าศึกษาดูงานจริง ช่วยลดความประหม่าและความผิดพลาดได้ ร้อยละ 100 ข้อที่ 5 ผลลัพธ์ด้านความรู้ ด้านการ NPO ผู้ป่วย และหลักการตรวจสอบซ้ำ ด้านทักษะปฏิบัติ ทำให้สวมถุงมือได้คล่องมากขึ้น จับคีมคีบได้เก่งขึ้น เปิดห่อของ Sterile ได้อย่างถูกต้อง การแทงน้ำเกลือได้เก่งขึ้น ฉีดยามือไม่สั่น เป็นต้น
References
นฤมล อมรพงษ์. (2563). การพัฒนาทักษะการทำงานในห้องผ่าตัดของนักศึกษาพยาบาล โดยการเรียนรู้ ผ่านสถานการณ์จำลอง. วารสารการพยาบาลและการศึกษาพยาบาล, 35(1), 19-27.
ณัฐพร เชี่ยวชาญ. (2564). ผลของการใช้การเรียนรู้แบบจำลองต่อการพัฒนาทักษะการดูแลผู้ป่วยในห้องผ่าตัดของนักศึกษาพยาบาล. วารสารการพยาบาลศาสตร์, 39(2), 75-83.
ดวงสุดา สุวรรณศรี. (2566). การพัฒนาหลักสูตร “ปฏิบัติการพยาบาลห้องผ่าตัด สำหรับนักศึกษาพยาบาลระดับปริญญาตรี”. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัย ขอนแก่น. อ10-0072.
ดวงสุดา สุวรรณศรี, อัญชลี สารรัตนะ และบุษบา สมใจวงษ์. (2566). ความเป็นไปได้ในการจัดการเรียนการสอนปฏิบัติการพยาบาลห้องผ่าตัด สำหรับนักศึกษาพยาบาล. วารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชะนีสรรพสิทธิประสงค์ ปีที่ 7 ฉบับที่ 1 (มกราคม-เมษายน 2566). วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัย ขอนแก่น. อ10-0072.
ณัฏฐชา เจียรนิลกุลชัย และศรีเวียงแก้ว เต็งเกียรติ์ตระกูล. (2560). ผลของการสอนฝึกปฏิบัติในห้องผ่าตัดโดยใช้สถานการณ์จำลองในห้องผ่าตัดในสภาพแวดล้อมจริงต่อทักษะพื้นฐานในห้องผ่าตัดของนักศึกษาพยาบาล บทความวิจัย. วารสารพยาบาลสงขลานครินทร์, 34(1), 55-67.
สุทธิดา รอดรัตน์, ชาติชาย ดวงศรี. (2565). ผลของการจำลองสถานการณ์การผ่าตัดต่อความมั่นใจและความสามารถในการปฏิบัติงานของนักศึกษาพยาบาล. วารสารการแพทย์และการพยาบาล, 47(4), 457-467.
มณฑล รัตนสกุล. (2566). การใช้การจำลองในห้องผ่าตัดเพื่อพัฒนาทักษะของนักศึกษาพยาบาล: ประสบการณ์จากประเทศไทย. วารสารการศึกษาพยาบาล, 40(3), 121-130.
ธีระชัย มณีรัตน์, & สุมิตร หงส์ทอง. (2567). การวิเคราะห์ผลกระทบของการสอนในห้องผ่าตัดด้วยวิธีการจำลองต่อผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้ของนักศึกษาพยาบาล. วารสารการวิจัยทางการพยาบาล, 45(1), 34-44.
Hussey, L., et al. (2020). The Impact of Simulation on Nursing Students’ Confidence and Competence in the Operating Room: A Systematic Review. Nursing Education Perspectives, 41(5), 271-277.