ปัจจัยทำนายการรอดชีพผู้ป่วยโรคมะเร็งท่อน้ำดีหลังได้รับการวินิจฉัย และการรักษาในโรงพยาบาลศรีสะเกษ

ผู้แต่ง

  • มะลิ สุปัตติ นักศึกษาหลักสูตรสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต วิทยาลัยแพทยศาสตร์และการสาธารณสุข มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
  • อารี บุตรสอน อาจารย์ประจำวิทยาลัยแพทยศาสตร์และการสาธารณสุข มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี Corresponding author

คำสำคัญ:

ปัจจัยทำนาย , การรอดชีพ , โรคมะเร็งท่อน้ำดี

บทคัดย่อ

     การวิจัยแบบย้อนหลังครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยทำนายการรอดชีพผู้ป่วยโรคมะเร็งท่อน้ำดีหลังได้รับการวินิจฉัยและการรักษาในโรงพยาบาลศรีสะเกษ กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 199 คน แบ่งเป็นกลุ่มศึกษา คือ ผู้ป่วยที่รอดชีพ จำนวน 96 คน และผู้ป่วยที่เสียชีวิต จำนวน 103 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2564 ถึงวันที่ 30 ตุลาคม 2566 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้เชิงพรรณนานำเสนอด้วยการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน มัธยฐาน เปอร์เซ็นไทล์ที่ 25 และ เปอร์เซ็นไทล์ที่ 75 วิเคราะห์ปัจจัยทำนายการรอดชีพผู้ป่วยโรคมะเร็งท่อน้ำดีหลังได้รับการวินิจฉัยและการรักษาในโรงพยาบาลศรีสะเกษ โดยใช้การวิเคราะห์ Multiple logistic regression นำเสนอด้วยค่า Adjusted Odds ratio และค่าช่วงความเชื่อมั่น 95% กำหนดระดับนัยสำคัญที่ 0.05
     ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยทำนายการรอดชีพผู้ป่วยโรคมะเร็งท่อน้ำดีหลังได้รับการวินิจฉัยและการรักษาในโรงพยาบาลศรีสะเกษ คือ สถานภาพสมรส ระยะการเจ็บป่วย และการแพร่กระจายของโรค โดยพบว่าผู้ป่วยที่มีสถานภาพโสดมีโอกาสเสียชีวิตหลังได้รับการวินิจฉัยและการรักษาในโรงพยาบาลศรีสะเกษมากกว่าสถานภาพอื่นถึง 2.89 เท่า (AOR=2.09 , 95% CI=1.26-3.45) ผู้ป่วยที่มีระยการเจ็ยป่วยในระยะที่ 4 มีโอกาสเสียชีวิตหลังได้รับการวินิจฉัยและการรักษาในโรงพยาบาลศรีสะเกษมากกว่าระยะที่ 1 ระยะที่ 3 และ ระยะที่ 3 เป็น 4.23 เท่า (AOR=3.16 , 95%CI=2.04-6.38) และผู้ป่วยที่มีการแพร่กระจายของโรคไปยังอวัยวะอื่น มีโอกาสเสียชีวิตหลังได้รับการวินิจฉัยและการรักษาในโรงพยาบาลศรีสะเกษมากกว่าผู้ป่วยที่ไม่มีการแพร่กระจายเป็น 2.87 เท่า (AOR=1.87, 95%CI=1.01-3.52) ส่วนตัวแปรอื่นไม่มีข้อมูลเพียงพอที่จะระบุความสัมพันธ์

References

World Health Organization. (2024, April 4). New report on global cancer burden in 2022 by world region and human development level. International Agency for Research on Cancer. https://www.iarc.who.int/news-events/new-report-on-global-cancer-burden-in-2022-by-world-region-and-human-development-level/

สถาบันมะเร็งแห่งชาติ. (2563). ทะเบียนมะเร็ง 2563. สืบค้นจาก https://www.nci.go.th/e_book/ hosbased_2563/index.html.

โรงพยาบาลศรีนครินทร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. (2561). การศึกษาอัตราการรอดชีพผู้ป่วยโรคมะเร็งที่พบมาก 5 อันดับแรก. สืบค้นจาก https://cancer.kku.ac.th.

วราภรณ์ ภูธิวุฒิ, อิสระ เจียวิริยบุญญา. อัตราการรอดชีพผู้ป่วยโรคมะเร็งที่พบมาก 5 อันดับแรก ที่เข้ารับการรักษาปี 2553 ในโรงพยาบาลมะเร็งอุดรธานี. วาสารกรมการแพทย์ ปีที่ 44 ฉบับที่ 1 เดือนมกราคม - กุมภาพันธ์ 2562.

มธุริน มาลีหวล, สุพจน์ คำสะอาด, พงศธร ศุภอรรถกร. (2565). อัตรารอดชีพผู้ป่วยมะเร็งตับหลังการวินิจฉัย ที่ได้รับการรักษาในโรงพยาบาลมะเร็งอุบลราชธานี. ศรีนครินทรฺเวชสาร, ปีที่ 37, ฉบับที่ 3, หน้า 234-245.

