การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้สูงอายุสมองเสื่อมอย่างเพียงพอ ของเครือข่ายบริการสุขภาพปฐมภูมิ อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น

ผู้แต่ง

  • ดังการ พลลาภ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ โรงพยาบาลน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น
  • ศิราณี ศรีหาภาค ผู้ช่วยศาสตราจารย์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ขอนแก่น คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก corresponding author
  • ประครอง ขันบำรุง เจ้าพนักงานสาธารณสุขชำนาญงาน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลกุดน้ำใส

คำสำคัญ:

การดูแลภาวะสมองเสื่อมผู้สูงอายุอย่างเพียงพอ, สมองเสื่อม, ผู้สูงอายุ

บทคัดย่อ

     การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) เพื่อพัฒนารูปแบบการดูแลผู้สูงอายุสมองเสื่อมในระบบการดูแลระยะยาวโดยโปรแกรมการดูแลผู้สูงอายุสมองเสื่อมอย่างเพียงพอ(Sufficient Care for Dementia : SCD) ของเครือข่ายบริการสุขภาพปฐมภูมิ ในอำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น กลุ่มตัวอย่างในระยะการคัดกรองภาวะสมองเสื่อมของผู้สูงอายุในชุมชน คือ ผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป จำนวน 350 คน ส่วนกลุ่มตัวอย่าง ที่เข้าร่วมในกระบวนการพัฒนารูปแบบการดูแลผู้สูงอายุสมองเสื่อมอย่างเพียงพอ เป็นผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงกลุ่ม 1 กลุ่ม 2  ในระบบการดูแลระยะยาว จำนวน  33 คน และผู้ดูแลในครอบครัว จำนวน 32 คน ในช่วงเวลา 6 เดือน ตั้งแต่เดือน ส.ค. 2565 – ก.ค. 2566 แล้ววิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและเปรียบเทียบผลลัพธ์ก่อนและหลังการทดลอง ด้วยสถิติ  Paired T-Test และ Mac Nemar Test
     ผลการศึกษาพบว่า 1. การคัดกรองผู้สูงอายุในชุมชนพบมีผู้สูงอายุที่มีสงสัยภาวะสมองสื่อม ร้อยละ 16.8 และพบปัญหาพฤติกรรมผิดปกติทางจิตใจและอารมณ์ในผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อม ร้อยละ 60.0 2. กระบวนการพัฒนาการดูแลผู้สูงอายุสมองเสื่อมอย่างเพียงพอในระบบการดูแลระยะยาว พบว่าประกอบด้วย 5 ขั้นตอน ได้แก่ การพัฒนาศักยภาพการดูแลผู้สูงอายุสมองเสื่อมอย่างเพียงพอ การออกแบบแผนการดูแลผู้สูงอายุสมองเสื่อมอย่างเพียงพอภายใต้โปรแกรมการดูแลระยะยาว การพิจารณาแผนการดูแลผู้สูงอายุสมองเสื่อมอย่างเพียงพอโดยคณะอนุกรรมการกองทุนระบบการดูแลระยะยาว การ จัดบริการดูแลผู้สูงอายุภาวะสมองเสื่อมแบบเพียงพอในชุมชน และ การประเมินผลลัพธ์ของการดูแลผู้สูงอายุภาวะสมองเสื่อมอย่างเพียงพอ 3. ผลลัพธ์การดูแลผู้สูงอายุสมองเสื่อมอย่างเพียงพอในระบบการดูแลระยะยาว หลังวิจัย 3 เดือน และ 6 เดือน พบว่าพฤติกรรมผิดปกติทางจิตใจและอารมณ์ของผู้สูงอายุลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P < 0.001) คะแนนเฉลี่ยภาวะสมองเสื่อมของผู้สูงอายุดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P < 0.001) และภาวะซึมเศร้าของผู้สูงอายุลดลง (P=0.048) ด้านผู้ดูแลพบว่าภาระการดูแลของผู้ดูแลลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P < 0.001) และความพึงพอใจของผู้ดูแลเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P = 0.002)

References

โกมาตร จึงเสถียรทรัพย์, และธนวรรณ สารรัมย์. (2566). ภาวะสมองเสื่อม: จากการวิจัยสู่การดูแลให้ได้ผลลัพธ์.กรุงเทพฯ:พีเอ็นเอส ครีเอชั่น.

