ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพและป้องกันการกลับเป็นซ้ำ ของกลุ่มอาการปวดกล้ามเนื้อคอ บ่า ไหล่ เรื้อรังด้วยบริการการแพทย์แผนไทย ในผู้รับบริการกลุ่มวัยทำงาน
คำสำคัญ:
กลุ่มอาการปวดกล้ามเนื้อคอบ่าไหล่เรื้อรัง, พฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ, การแพทย์แผนไทยบทคัดย่อ
การวิจัยนี้เป็นการศึกษาภาคตัดขวางเชิงวิเคราะห์ เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล ความรู้เรื่องกลุ่มอาการปวด ปัจจัยการรับรู้ และปัจจัยกระตุ้นการปฏิบัติ กับพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพและป้องกันการกลับเป็นซ้ำในผู้ป่วยกลุ่มอาการปวดกล้ามเนื้อคอ บ่า ไหล่เรื้อรัง ที่รับบริการการแพทย์แผนไทย กลุ่มตัวอย่างคือผู้รับบริการวัยทำงาน จำนวน 179 คน สุ่มตัวอย่างแบบง่ายจากโรงพยาบาลการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ผสมผสาน ศูนย์ราชการฯ กรุงเทพมหานคร เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามที่ผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาและความเที่ยง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและการวิเคราะห์การถดถอยโลจิสติก
ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง (ร้อยละ 53.10) มีอายุเฉลี่ย 37.72 ± 10.28 ปี ประกอบอาชีพรับราชการหรือรัฐวิสาหกิจ โดยมีลักษณะการทำงานที่ต้องใช้ท่าทางซ้ำๆ กลุ่มตัวอย่างมีความรู้เกี่ยวกับกลุ่มอาการปวด การรับรู้โอกาสเสี่ยง และการรับรู้ประโยชน์อยู่ในระดับสูง ส่วนการรับรู้ความรุนแรงและการรับรู้อุปสรรคอยู่ในระดับปานกลาง ด้านปัจจัยกระตุ้นพบว่าปัจจัยภายในอยู่ในระดับปานกลาง ขณะที่ปัจจัยภายนอกอยู่ในระดับสูง โดยพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพและป้องกันการกลับเป็นซ้ำของกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่อยู่ในระดับสูง ผลการวิเคราะห์พหุตัวแปรพบว่า มีสองปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพและป้องกันการกลับเป็นซ้ำอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05) ได้แก่ ลักษณะงานที่ต้องเอื้อมหยิบของ (AOR: 2.62, 95%CI: 1.37-4.50) และปัจจัยกระตุ้นจากภายนอก (AOR: 16.14, 95%CI: 1.98-131.40)
References
ประวิตร เจนวรรธนะกุล, ปราณีต เพ็ญศรี, ธเนศ สินส่งสุข, วิโรจน์ เจียมจรัสรังษี, ศิริเพ็ญ ศุภกาญจนกันติ. ความชุก ปัจจัยส่งเสริม และความสูญเสียทางเศรษฐกิจที่เกี่ยวข้องกับการเกิดอาการทางระบบกระดูกและกล้ามเนื้ออันเนื่องมาจากการทำงานในผู้ที่ทำงานในสำนักงานในสถานประกอบการในเขตกรุงเทพมหานคร. การประชุมวิชาการกองวิจัยและพัฒนา; 2548; สำนักงานประกันสังคม.
กรมควบคุมโรค, สำนักโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม. รายงานสถานการณ์โรคและภัยสุขภาพจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม ปี 2560 [อินเทอร์เน็ต]. นนทบุรี: กรม; 2561 [สืบค้นเมื่อวันที่ 30 ก.ย. 2564]. จาก:
http://envocc.ddc.moph.go.th/uploads/situation/01_envocc_situation_60.pdf.
Prawit Janwantanakul, Praneet Pensri, Viroj Jiamjarasrangsri, Thanes Sinsongsook. Prevalence of self-reported musculoskeletal symptoms among office workers. Occupational Medicine (Lond). 2008;58(6):436-8.
ไกรวัชร ธีรเนตร. Concept in pain management. ใน: ภัทราวุธ อินทรกำแหง, บรรณาธิการ. ตำราเวชศาสตร์ฟื้นฟู. กรุงเทพฯ: โครงการตำราวิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฎเกล้า; 2552.
International Labour Organization. International Labour Standards on Occupational Safety and Health [Internet]. Switzerland: International Labour Organization; 2018 [cited 2020 Dec 22]. Available from: https://www.ilo.org/global/standards/subjects-covered-by-international-labour-standards/occupational-safety-and-health/lang--en/index.htm.
