ความรู้และทัศนคติของพยาบาลต่อการบันทึกทางการพยาบาล และการศึกษาเชิงพรรณนาแบบย้อนหลังเกี่ยวกับความสมบูรณ์และคุณภาพของการบันทึกทางการพยาบาลระหว่างส่งตรวจพิเศษ ของพยาบาลวิชาชีพ หน่วยบริการการแพทย์ฉุกเฉินและส่งต่อ

ผู้แต่ง

  • จรินทิพย์ เติมศิลป์ พยาบาลวิชาชีพปฏิบัติการ ศูนย์หัวใจสิริกิติ์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
  • วัชระ โยกมา พยาบาลวิชาชีพปฏิบัติการ ศูนย์หัวใจสิริกิติ์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ผู้ประพันธ์บรรณกิจ Corresponding Author
  • กุลธรา จงตระการสมบัติ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ ศูนย์หัวใจสิริกิติ์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
  • อริญชย์ เมตรพรมราช พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ ศูนย์หัวใจสิริกิติ์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
  • กันตภณ หันไชยโชติ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ ศูนย์หัวใจสิริกิติ์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

คำสำคัญ:

ความรู้, ทัศนคติ, ความสมบูรณ์, คุณภาพ, บันทึกทางการพยาบาล

บทคัดย่อ

     การศึกษาเชิงสำรวจแบบย้อนหลังนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความสมบูรณ์และคุณภาพของการบันทึกทางการพยาบาลระหว่างส่งตรวจพิเศษของพยาบาลวิชาชีพ 2) ศึกษาความรู้และทัศนคติเกี่ยวกับการบันทึกทางการพยาบาลของพยาบาลวิชาชีพ และ 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล ความรู้และทัศนคติของพยาบาลวิชาชีพ กับความสมบูรณ์และคุณภาพของการบันทึกทางการพยาบาลระหว่างส่งตรวจพิเศษ โดยทำการศึกษาจากแบบบันทึกการรับส่งผู้ป่วยตรวจพิเศษของหน่วยบริการการแพทย์ฉุกเฉินและส่งต่อ ที่บันทึกโดยพยาบาลวิชาชีพที่เป็นกลุ่มตัวอย่าง 5 ราย จำนวน 297 ฉบับ ระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2566 – 31 ตุลาคม 2567 เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคลของพยาบาลวิชาชีพ แบบสอบถามความรู้เกี่ยวกับการบันทึกทางการพยาบาลระหว่างส่งผู้ป่วยตรวจพิเศษ แบบสอบถามทัศนคติต่อการบันทึกทางการพยาบาล แบบเก็บข้อมูลทั่วไปของผู้ป่วย แบบประเมินความสมบูรณ์ของการบันทึกทางการพยาบาลระหว่างส่งผู้ป่วยตรวจพิเศษ และแบบประเมินคุณภาพของการบันทึกทางการพยาบาลระหว่างส่งผู้ป่วยตรวจพิเศษ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและสถิติสหสัมพันธ์เพียร์สัน
     ผลการศึกษาพบว่า ความสมบูรณ์และคุณภาพของการบันทึกทางการพยาบาลระหว่างส่งผู้ป่วยตรวจพิเศษอยู่ในระดับดีมาก (ร้อยละ 97.21 และ 92.94 ตามลำดับ) ความรู้และทัศนคติของพยาบาลวิชาชีพเกี่ยวกับการบันทึกทางการพยาบาลระหว่างส่งผู้ป่วยตรวจพิเศษอยู่ในระดับสูง (ร้อยละ 90 และ 96 ตามลำดับ) ระยะเวลาปฏิบัติงานมีความสัมพันธ์สูงมากในทางลบกับความสมบูรณ์และคุณภาพของการบันทึกทางการพยาบาล (r=-0.966, p=0.008 และ r=-0.990, p=0.001 ตามลำดับ) และทัศนคติของพยาบาลวิชาชีพต่อการบันทึกทางการพยาบาลมีความสัมพันธ์สูงมากในทางบวกกับความสมบูรณ์และคุณภาพของการบันทึกทางการพยาบาล (r=0.883, p=0.047 และ r=0.927, p=0.024 ตามลำดับ)

References

สุรีย์ ธรรมิกบวร. การบันทึกทางการพยาบาล.(พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: นิวเวฟพัฒนา; 2540.