Ferri, C. P., Prince, M., Brayne, C., Brodaty, H., Fratiglioni, L., & Ganguli, M. (2005). Global prevalence of dementia: A Delphi consensus study. Lancet, 366(9503), 2112- 2117.

Alzheimer's Disease International. (2013). Policy brief for G8 head to government: The global impact of dementia 2013-2050. London: Alzheimer's Disease International.

เสาวลักษณ์ ทาแจ้ง และคณะ. (2564). ปัจจัยส่วนบุคคลที่มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับปัจจัยเสี่ยงต่อภาวะสมองเสื่อมในผู้สูงอายุ ตำบลบ้านจั่น อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี. วารสารการแพทย์ โรงพยาบาลอุดรธานี, 29(2), 193-203.

วิชัย เอกพลากร (บรรณาธิการ). (2557). รายงานการสำรวจสุขภาพประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกายครั้งที่ 5 พ.ศ. 2557. นนทบุรี: สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข.

บรรลุ ศิริพานิช. (2559). สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2558. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2565). การสำรวจประชากรผู้สูงอายุในประเทศไทยปี พ.ศ. 2564. ม.ป.ท.

ศิราณี ศรีหาภาค, วัชรี อมรโรจน์วรวุฒิ, ณรงค์ คำอ่อน, พัฒนี ศรีโอษฐ์, พลอยลดา ศรีหานู, ทิพวรรณทับซ้าย. สถานการณ์ ปัญหา และความต้องการการดูแลผู้สูงอายุระยะยาวในชุมชนภายใต้กองทุนระบบ การดูแลระยะยาว จังหวัดขอนแก่น. วารสารศูนย์อนามัยที่ 9. 2564;15(36):44-62.

วิลาสิณี สุราวรรณ์. (2560). ความชุกของภาวะสมองเสื่อมและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะสมอเสื่อมในผู้สูงอายุ อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น.วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร มหาวิทยาลัยขอนแก่น,10(2),58-69.

นฤบดินทร์ รอดปั้น และคณะ. (2567). ความชุกและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะสมองเสื่อมของผู้สูงอายุที่เข้ารับการรักษาในแผนกผู้ป่วยใน อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น. วารสารศูนย์อนามัยที่ 9, 18(2), 459-472.

ศิราณี ศรีหาภาค, โกมาตร จึงเสถียรทรัพย์, & คณิศร เต็งรัง. (2557). ผลกระทบและภาระการดูแลผู้สูงอายุระยะยาวภายใต้วัฒนธรรมไทย. สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข, มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย.

จิรานันท์ สุริยะ, ศิวพร อึ้งวัฒนา, และวราภรณ์ บุญเชียง. (2562). การพัฒนาศักยภาพผู้ดูแลโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนในการคัดกรองภาวะสมองเสื่อมของผู้สูงอายุ. พยาบาลสาร, 46(22), 47-58.

World Health Organization. (2017, February 27). Global action plan on the public health response to dementia 2017-2025. https://www.who.int/https://publications/i/ item/global-action- plan-on-the public-health-response-to-dementia-2017-2025.

ศิราณี ศรีหาภาค, และธวัชชัย กฤษณะประกรกิจ. (2565). สมองเสื่อมกับการดูแลระดับปฐมภูมิ: คู่มือพัฒนาศักยภาพผู้จัดการ ดูแลและบุคลากรสุขภาพ การดูแลผู้สูงอายุสมองเสื่อมอย่างเพียงพอ (Sufficient Care for Dementia: SCD). นนทบุรี: มูลนิธิสังคมและสุขภาพ.

Ladson Hinton, Kaipeng Wang, Sue Levkoff, Komatra Chuengsatiansup, Siranee Sihapark, Thawatchai Krisanaprakornkit, Pariyasoot Intasuwan, Sirina Satthapisit, Dolores Gallagher-Thompson, Hongtu Chen. (2022). Dementia Neuropsychiatric Symptom Frequency, Severity, and Correlates in Community-Dwelling Thai Older Adults. The American Journal of Geriatric Psychiatry. 30 (8) : 883-891

Senanarong,V.,Assavisaraporn,S., Sivasiriyanonds, N., Printarakul, T., Jamjumrus, P., Udompunthuruk, S., & Poungvarin, N. (2001). The IQCODE: An Alternative Screening Test for Dementia for Low Educated Thai Elderly. Journal of the Medical Association of Thailand, 84(5), 648-655.

