การพยาบาลผู้ป่วยที่มีพฤติกรรมก้าวร้าวรุนแรงจากการใช้สารเสพติดในชุมชน : กรณีศึกษา 2 ราย
คำสำคัญ:
พฤติกรรมก้าวร้าวรุนแรง, การพยาบาล, สารเสพติด, ชุมชนบทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้ เป็นการศึกษาเปรียบเทียบกรณีศึกษา 2 ราย เพื่อศึกษาการพยาบาลผู้ป่วยที่มีพฤติกรรมก้าวร้าวรุนแรงจากการใช้สารเสพติดในชุมชน ที่เข้ารับการรักษาที่งานยาเสพติด โรงพยาบาลหนองสองห้อง ตั้งแต่ระยะผู้ป่วยจิตเวชฉุกเฉิน (Acute care) ระยะดูแลต่อเนื่อง ระยะฟื้นฟูและการวางแผนจำหน่าย โดยการรวบรวมข้อมูลจากผู้ป่วย ญาติ และเวชระเบียน การประเมินอาการ ซักประวัติ ตรวจร่างกาย นำข้อมูลมากำหนดข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล วางแผนการพยาบาล และมีการประเมินผลลัพธ์ทางการพยาบาลอย่างต่อเนื่อง
ผลการศึกษา : ศึกษาเปรียบเทียบการพยาบาลผู้ป่วยที่มีพฤติกรรมก้าวร้าวรุนแรงจากการใช้สารเสพติดในชุมชน กรณีศึกษา 2 ราย ที่ได้รับการรักษาที่งานยาเสพติดโรงพยาบาลหนองสองห้อง ดำเนินการศึกษาระหว่างวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2566 ถึง วันที่ 10 พฤศจิกายน 2566 จากกรณีศึกษารายที่ 1 ชายไทย อายุ 41 ปี ใช้สารเสพติดได้แก่ ยาบ้า และดื่มสุราร่วมด้วย มีพฤติกรรมก้าวร้าว หูแว่ว ภาพ หลอน และมีพฤติกรรมรุนแรงโดยการทำร้ายตนเอง ได้รับการรักษาด้วยยาต้านโรคจิต ยาควบคุมอารมณ์ และจิตสังคมบำบัด สามารถควบคุมอารมณ์พฤติกรรมได้เหมาะสมและกลับไปอยู่กับครอบครัวได้ แต่ยังติดตามผลอยู่เรื่อย ๆ กรณีศึกษารายที่ 2 ชายไทย อายุ 45 ปี ใช้สารเสพติดได้แก่ ยาบ้า กัญชา และสุรา จนเกิดอาการทางจิต ประสาทหลอน เอะอะโวยวาย ข่มขู่ผู้อื่น มีภาวะหวาดระแวง ส่งผลให้เกิดพฤติกรรมก้าวร้าวและความเสี่ยงต่อการก่อความรุนแรงระดับสูงหลังให้การบำบัดรักษาด้วยยาต้านโรคจิตทั้งชนิดรับประทาน ยาฉีดออกฤทธิ์ระยะยาว ยาควบคุมอารมณ์ และจิตสังคมบำบัด สามารถควบคุมอารมณ์ได้ดีขึ้น แต่ยังควบคุมอารมณ์ได้น้อยเมื่อเปรียบเทียบกับกรณีศึกษารายที่ 1 การจำหน่ายออกจากโรงพยาบาลของกรณีศึกษาทั้ง 2 ราย คือ มาบำบัดแบบสมัครใจ ยังมีอาการผิดปกติ หูแว่ว ไม่มีภาพหลอน แต่ยังต้องติดตามบำบัดสารเสพติดเพื่อไม่ให้เสพอีก
References
กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางการคัดกรอง การประเมินความรุนแรง การบำบัดรักษา การฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด สำหรับศูนย์คัดกรอง สถานพยาบาลยาเสพติดและสถานฟื้นฟู สมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดตามประมวลกฎหมายยาเสพติด [อินเตอร์เน็ต]. 2565 [สืบค้นเมื่อ 11 ก.พ. 67]. เข้าถึงจาก: http://www.chiangmaihealth.go.th/document/221101166727744069.pdf
นภวัลย์ กัมพลาศิริ. การพยาบาลบุคคลที่มีบุคลิกภาพแปรปรวน (Nursing Care for Persons with Personality Disorders). กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง; 2557.
จำปา สิงขะระ. กรณีศึกษาการพยาบาลผู้ป่วยยาเสพติดที่มีความผิดปกติ ทางบุคลิกภาพพฤติกรรมก้าวร้าว. สงขลา: โรงพยาบาลธัญญารักษ์สงขลา กรมการแพทย์; 2565.
สาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น. โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ การจัดการกับผู้ป่วยที่มีพฤติกรรมเสี่ยงอันตรายต่อตนเองและผู้อื่น [อินเตอร์เน็ต]. 2565 [สืบค้นเมื่อ 11 ก.พ. 67]. เข้าถึงจาก: https://www.phonhospital.go.th/ita/MOIT2%20ข้อ%209.
กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางการดูแลผู้ป่วยจิตเวชฉุกเฉิน (Acute Care) สำหรับหน่วย บริการสาธารณสุข (ระดับ A, S, M1 และ M2) ฉบับทดลองใช้. กรุงเทพฯ: บียอนด์ พับลิสซิ่ง; 2561.
กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือระบบการดูแลผู้ป่วยจิตเวชที่มีความเสี่ยงสูงต่อการก่อความรุนแรง. กรุงเทพฯ: บริษัทพรอสเพอรัสพลัส จำกัด; 2563.
Gordon, M. Nursing diagnosis: Process and Application. New York: McGraw-Hill; 1994.
ชนิกานต์ สุมณฑา. การพยาบาลผู้ป่วยเสพติดยาบ้าที่มีอาการทางจิตเวชและมีความเสี่ยงสูงต่อการทําร้ายผู้อื่น : กรณีศึกษา [อินเตอร์เน็ต]. 2565 [สืบค้นเมื่อ 12 ก.พ. 67]. เข้าถึงจาก: http://www.pmnidat.go.th/thai/downloads/research/