ประคิณ สุจฉายา, วิจิตร ศรีสุพรรณ, โรจนี จินตนาวัฒน์, กุลดา พฤติวรรธน์, ศรีมนา นิยมค้า. บันทึกทางการพยาบาลและการผดุงครรภ์ : แนวคิดวิธีการบันทึกและการใช้ประโยชน์รายงานการวิจัย. สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขกรุงเทพมหานคร. กรุงเทพ; 2549.

กองการพยาบาล. คู่มือการจัดการบริการพยาบาลจากหลักการสู่การปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์; 2539.

ปาลิตา พูลเพิ่ม, นงเยาว์ มีเทียน, อภิญญา วงศ์พิริยโยธา. ปัญหาและความต้องการการบันทึกทางการพยาบาลในโรงพยาบาลสุทธาเวช คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม 2565;19:88-99.

พาณี วิรัชชกุล, บุญทิพย์ สิริธรังศรี, อารี ชีวเกษมสุข, ยุวดี เกตสัมพันธ์. การพัฒนารูปแบบการบันทึกทางการพยาบาล กลุ่มงานสูติ-นรีเวชกรรม โรงพยาบาลอุทัยธานี. วารสารพยาบาลโรคหัวใจและทรวงอก 2564;32:186-201.

สวรส แก้วศรีทัศน์, นิรุวรรณ เทรินโบล์, อรุณ บุญสร้าง. ปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพการบันทึกเวชระเบียนผู้ป่วย ของทีมสหวิชาชีพ โรงพยาบาลพระยุพราชเดชอุดม อำเภอเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม 2561;15:135-41.

จันทิรา นุ่มดี. คำ ปัจจัยที่มีผลต่อการบันทึกทางการพยาบาลของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลเดิมบางนางบวช จังหวัดสุพรรณบุรี. Thai Nursing time 2562;12:23-26.

สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล. เป้าหมายความปลอดภัยของผู้ป่วยของประเทศไทย พ.ศ. 2561. กรุงเทพ: สำนักพิมพ์เฟมัส แอนด์ ซัคเซสฟูล; 2561.

ศูนย์หัวใจสิริกิติ์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. นโยบาย Transfer and referral. ศูนย์หัวใจสิริกิติ์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ : ขอนแก่น; 2566.

สุรเกียรติ อาชานานุภาพ. หลอดเลือดแดงใหญ่โป่งพอง(Aortic aneurysm) DoctorAtHome.com(อินเทอร์เน็ต). 2565 (เข้าถึงเมื่อ 10 พฤศจิกายน 2567). เข้าถึงได้จาก: https://hotlink.doctorathome.com/disease-conditions/248

Salim S, et al. Heart Disease and Stroke Statistics-2021 Update. A Report from the American Heart Association 2021;143:243-743.

พรทิพย์ สุทธิรัตน์ชัยชาญ. อาการทางคลินิกและผลเอกซเรย์คอมพิวเตอร์หลอดเลือดแดง(CTA)ในผู้ป่วยฉุกเฉินหลอดเลือดแดงเอออร์ต้า(Aortic emergency)ในโรงพยาบาลลำพูน. วารสารสาธารณสุขล้านนา 2558;11:28-36.

คณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บทบาททางเพศ. คณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย(อินเทอร์เน็ต) 2562. (เข้าถึงเมื่อ 10 พฤศจิกายน 2567) เข้าถึงได้จาก: https://www.psy.chula.ac.th/th/feature-articles/gender-role/

Benner P. From Novice to Expert: Excellence and power in clinical nursing practice.California: Addison-Wesley Publishing Company; 1984.