Cummings, J L., Mega, M., Gray, K., Rosenberg-Thompson, S.,Carusi,D. A., & Gornbein, J. (1994). The Neuropsychiatric Inventory: Comprehensive assessment of psychopathology in dementia. Neurology, 44(12), 2308-2314.

กลุ่มฟื้นฟูสภาพสมอง. (2536). แบบทดสอบสมรรถภาพสมองของไทย. สารศิริราช, 45(6), 359-374.

Wade, D. T., & Collin, C. (1988). The Barthel ADL Index: A standard measure of physical disability. International Disability Studies, 10(2), 64-67.

Borson, S., Scanlan, J. M., Chen, P., & Ganguli, M. (2003). The Mini-Cog as a screen for dementia: Validation in a population-based sample. Journal of the American Geriatrics Society, 51(10), 1451-1454.

Trongsakul, S., Lambert, R., Clark, A., Wongpakaran, N., & Cross, J. (2015). Development of the Thai version of Mini-Cog, a brief cognitive screening test.Geriatrics &Gerontology International, 15(5), 594-600.

Cummings, J.L., Mega, M., Gray, K., Rosenberg-Thompson, S.,Carusi, D.A., & Gornbein, J. (1994). The Neuropsychiatric Inventory: Comprehensive assessment of psychopathology in dementia. Neurology, 44(12), 2308-2314.

Bedard, M., Molloy, D. W., Squire, L., Dubois, S., Lever, J. A., & O'Donnell, M. (2001). The Zarit Burden Interview: A new short version and screening version. The Gerontologist, 41(5), 652-657.

Logsdon,R.G., Gibbons, L. E., McCurry, S. M., & Teri, L. (1999). Quality of life in Alzheimer's disease: Patient and caregiver reports. Journal of Mental Health and Aging, 5, 21–32.

ศิราณี ศรีหาภาค และคณะ. (2567). การพัฒนาศักยภาพผู้ดูแลในการคัดกรองภาวะสมองเสื่อมผู้สูงอายุในชุมชนโดยเครื่องมือ IQCODE. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์, 16 (2), 295- 313

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2563). รายงานการสำรวจประชากรผู้สูงอายุในประเทศไทย ปี พ.ศ. 2564 กรุงเทพฯ: สำนักงาน

สำนักอนามัยผู้สูงอายุ กรมอนามัย. คู่มือแนวทางการฝึกอบรมหลักสูตร ผู้จัดการการดูแลผู้สูงอายุ (Care Manager) กระทรวงสาธารณสุข. กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข.

Teri, L., Logsdon, R. G., McCurry, S. M., Pike, K. C., & McGough, E. L. (2020). Dementia prevention, intervention, and care: 2020 report of the Lancet Commission. The Lancet, 396(10248), 413-446.

ฤทธิรงค์ เรืองฤทธิ์ และพิสมัยศรีทำนา. (2567). ประสิทธิผลของโปรแกรมการดูแลผู้ สูงอายุสมองเสื่อมอย่างเพียงพอในการสนับสนุนผู้ดูแลหลักในครอบครัว. วารสารศูนย์อนามัยที่ 7 ขอนแก่น, 16(1), 77-92.

พิสมัย ศรีทำนา, และฤทธิรงค์ เรืองฤทธิ์. (2566). พัฒนารูปแบบการดูแลผู้สูงอายุสมองเสื่อมในระบบการดูแลระยะยาวโดยการมีส่วนร่วมของครอบครัวและชุมชน จังหวัดมหาสารคาม. วารสารวิจัยและพัฒนานวัตกรรมทางสุขภาพ, 4(3), 192-202.

ดุจปรารถนา พิศาลสารกิจ, ปิติพร สิริทิพากร และวีรศักดิ์ เมืองไพศาล (2563) ผลของโปรแกรมการอบรมผู้ดูแลต่อคุณภาพชีวิตและความรู้สึกเป็นภาระของผู้ดูแลผู้ป่วยที่มีภาวะสมองเสื่อม. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ, 38(2), 63-72.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-31

How to Cite

พลลาภ ด. . ., ศรีหาภาค ศ., & ขันบำรุง ป. (2024). การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้สูงอายุสมองเสื่อมอย่างเพียงพอ ของเครือข่ายบริการสุขภาพปฐมภูมิ อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น. วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน, 9(6), 493–503. สืบค้น จาก https://he03.tci-thaijo.org/index.php/ech/article/view/3606