ผลการเสริมสร้างความรอบรู้ด้านการใช้ยาอย่างสมเหตุผลของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน จังหวัดสุรินทร์
คำสำคัญ:
ความรอบรู้, การใช้ยาอย่างสมเหตุผล, อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านบทคัดย่อ
การวิจัยนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi Experimental Research) ชนิด One group pretest-posttest design เพื่อศึกษาผลการเสริมสร้างความรอบรู้ด้านการใช้ยาอย่างสมเหตุผลของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน จังหวัดสุรินทร์ จำนวน 92 คน เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลคือ แบบประเมินความรอบรู้ด้านการใช้ยาอย่างสมเหตุผลสำหรับประชาชนไทย (Rational Drug Use Literacy tool: RDUL) ของสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนา (descriptive statistics) รายงานค่าสถิติเป็น ค่าความถี่ (frequency) ร้อยละ (percentage) ค่าเฉลี่ย (mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard deviation, SD) ส่วนการวิเคราะห์เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยความรอบรู้ด้านการใช้ยาสมเหตุผล ก่อนและหลังการพัฒนา ใช้สถิติ Paired sample t-test ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างเป็นเพศหญิง ร้อยละ 78.3 อายุอยู่ในช่วง 51-60 ปี ร้อยละ 41.3 ระดับการศึกษาสูงสุด คือ ป.5-ป.6 ร้อยละ 37.0 เคยตรวจและได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรค ร้อยละ 37.0 ส่วนใหญ่เป็นโรคความดันโลหิตสูง ร้อยละ 50.0 รองลงมา คือ เบาหวาน ร้อยละ 19.6 และ ไขมันในเลือดสูง ร้อยละ 15.2 ตามลำดับ ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกร ร้อยละ 92.4 หลังการเข้าร่วมโปรแกรมเสริมสร้างความรอบรู้ กลุ่มตัวอย่างมีความรอบรู้ด้านการใช้ยาอย่างสมเหตุผลเพียงพอเพิ่มขึ้นจาก ร้อยละ 70.7 เป็น ร้อยละ 90.2 และพบว่าการเสริมสร้างความรอบรู้ด้านการใช้ยาอย่างสมเหตุผล ทำให้คะแนนความรอบรู้ของ อสม. เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในทุก ๆ ด้าน (p<.05)
References
World Health Organization. The rational use of drugs. ใน Nairobi Geneva: WHO; 1985.
กองบริหารการสาธารณสุข สํานักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. แนวทางการดำเนินงานพัฒนาระบบการใช้ยาอย่างสมเหตุผลในชุมชน (Ration Drug Use Community: RDU Community). พิมพ์ครั้งที่ 1. ปี 2563. นนทบุรี: กลุ่มงานพัฒนาระบบสนับสนุนบริการ กองบริหารการสาธารณสุข;
สมหญิง พุ่มทอง. รายงานสรุปผลการดำเนินงานโครงการส่งเสริมการใช้ยาปลอดภัยในชุมชน ปี 2561-2562. สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา;
วิมล โรมา, สายชล คล้อยเอี่ยม. รายงานการสำรวจความรอบรู้ด้านสุขภาพของประชาชนไทย อายุ 15 ปี ขึ้นไป พ.ศ.2562. พิมพ์ครั้งที่ 1. ปี 2563. นนทบุรี: สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข; 184 น.