กระทรวงสาธารณสุข, กรมควบคุมโรค. (2564). สถานการณ์โรคมะเร็งตับ/มะเร็งท่อน้ำดี จังหวัดศรีสะเกษ. สืบค้นจาก https://www.moph.go.th เมื่อวันที่ 27 สิงหาคม 2566.

สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เขต 10. (2561). การศึกษาอัตรารอดชีพ 5 ปี ผู้ป่วยมะเร็งที่พบบ่อยในหนังสือ Hospital-based cancer registry 2018. สืบค้นจาก https://ubon.nhso.go.th/page.php เมื่อวันที่ 27 สิงหาคม 2566.

เอกภพ แสงอริยวนิช, & รังสิยา บัวส้ม. (2561). การศึกษาอัตรารอดชีพ 5 ปี ผู้ป่วยมะเร็งตับและท่อน้ำดีหลังการวินิจฉัยที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลศรีนครินทร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ระหว่างปี พ.ศ. 2556-2560. สืบค้นจาก https://example.com

รัชนีกร ใจคำสืบ. (2565). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคมะเร็งที่ได้รับการดูแลแบบประคับประคองในระยะท้าย จังหวัดเชียงราย. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข, 29(2), 116-128. สืบค้นจาก http://db.hitap.net/articles/2965.

วิภาดา พึ่งสุข, พิษณุรักษ์ กันทวี, & ภัทรพล มากมี. (2562). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคมะเร็งที่ได้รับการดูแลแบบประคับประคองในระยะสุดท้าย จังหวัดเชียงราย. สืบค้นจาก https://example.com

ยามีหละ โมหมาด, ปุญญพัฒน์ ไชยเมล์, & สมเกียรติยศ วรเดช. (2563). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการเสียชีวิตของผู้ป่วยโรคลำไส้ใหญ่และไส้ตรง: การทบทวนวรรณกรรม. วารสารวิจัยการแพทย์, 5(2), 123-145.

อนุรักษ์ ทราปัญญา, ดาว เวียงคำ. คุณภาพชีวิตผู้ป่วยมะเร็ง อำเภอเชียงคาน จังหวัดพะเยา, เชียงรายเวชสาร . ปีที่ 11 ฉบับที่1/2562

อุไรวรรณ ขาวผ่อง, สดากาญจน์ เอี่ยมจันทร์ประทีป, ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อคุณภาพชีวิตผู้ป่วยมะเร็งต่อมน้ำเกลือง โรงพยาบาลสุราษฎร์ธานี ปีที่ 8 ฉบับที่ 2 เมษายน – มิถุนายน 2567.

Sothaporn, A., Chinvararak, B., & Bunworosate, C. (2021). Factors influencing survival rates of colorectal cancer patients: A systematic review. Journal of Medical Research, 10(3), 123-135.

จันทร พูลพิพัฒน์. (2565). ปัจจัยทำนายระยะเวลาการมาโรงพยาบาลเพื่อตรวจครั้งแรกของผู้ที่เป็นโรคมะเร็งเต้านม. วารสารพยาบาลทหารบก, 23(3), 91-105.

Dracup, K., Moser, D. K., Pelter, M. M., Nesbitt, T. S., Southard, J., Paul, S. M., ... & Cooper, L. S. (2003). The role of social support in heart failure: A systematic review of evidence. Heart & Lung: The Journal of Acute and Critical Care, 32(5), 362-370.

อลงกรณ์ จันทร์เจริญ. (2565). ศึกษาลักษณะทางพยาธิวิทยาคลินิก อัตราการรอดชีพและปัจจัยพยากรณ์การรอดชีพของผู้ป่วยโรคมะเร็งกระเพาะอาหาร. วารสารการแพทย์ไทย, 45(2), 101-115.

เกรียงไกร โกวิทางกูร, นันทิพัฒน์ พัฒนโชติ, ณรงค์ชัย สังชา, ชิตเบต โตเหมือน, ไพบูลย์ เพ็ญสุวรรณ, พงษ์เคช สารการ. (2560). ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่ออัตรารอดชีพของผู้ป่วยโรคมะเร็งท่อน้ำดีภายในตับหลังจากได้รับการรักษาด้วยวิธีการผ่าตัด ของผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลร้อยเอ็ด จังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารวิจัยการแพทย์, 8(2), 120-135.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-31

How to Cite

สุปัตติ ม. . ., & บุตรสอน อ. (2024). ปัจจัยทำนายการรอดชีพผู้ป่วยโรคมะเร็งท่อน้ำดีหลังได้รับการวินิจฉัย และการรักษาในโรงพยาบาลศรีสะเกษ. วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน, 9(6), 40–50. สืบค้น จาก https://he03.tci-thaijo.org/index.php/ech/article/view/3517