การพัฒนาระบบบริหารจัดการองค์กร ด้วยเกณฑ์การพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ (PMQA) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการเฝ้าระวัง ป้องกันควบคุมโรคและภัยสุขภาพ
คำสำคัญ:
บริหารจัดการองค์กร, คุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ (PMQA), ป้องกันควบคุมโรคบทคัดย่อ
การวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) นี้ มีวัตถุประสงค์ในการพัฒนาระบบบริหารจัดการองค์กร ให้ได้ตามเกณฑ์การพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ (PMQA) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการเฝ้าระวัง ป้องกันควบคุมโรคและภัยสุขภาพ ของสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 8 จังหวัดอุดรธานี กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ผู้บริหาร หัวหน้ากลุ่มงาน และคณะทำงานพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐของหน่วยงาน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบเก็บข้อมูลการประเมินจากระบบ DDC PMQA 4.0 กรมควบคุมโรค แบบสัมภาษณ์เชิงลึกรายบุคคล และแบบบันทึกข้อมูลการสนทนากลุ่ม การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ด้วยสถิติพรรณนา โดยใช้จำนวน ร้อยละ ข้อมูลเชิงคุณภาพ วิเคราะห์จากเนื้อหาของข้อมูล
ผลการวิจัยพบว่า ช่องว่างในการพัฒนา คือ ขาดการคาดการณ์ผลการดำเนินงานและผลกระทบที่จะเกิดขึ้น ให้ครอบคลุมทั้งเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม และสาธารณสุข เพื่อนำไปสู่การวางแผนยุทธศาสตร์เพื่อรองรับความท้าทายที่จะเกิดขึ้นกับหน่วยงาน ขาดการจำแนกกลุ่มผู้รับบริการผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และการประเมินความต้องการและความผูกพันที่ชัดเจน ขาดความชัดเจนในการระบุนวัตกรรม และเตรียมความพร้อมด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ ขาดกระบวนการ แนวทาง กลไกเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของบุคลากรที่ชัดเจน และขาดการปรับปรุงกระบวนการทำงานเพื่อลดต้นทุน และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน หน่วยงานมีคะแนนการประเมินตามเกณฑ์หมวด 1 - 6 ซึ่งเป็นหมวดกระบวนการที่หน่วยงานได้พัฒนาการดำเนินการในปี พ.ศ. 2566 มีผลคะแนนเพิ่มขึ้นจากปี พ.ศ. 2565 ในหมวด 1-5 และ หมวด 6 คะแนนคงเดิม
References
สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 8 จังหวัดอุดรธานี. (2565). รายงานประจำปี 2565 [อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 21 ธันวาคม 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://ddc.moph.go.th/odpc8/news.php?news=41285&deptcode=
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ. (2565). การพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ. [อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 15 ตุลาคม 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://www.opdc.go.th/content/Nzc
กลุ่มติดตามและประเมินผล กองยุทธศาสตร์และแผนงาน กรมควบคุมโรค. (2565). รายงานประจำปี 2565 กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข [อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 21 ธันวาคม 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://anyflip.com/dikfw/mxhw
Kemmis, S & Mc Taggart, R. (1988). The Action Research Planer (3rd ed.). Victoria: Deakin University.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ. (2563). คู่มือการตรวจสอบความพร้อมสำหรับการดำเนินการตามเกณฑ์ PMQA 4.0. [อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 10 ธันวาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก:https://psdg.anamai.moph.go.th/th/cms-of-59/211543
ปกิต มูลเพ็ญ และอติพร เกิดเรือง. (2564). ประสิทธิผลการดำเนินงานเพื่อเป็นองค์การสมรรถนะสูงของกองบังคับการสายตรวจและปฏิบัติการพิเศษ กองบัญชาการตำรวจนครบาล. วารสาร มจร.อุบลปริทรรศน์. 6(2), 49-62.
กลุ่มพัฒนาระบบบริหาร กรมควบคุมโรค. (2565). คูมือการตรวจสอบความพรอมสำหรับการดำเนินการตามเกณฑ PMQA 4.0 (PMQA 4.0 Checklist) กรมควบคุมโรค (ฉบับปรับปรุง). [อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 10 ธันวาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://ddc.moph.go.th/uploads/publish/1275220220829050646.pdf
สุชาติ อนันตะ. (2563). การพัฒนารูปแบบการนิเทศงานสาธารณสุขโดยการประยุกต์ใช้เกณฑ์การพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ (PMQA) สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยะลา. วารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยทักษิณ. 2(1), 31-40.
สถาบันส่งเสริมการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ. (2564). รายงานการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐสู่ระบบราชการ 4.0 (PMQA 4.0) ของสำนักงานปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564. [อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 18 ธันวาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://pdg.industry.go.th/th/reprotpmqa4-0
ปัทมภรณ์ กุลทอง และนิตยา สินเธาว์. (2566). แนวทางการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ 4.0 (PMQA 4.0) ของศูนย์การทหารราบ ค่ายธนะรัชต์ อำเภอปราณบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์. วารสารมนุษยสังคมปริทัศน์. 25(1), 166-179.
มโนชัย สุดจิตร. (2560). การบูรณาการบริหารความเสี่ยงทั่วทั้งองค์การกับการจัดการ คุณภาพภาครัฐ: กรณีศึกษากรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. วารสารสถาบันพระปกเกล้า 15(2), 116-135.
อังคณา แย้มนิล. (2564). การพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ (PMQA) ในการบริหารองค์กร ภายใต้นโยบาย Thailand 4.0 ของหน่วยงานในสังกัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม.วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม. 8(1), 108-122.
อําพร มณีเนียม, ศดานนท์ วัตตธรรม, ประลอง นนท์ณรงค์ และรังสรรค์ วัฒนาชัยวณิช. (2564). การพัฒนาศักยภาพการบริหารจัดการภาครัฐ.วารสารมหาจุฬาตานีปริทรรศน์ ปริทรรศน์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. 3(6), 23-28.
สมศักดิ์ วาณิชวศิน. (2562). แนวทางสู่ความเป็นเลิศของสำนักงาน กสทช. ผ่านการประยุกต์ใช้มาตรฐานรางวัลคุณภาพแห่งชาติ.วารสารกิจการสื่อสารดิจิทัล. 3(3), 196-216.