ยุวดี เกตสัมพันธ์. บันทึกทางการพยาบาล : Focus Charting. เอกสารการสอนพยาบาลน้องใหม่. ฝ่ายการพยาบาล โรงพยาบาลศิริราช : กรุงเทพฯ; 2565.

โอเล็ต ศรีมุกดา, ฐิติณัฎฐ์ อัคคะเดชอนันต์, ทรียาพรรณ สุภามณี. ความรู้ ทัศนคติ และการปฏิบัติการบันทึกทางการพยาบาลของพยาบาลโรงพยาบาลแขวงคำม่วน สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว. พยาบาลสาร 2558;42:141-52.

ลดาวัลย์ ฤทธิ์กล้า. ประสิทธิผลของการพัฒนาการบันทึกทางการพยาบาลแบบชี้เฉพาะต่อความสมบูรณ์ คุณภาพการบันทึกทางการพยาบาลความรู้และความพึงพอใจของพยาบาลอายุรกรรม. Thammasat University Hospital Journal Online 2021;6:1-3.

ธนิฎฐา โพธาราม. ทัศนคติต่อการบันทึกทางการพยาบาลตามกระบวนการพยาบาล ของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ อินเตอร์เนชั่นแนล (วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒ; 2551.

ศธีมา ศรีกลับ. ประสิทธิผลของโปรแกรมการอบรมเชิงปฏิบัติการ การพัฒนาคุณภาพการบันทึกทางการพยาบาลหอผู้ป่วยในและห้องคลอดโรงพยาบาล บ้านนาสาร จังหวัดสุราษฎร์ธานี. Science, Technology, and Social Sciences Procedia 2024;2024:1-10.

เยาวเรศ คุณแก้ว. การพัฒนาการบันทึกทางการพยาบาลตึกผู้ป่วยในโรงพยาบาลพระยืน จังหวัดขอนแก่น. พยาบาลสาร 2559;43:128-36.

Richards TD. What are the barriers and enablers to using the focus charting in the hospital setting. Master of Nursing Thesis, Eastern Institute of Technology Tara dale, New Zealand; 2013.

Yelle LE. The learning curve: Historical review and comprehensive survey. Decision Science. 1979; 10:302–328.

บุญมี สังข์รักษา, ณรินี แย้มสกุล. ปัญหาและปัจจัยความสำเร็จต่อคุณภาพการบันทึกทางการพยาบาลในหน่วยงานอุบัติเหตุและฉุกเฉินโรงพยาบาลสามพราน จังหวัดนครปฐม. วารสารพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยคริสเตียน 2564;8:17-33.

วรรณี เดียวอิศเรศ, จินตนา วัชรสินธุ์, กนกนุช ชื่นเลิศสกุล, วชิรา ลิ้มเจริญชัย, รุ่ง โยยิ่ง. การพัฒนารูปแบบเพิ่มพูนการใช้กระบวนการพยาบาลในโรงพยาบาลบ้านบึง. วารสารพยาบาล 2557;63:11

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-31

How to Cite

เติมศิลป์ จ., โยกมา ว., จงตระการสมบัติ ก., เมตรพรมราช อ., & หันไชยโชติ ก. (2024). ความรู้และทัศนคติของพยาบาลต่อการบันทึกทางการพยาบาล และการศึกษาเชิงพรรณนาแบบย้อนหลังเกี่ยวกับความสมบูรณ์และคุณภาพของการบันทึกทางการพยาบาลระหว่างส่งตรวจพิเศษ ของพยาบาลวิชาชีพ หน่วยบริการการแพทย์ฉุกเฉินและส่งต่อ. วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน, 9(6), 922–933. สืบค้น จาก https://he03.tci-thaijo.org/index.php/ech/article/view/3566