ธวัชชัย รักษานนท์, ชไมพร ชารี, พิษากานต์ วารีขจรเกียรติ, ภูษณิศา ฉลาดเลิศ, บรรณาธิการ. แนวทางการจัดบริการอาชีวอนามัยให้กับแรงงานในชุมชนด้านการยศาสตร์ สำหรับเจ้าหน้าที่หน่วยบริการสุขภาพปฐมภูมิ [อินเทอร์เน็ต]. นนทบุรี: กรมควบคุมโรค, สำนักโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม, กลุ่มอาชีวอนามัย; 2560 [สืบค้นเมื่อวันที่ 12 พ.ค. 2564]. จาก: https://ddc.moph.go.th/uploads/files/5b9b2251268a2835083c9230468c070f.pdf.
พระยาวิศณุประสาทเวช. เวชศึกษา เล่มเดียวจบ. กรุงเทพฯ: วัฒนาพานิช; 2496.
อนามัย เทศกะทึก. อาชีวอนามัยและความปลอดภัย. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์; 2551.
ประทีป ธนกิจเจริญ. การแพทย์แผนไทย ความยั่งยืนแห่งภูมิปัญญาไทย. ก้าวใหม่. ก.ย.-ต.ค. 2558;8(41):1.
นิรุติ ผึ่งผล, อัจฉราวรรณ ยิ้มยัง, นงนุช นามวงษ์, ภควรรณ เหล่าบัวดี, จันทร์จีรา บุญมา, เครือวัลย์ แพทนัทธ์, และคณะ. ตัวแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุพฤติกรรมการป้องกันโรคปวดกล้ามเนื้อหลังส่วนล่างตามมูลเหตุการเกิดโรค 8 ประการ ของประชาชนในจังหวัดชลบุรี. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. ก.ค.-ก.ย. 2560;10(3):32-42.
พีรดา จันทร์วิบูลย์, ศุภะลักษณ์ ฟักคำ. ประสิทธิผลของการนวดแบบราชสำนักในการรักษากลุ่มอาการปวดกล้ามเนื้อหลังส่วนบนของผู้มารับบริการในศูนย์วิชาชีพการแพทย์แผนไทยประยุกต์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา; 2553. สนับสนุนจากมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.
โรงพยาบาลการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ผสมผสาน. ฐานข้อมูลผู้รับบริการในโรงพยาบาลการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ผสมผสาน. 2564.
รัตติกาล เหมือนสุทธิวงค์. ปัจจัยทำนายพฤติกรรมการป้องกันอาการปวดหลังส่วนล่างของกลุ่มผู้ใช้แรงงานในโรงงานอุตสาหกรรม [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. [กรุงเทพฯ]: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2552.
สุวัฒน์ ชํานาญ. ผลของโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพด้านการยศาสตร์ ต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อลดความเสี่ยงต่อโรคกล้ามเนื้อและกระดูกที่เกิดจากการทำงานของบุคลากรโรงพยาบาลศรีสมเด็จ จังหวัดร้อยเอ็ด [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. [มหาสารคาม]: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม; 2558.
กัลยาพร เติมนาค. ผลของการใช้แนวคิดแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพกับการบริหารร่างแบบฤาษีดัดตนในกลุ่มปวดกล้ามเนื้อหลังส่วนบนเรื้อรัง เขตหนองจอก กรุงเทพมหานคร [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. [นครปฐม]: มหาวิทยาลัยมหิดล; 2559.
อัญชลี สามงามมี, เกษร สำเภาทอง, นนท์ธิยา หอมขำ. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมป้องกันโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงของบุคลากรสายสนับสนุน ในมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง. วชิรเวชสารและวารสารเวชศาสตร์เขตเมือง. มี.ค.-เม.ย. 2562;64(2):97-108.
ณภารินทร์ ภัสราธร. พฤติกรรมการป้องกันการเกิดกลุ่มอาการออฟฟิศซินโดรมของพนักงานบริษัทในเขตกรุงเทพมหานคร [วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต]. [กรุงเทพฯ]: มหาวิทยาลัยรามคำแหง; 2562.
กนกวรรณ แสนสุภา, เพ็ญศิริ จันทร์แอ, หนึ่งฤทัย ศรีละคร, ทัณฑิกา แก้วสูงเนิน, อภิวัตร กาญบุตร, นฤวัตร ภักดี. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมที่ส่งเสริมสุขภาพในผู้ป่วยที่มีอาการปวดหลังส่วนล่าง ณ โรงพยาบาลนิคมน้ำอูน. วารสารหมอยาไทยวิจัย. ก.ค.–ธ.ค. 2562;5(2):69-83.
Nola Pender, Carolyn Murdaugh, Mary-Ann Parsons. Health Promotion in Nursing Practice. 5th ed. NJ, USA.: Pearson– Prentice Hall; 2006.