ผลของโปรแกรมแรงสนับสนุนทางสังคม ต่อสุขภาพจิตและคุณภาพชีวิต ของผู้สูงอายุ เทศบาลเมืองศรีสัชนาลัย อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย

ผู้แต่ง

  • อัมพร พรชยากร เทศบาลเมืองศรีสัชนาลัย

คำสำคัญ:

โปรแกรมแรงสนับสนุนทางสังคม, สุขภาพจิต, คุณภาพชีวิต

บทคัดย่อ

      การวิจัยกึ่งทดลองแบบสองกลุ่มวัดก่อนและหลังการทดลอง เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมแรงสนับสนุนทางสังคมต่อสุขภาพจิตและคุณภาพชีวิตในผู้สูงอายุ เทศบาลเมืองศรีสัชนาลัย อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย กลุ่มตัวอย่างคือผู้สูงอายุ  แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมกลุ่มละ 35 คน ระยะเวลา 12 สัปดาห์ เก็บข้อมูลจากแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูล โดยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (Content Analysis) ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ Dependent t – test
      ผลการทดลองพบว่าคะแนนเฉลี่ยสุขภาพจิตกลุ่มทดลองที่ได้รับโปรแกรมแรงสนับสนุนทางสังคมก่อนและหลังการทดลองเท่ากับ 46.828 และ 53.057 ตามลำดับ มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.001)  คะแนนเฉลี่ยสุขภาพจิตกลุ่มทดลองที่ได้รับโปรแกรมแรงสนับสนุนทางสังคมและกลุ่มควบคุมที่ได้รับการพยาบาลตามปกติหลังการทดลองเท่ากับ 53.057 และ 47.942 ตามลำดับ มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.001) คะแนนเฉลี่ยคุณภาพชีวิตกลุ่มทดลองที่ได้รับโปรแกรมแรงสนับสนุนทางสังคมก่อนและหลังการทดลองเท่ากับ 68.085 และ 102.514 ตามลำดับ มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.001) คะแนนเฉลี่ยคุณภาพชีวิตกลุ่มทดลองที่ได้รับโปรแกรมแรงสนับสนุนทางสังคมและกลุ่มควบคุมที่ได้รับการพยาบาลตามปกติหลังการทดลองเท่ากับ 102.514 และ 63.971 ตามลำดับ มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.001)

References

World Health Organization. Ageing and health Fact sheet 2022 Retrieved from: https://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/ageing-and-health

กรมกิจการผู้สูงอายุ. สถิติผู้สูงอายุ. [อินเตอร์เน็ต] 2566 [สืบค้นเมื่อ 20 มกราคม 2567] สืบค้นจาก https://www.dop.go.th/th/know/1

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสุโขทัย. ประชากรจำแนกเพศ กลุ่มอายุรายปี ระหว่างปี 2561 – 2565. [อินเตอร์เน็ต] 2566 [สืบค้นเมื่อ22 มกราคม 2567] เข้าถึงจาก https://sti.hdc.moph.go.th/hdc/main/index.php

มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย (มส.ผส.). สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2562. นครปฐม: สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล [อินเตอร์เน็ต] 2566 [สืบค้นเมื่อ 11 มกราคม 2567] เข้าถึงจาก https://www.dop.go.th/download/knowledge/th1610945020-322_0.pdf

Southern, A. P., Lopez, R. A., & Jwayyed, S. Geriatric Trauma. In StatPearls. StatPearls Publishing [Internet] 2022 [Cited 2023 February 21] Available from: https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/28723049

Huisman, M., Klokgieters, S. S., & Beekman, A. T. F. Successful ageing, depression and resilience research; a call for a priori approaches to investigations of resilience. Epidemiology and Psychiatric Sciences 2017; 26(6), 574-578

กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือความสุข 5 มิติ สำหรับผู้สูงอายุ. ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย. นนทบุรี; 2566

House, J. S., & Kahn, R. L. Measures and concepts of social support. In S. Cohen & S. L. Syme (Eds.), Social support and health 1985; 83-108 San Diego, CA: Academic Press.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-31

How to Cite

พรชยากร อ. . (2024). ผลของโปรแกรมแรงสนับสนุนทางสังคม ต่อสุขภาพจิตและคุณภาพชีวิต ของผู้สูงอายุ เทศบาลเมืองศรีสัชนาลัย อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย. วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน, 9(6), 375–383. สืบค้น จาก https://he03.tci-thaijo.org/index.php/ech/article/view/3593