วิมล โรมา, ชะนวนทอง ธนสุกาญจน์, มุกดา สำนวนกลาง, แรกขวัญ คล้อยเอี่ยม, กมลวรรณ สุขประเสริฐ. แนวคิดหลักการขององค์กรรอบรู้ด้านสุขภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 1. ปี 2561. สำนักงานโครงการขับเคลื่อนกรมอนามัย 4.0 เพื่อความรอบรู้ด้านสุขภาพของประชาชน (สขรส.);
กองยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. รายละเอียดตัวชี้วัดกระทรวงสาธารณสุข ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 1 [อินเทอร์เน็ต]. กองยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข; 2566 [เข้าถึงเมื่อ 23 มีนาคม 2024]. เข้าถึงได้จาก: https://spd.moph.go.th/wp-content/uploads/2024/03/kpi_template_edit.pdf
ตวงรัตน์ โพธะ, กุสาวดี เมลืองนนท์, กาญจนรัตน์, สมหญิง พุ่มทอง. การพัฒนาเครื่องมือและประเมินความรอบรู้ด้านการใช้ยาอย่างสมเหตุผลของประชาชนไทย [อินเทอร์เน็ต]. สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข; 2564 ธค [เข้าถึงเมื่อ 30 มีนาคม 2024]. เข้าถึงได้จาก: https://kb.hsri.or.th/dspace/handle/11228/5595
ตวงรัตน์ โพธะ, กุสาวดี เมลืองนนท์, เพ็ญกาญจน์ กาญจนรัตน์, สมหญิง พุ่มทอง. แบบประเมินความรอบรู้ด้านการใช้ยาอย่างสมเหตุผลสำหรับประชาชนไทย (Rational Drug Use Literacy tool: RDUL) และการแปลคะแนน [อินเทอร์เน็ต]. สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข; 2565 ธค [เข้าถึงเมื่อ 30 มีนาคม 2024]. เข้าถึงได้จาก: https://kb.hsri.or.th/dspace/handle/11228/5795
Nutbeam D. The evolving concept of health literacy. Social Science & Medicine [อินเทอร์เน็ต]. 1 ธันวาคม 2008 [เข้าถึงเมื่อ 8 เมษายน 2024];67(12):2072–8. เข้าถึงได้จาก: https://www.sciencedirect.com/science/article/pii/S0277953608004577
ณยฎา ธนกิจธรรมกุล, พิมผกา ปัญโญใหญ่, ศิรกาญจน์ ฉันทเฉลิมพงศ์. ผลของโปรแกรมส่งเสริมความรอบรู้ในการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างสมเหตุผลต่อความรอบรู้ในการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างสมเหตุผลของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน. วารสารสภาการพยาบาล [อินเทอร์เน็ต]. 2567 [เข้าถึงเมื่อ 16 พฤศจิกายน 2024];39(3):406–21. เข้าถึงได้จาก: https://he02.tci-thaijo.org/plugins/generic/pdfJsViewer/pdf.js/web/viewer.html?file=https%3A%2F%2Fhe02.tci-thaijo.org%2Findex.php%2FTJONC%2Farticle%2Fdownload%2F268691%2F184370%2F1151517
กองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข. โปรแกรมสุขศึกษาเพื่อเสริมสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพตามสุขบัญญัติแห่งชาติ. ปี 2561. กองสุขศึกษา กระทรวงสาธารณสุข;
บุญชัย ภาละกาล, ไขนภา มิ่งชัย, อรนิตย์ จันทะเสน. ประสิทธิผลของโปรแกรมเสริมสร้างความรอบรู้ด้านการใช้ยาอย่างสมเหตุผลต่อความรอบรู้ ด้านการใช้ยาอย่างสมเหตุผลของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ [อินเทอร์เน็ต]. 19 มิถุนายน 2024 [เข้าถึงเมื่อ 13 กันยายน 2024];2567(42):e270927. เข้าถึงได้จาก: https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jnat-ned/article/view/270927
Lertphanithit S, Panya R, Maneemai O. Effectiveness Of A Pharmacist-Initiated Education Program On Rational Drug Use Literacy Of Village Health Volunteers Registered At A Northern Subdistrict Health Promoting Hospital. Journal of Namibian Studies : History Politics Culture [อินเทอร์เน็ต]. 15 กรกฎาคม 2023 [เข้าถึงเมื่อ 16 พฤศจิกายน 2024];35:2736–47. เข้าถึงได้จาก: https://namibian-studies.com/index.php/JNS/article/view/4146
พิมผกา ปัญโญใหญ่, ณยฎา ธนกิจธรรมกุล, ศิรกาญจน์ ฉันทเฉลิมพงศ์. การส่งเสริมความรอบรู้ในการใช้ยาอย่างสมเหตุผลให้กับอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านอย่างมีประสิทธิภาพ. APHEIT Journal of Nursing and Health [อินเทอร์เน็ต]. 29 สิงหาคม 2567 [เข้าถึงเมื่อ 16 พฤศจิกายน 2024];6(2):e3552–e3552. เข้าถึงได้จาก: https://rsujournals.rsu.ac.th/index.php/ajnh/article/view/3552
จรรยา คุณภาที. การพัฒนารูปแบบความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพ ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ด้านโรคติดต่อและไม่ติดต่อในพื้นที่ ตำบลบ้านม่วง อำเภอบ้านดุง จังหวัดอุดรธานี. วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน [อินเทอร์เน็ต]. 30 มิถุนายน 2567 [เข้าถึงเมื่อ 16 พฤศจิกายน 2024];9(3):1–10. เข้าถึงได้จาก: https://he03.tci-thaijo.org/index.php/ech/article/view/2677
Srisaknok T, Ploylearmsang C, Wongkongdech R. Effectiveness of Program for Older People’s Health Literacy on Drug and Health Products: Northeast of Thailand. Asian Journal of Social Health and Behavior [อินเทอร์เน็ต]. มีนาคม 2024 [เข้าถึงเมื่อ 16 พฤศจิกายน 2024];7(1):11. เข้าถึงได้จาก: https://journals.lww.com/shbh/fulltext/2024/07010/effectiveness_of_program_for_older_people_s_health.2.aspx