พัฒนาการทำงานด้วยแนวคิด “เชิงระบบ” บูรณาการตามหลัก GRC (Governance, Risk and Compliance) ใช้เทคโนโลยีเชื่อมโยงหากันของกลุ่มงานบริหารทั่วไป สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดชัยนาท
คำสำคัญ:
แนวคิดเชิงระบบ, หลัก GRC (Governance, Risk and Compliance), กลุ่มงานบริหารทั่วไปบทคัดย่อ
การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการมีวัตถุประสงค์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาการทำงานของกลุ่มงานบริหารทั่วไป ให้มีประสิทธิภาพ ภายใต้หลัก GRC และมีการใช้เทคโนโลยีเครือข่ายที่เชื่อมโยงในงานที่เกี่ยวข้องกันและสร้างแนวทางในการทำงานของกลุ่มงานบริหารทั่วไป ที่นำไปประยุกต์ใช้กับหน่วยงาน ในสังกัดสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดชัยนาทได้ ประชากร ได้แก่ บุคลากรที่มีภาระงานและความรับผิดชอบในกลุ่มงานบริหารทั่วไป สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดชัยนาทในช่วงระยะเวลาตั้งแต่ มิถุนายน 2564 - มิถุนายน 2567 เก็บข้อมูลจากระบบรายงาน วิเคราะห์โดยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา
ผลการศึกษา พบว่า 1) การเปรียบเทียบ ระหว่างข้อมูลบัญชีในระบบ GFMIS และข้อมูลที่รวบรวมจากหลักฐานประกอบ ณ 30 ก.ย. 2564 จะพบว่า รวมผลแตกต่างจาการเปรียบเทียบ เท่ากับ 860,715,724.68 บาท คิดเป็น 39% จากผลรวมด้านเดบิตและเครดิตในระบบ GFMIS 2) การเปรียบเทียบ ระหว่างข้อมูลบัญชีในระบบ GFMIS และข้อมูลที่รวบรวมจากหลักฐานประกอบ ณ 30 มิ.ย. 2567 ซึ่งเป็นข้อมูลหลังจากดำเนินการแก้ไข ตามแนวทางที่กำหนดแล้ว พบว่า รวมผลแตกต่างจาการเปรียบเทียบ เท่ากับ 109,866,609.20 บาท คิดเป็น 10.15% จากผลรวมด้านเดบิตและเครดิตในระบบ GFMIS 3) การแก้ไขข้อผิดพลาดของข้อมูลในระบบ GFMIS ของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดชัยนาทสามารถแก้ไขได้สำเร็จไปได้ 28.85% ส่วนที่ยังไม่พบอีก 10.15% นั้นคาดว่าจะเสร็จสิ้นหลังตรวจสอบพัสดุประจำปี 2567 เพราะมีการตรวจนับทรัพย์สินอีกครั้ง
References
กระทรวงการคลัง (2564), มาตรฐานการบัญชีภาครัฐและนโยบายการบัญชีภาครัฐ พ.ศ. 2564 : (หน้า 26 – 237)
กระทรวงการคลัง (2561), พระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลัง พ.ศ. 2561. กรุงเทพมหานครกลุ่มงานธรรมาภิบาล กฟผ. (2563), สำนักผู้ว่าการบทความเรื่อง “GRC กลยุทธ์ใหม่ในการบริหารเพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืนขององค์กร”. กรุงเทพมหานคร
สถาบันส่งเสริมการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี สำนักงาน ก.พ.ร. (2561), รายงานการศึกษาหน่วยงานราชการรูปแบบใหม่ (ฉบับสมบูรณ์). กรุงเทพมหานคร
สถาบันกรรมการบริษัทไทย (2564), แนวทางปฏิบัติที่ดีสำหรับคณะกรรมการเกี่ยวกับการบูรณาการ GRC. กรุงเทพมหานคร สุทธิ สุนทรานุรักษ์ (2567), บทความสำนักงานการต่างประเทศลำดับที่ 82 เรื่อง การนำ Generative AI มาใช้ในการตรวจสอบผลสัมฤทธิ์และประสิทธิภาพการดำเนินงาน
อุษณา ภัทรมนตรี (2561), การตรวจสอบภายในสมัยใหม่. กรุงเทพมหานคร
จุฑามน สิทธิผลวนิชกุล (2561), แนวทางการบริหารความเสี่ยงองค์กร COSO Enterprise Risk Management 2017, สภาวิชาชีพบัญชี. กรุงเทพมหานคร
ทิพวรรณ หล่อสุวรรณรัตน์ (2563), ทฤษฏีองค์การและการจัดการสมัยใหม่ Modern Organization, https://www.thaiprint.org/2020/12/vol128/knowledge128- 03/#
ชัยวัฒน์ ใบไม้ (2564), บทความ แนวคิดเชิงระบบสู่การบริหารธุรกิจยุคใหม่, วารสารปาริชาต มหาวิทยาลัยทักษิณ. กรุงเทพมหานคร