ผลของการใช้แอปพลิเคชันไลน์ "Easy Splint Care" ต่อความรู้เรื่องการปฏิบัติตัวหลังใส่เฝือกของผู้รับบริการห้องตรวจออร์โธปิดิกส์ โรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช

ผู้แต่ง

  • ดวงพร ชาศรี อาจารย์ภาควิชาการพยาบาลเด็กและวัยรุ่น วิทยาลัยพยาบาลทหารอากาศ กรมแพทย์ทหารอากาศ
  • ชัชรชัย ทองเชื้อ พยาบาลวิชาชีพ กองวิทยาการ กรมแพทย์ทหารอากาศ
  • ภัทรพงษ์ สิงหรักษ์ พยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช กรมแพทย์ทหารอากาศ

คำสำคัญ:

เฝือก, ความรู้ , แอปพลิเคชันไลน์ , ห้องตรวจออร์โธปิดิกส์

บทคัดย่อ

     การวิจัยครั้งนี้เป็นวิจัยทดลอง (Experimental Research) มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบผลของการใช้แอปพลิเคชันไลน์ “Easy Splint Care”กับแผ่นพับให้ความรู้ของห้องเฝือกต่อระดับความรู้การปฏิบัติตัวหลังใส่เฝือกของผู้รับบริการห้องตรวจออร์โธปิดิกส์ โรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช โดยใช้แนวคิดทฤษฎีของเอดการ์ เดล (Edgar Dale ,1996)คัดเลือกกลุ่มตัวอย่าง 52 คน จากผู้ป่วยที่ใช้บริการห้องตรวจออร์โธปิดิกส์ที่ใส่เฝือกของโรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช โดยแบ่งเป็นกลุ่มควบคุม 26 คน และ กลุ่มทดลอง 26 คน โดยกลุ่มควบคุมใช้แผ่นพับให้ความรู้ห้องเฝือก จำนวน 26 คน และกลุ่มทดลองจะใช้แอปพลิเคชันไลน์ “Easy Splint Care”จำนวน 26 คนเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล คือ แบบสอบถามความรู้เรื่อง การปฏิบัติตัวหลังใส่เฝือก ทำการเก็บข้อมูลระหว่างวันที่ 18-29 มีนาคม 2567 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานการทดสอบสถิติ Paired t-test และ Independent t-test
     ผลการวิจัย พบว่า กลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมมีค่าเฉลี่ยคะแนนความรู้เพิ่มขึ้นหลังจากได้รับสื่อแผ่นพับและสื่อแอปพลิเคชันไลน์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และพบว่าค่าเฉลี่ยคะแนนความรู้ของกลุ่มทดลองที่ได้รับแอปพลิเคชันไลน์สูงกว่ากลุ่มควบคุมที่ได้รับแผ่นพับ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ดังนั้น สามารถนำรูปแบบสื่อการสอนแอปพลิเคชันไลน์“Easy Splint Care” ไปใช้กับผู้ป่วยที่ใช้บริการห้องตรวจออร์โธปิดิกส์ที่ใส่เฝือกได้

References

พนิดา ไกรนรา. (2566). ผลของแนวปฏิบัติทางการพยาบาลเฝ้าระวังอาการสำคัญที่นําไปสู่ภาวะคุกคามชีวิตของผู้บาดเจ็บรุนแรง หน่วยงานอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลประจวบคีรีขันธ์.สืบค้นเมื่อ 28 ม.ค. 2567 จาก https://he01.tci-thaijo.org/index.php/shj/article/view/262323/178610

สำนักนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร. (2566). ข้อมูลอุบัติเหตุจราจร. สืบค้นเมื่อ 25 ม.ค. 2567 จาก https://data.go.th/dataset/gdpublish-tcnap-accident

เอมอร ส่วยสม. (2566). ปัจจัยเสี่ยงต่อการพลัดตกหกล้มในผู้สูงอายุที่เข้ารับบริการในคลินิกโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง โรงพยาบาลแก้งคร้อจังหวัดชัยภูมิ. วารสารการแพทย์โรงพยาบาลศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์, 38(3) : 689-699.

เมทินี ศรีสุบิ. (2567). การป้องกันการหกล้มของผู้สูงอายุในชุมชน : บทบาทพยาบาลกับการดูแลสุขภาพที่บ้าน. วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อม และสุขภาพชุมชน, 9(1) : 748-758.

Mitchell SE, Aitken SA, Court-Brown CM. The epidemiology of fractures caused by falls down stairs. International Scholarly Research Notices. 2013;2013(1):370340.

แผนกทะเบียนเวชสถิติ โรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช กรมแพทย์ทหารอากาศ. รายงานสถิติผู้ป่วยที่ได้รับการใส่เฝือกปี 2565-2566. กรุงเทพมหานคร : โรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช

สภาการพยาบาล. (2564). ข้อบังคับสภาการพยาบาล ว่าด้วยข้อจำกัดและเงื่อนไขในการประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ พ.ศ.2564 ส่วนที่ 2 การทำหัตถการ ข้อที่ 9.14 หน้า 31 : สภาการพยาบาล

วีรนุช ไตรรัตโนภาส. (2563). บทบาทของพยาบาลในการป้องกันภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยกระดูกหักที่ ได้รับการดึงถ่วงน้ำหนัก. วารสารมหาวิทยาลัยคริสเตียน, 26(3) : 110-121.

Meleis AI, Sawyer LM, Im EO, Messias DK, Schumacher K. Experiencing transitions: an emerging middle-range theory. Advances in nursing science. 2000 Sep 1;23(1):12-28.

Leelertmongkolkul W, Danaidutsadeekul S, Chanruangvanich W, Udomkiat P. The relationship between body mass index, pain, social support and the activity daily living during recovery phase in hip arthroplasty patients. Nursing Science Journal of Thailand. 2013;31(2):26-37.

Eurenius E, Stenström CH, PARA Study Group. Physical activity, physical fitness, and general health perception among individuals with rheumatoid arthritis. Arthritis Care & Research. 2005 Feb 15;53(1):48-55.

วัชราภรณ์ เปาโรหิตย์. (2566). ผลของการใช้แอปพลิเคชันไลน์ “COVID Check”ต่อความรู้เรื่องโรคติดเชื้อโควิด- 19 ในนักเรียนจ่าอากาศ ปีการศึกษา 2565. วารสารศูนย์อนามัยที่ 9, 17(3) : 1,023-1,034

สุจิตราภรณ์ ทับครอง, เพ็ญรุ่ง นวลแจ่ม, นิตยา วิโรจน์และพาจนา ดวงจันทร์. (2561). การประยุกต์ใช้สื่อสุขภาพเพื่อพัฒนาความรอบรู้การดูแลสุขภาพตนเองของผู้ป่วยความดันโลหิตสูง ในชุมชนบ้านเหรียงงาม. โรงพยาบาลศรีบรรพต. สืบค้นเมื่อ 30 ม.ค. 2567 จาก https://ptho.moph.go.th /ptvichakarn66/uploads/86348_0302_20230727064913.pdf

ขวัญฤดี ฮวดหุ่น. (2560). อิทธิพลของแอพพลิเคชั่นไลน์ในการสื่อสารยุคปัจจุบัน วารสารศิลปะการจัดการ,1(2) : 75-88.

Dale, Edgar. (1996). Audiovisual Methods in Teaching 3rd. USA : New York. Retrieve. From https://edtechbooks.org/pdfs/print/lidtfoundations/edgar_dale.pdf

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-31

How to Cite

ชาศรี ด., ทองเชื้อ ช., & สิงหรักษ์ ภ. . . (2024). ผลของการใช้แอปพลิเคชันไลน์ "Easy Splint Care" ต่อความรู้เรื่องการปฏิบัติตัวหลังใส่เฝือกของผู้รับบริการห้องตรวจออร์โธปิดิกส์ โรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช. วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน, 9(6), 298–306. สืบค้น จาก https://he03.tci-thaijo.org/index.php/ech/article/view/3581