การพัฒนาแบบวัดคุณภาพชีวิตประชาชน

ผู้แต่ง

  • อังคณา วังทอง พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ โรงพยาบาลหนองจิก จังหวัดปัตตานี
  • อนุชิต วังทอง นายแพทย์เชี่ยวชาญ (ผู้อำนวยการ) โรงพยาบาลหนองจิก จังหวัดปัตตานี
  • ไพบูลย์ งามสกุลพิพัฒน์ นักสาธารณสุขชำนาญการ (หัวหน้ากลุ่มงานบริการด้านปฐมภูมิและองค์รวม) โรงพยาบาลหนองจิก จังหวัดปัตตานี

คำสำคัญ:

การพัฒนา, คุณภาพชีวิต, ประชาชน

บทคัดย่อ

     การศึกษานี้เป็นการวิจัยและพัฒนา เพื่อพัฒนาและศึกษาผลของแบบวัดคุณภาพชีวิตประชาชน จังหวัดปัตตานี (QOL-NongChik) ปีงบประมาณ 2565-2566 จากการทบทวนหลักฐานเชิงประจักษ์ ตามขั้นตอนการพัฒนาแนวทางการจัดคุณภาพและวงจรเดมมิ่ง (Deming cycle: PDCA) และขั้นตอนการสร้างแนวปฏิบัติทางการพยาบาล ประกอบด้วย 4 ระยะ ได้แก่ 1) การพัฒนาและตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาของแบบวัดคุณภาพชีวิต 2) ความเป็นไปได้ของการนำแบบวัดคุณภาพชีวิตไปใช้ 3) การศึกษาผลของแบบวัดคุณภาพชีวิตประชาชนและ 4) การปรับปรุง เผยแพร่และขยายผลของแบบวัดคุณภาพชีวิตประชาชน กลุ่มตัวอย่าง คือ ประชาชนในเขตพื้นที่อำเภอหนองจิก จำนวน 500 คน แบ่งเป็น 4 กลุ่มวัย (ช่วงอายุ) ได้แก่ กลุ่มปฐมวัย (ช่วงอายุ 0-5 ปี) ฉบับผู้ปกครอง, กลุ่มวัยเรียนและวัยรุ่น (ช่วงอายุ 6-14 ปี) ฉบับผู้ปกครองและฉบับประเมินตนเอง, กลุ่มวัยทำงาน (ช่วงอายุ 15-59 ปี) ฉบับประเมินตนเอง และกลุ่มวัยผู้สูงอายุ (ช่วงอายุ 60 ปีขึ้นไป) ฉบับประเมินตนเองหรือผู้ดูแลประเมิน คัดเลือกแบบเจาะจงและยินดีเข้าร่วมวิจัย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย 2 ส่วน คือ แบบสอบถามข้อมูลทั่วไปและแบบวัดคุณภาพชีวิตประชาชน จังหวัดปัตตานี (QOL-NongChik) วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนาและทดสอบทีคู่ (Paired t-test)
     ผลการศึกษา พบว่า 1) แบบวัดคุณภาพชีวิตประชาชน จังหวัดปัตตานี (QOL-NongChik) มีองค์ประกอบ 4 ด้านคือ ด้านร่างกาย ด้านจิตใจ ด้านสัมพันธภาพทางสังคมและ ด้านสิ่งแวดล้อม 2) ความเป็นไปได้ของการนำแบบวัดคุณภาพชีวิตไปใช้ พบว่า ผู้ใช้แบบวัดคุณภาพชีวิตประชาชนตามกลุ่มวัย ช่วงอายุ ระบุว่า แบบวัดคุณภาพชีวิตประชาชนที่พัฒนา มีความสะดวกและสามารถนำไปปฏิบัติได้ง่ายและมีความพึงพอใจต่อการใช้แบบวัดคุณภาพชีวิตประชาชน อยู่ในระดับมากที่สุด (คะแนน 9.3) 3) ผลของแบบวัดคุณภาพชีวิตประชาชน จังหวัดปัตตานี (QOL-NongChik) พบว่า ทุกกลุ่มวัยมีระดับคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 (t=8.917), (t=15.125), (t=2.331), (t=7.598) และ (t=13.978) ตามลำดับ และ 4) ได้ประกาศเป็นนโยบายในการพัฒนาคุณภาพชีวิต ไปใช้ในการวัดระดับคุณภาพชีวิตประชาชน และจดลิขสิทธิ์รับรองผลงานจากกรมทรัพย์สินทางปัญญา เลขที่ ว.044432 ประเภทงาน วรรณกรรม ลักษณะงาน งานนิพนธ์

References

Bureau of Mental Health Promotion and Development, Department of Mental Health, Ministry of Public Health. Guidelines for mental health operations in health systems at the district level. Bangkok: Beyond Publishing Company Limited, 2017. (in Thai)

Waewwanchuea, S. Factors Affecting the Quality of Life of Muslim Elderly in Prawet District, Bangkok. Master of Arts Thesis Kasetsart University, 2012.

Department of Mental Health, Ministry of Public Health. Manual for mental health at district level. Bangkok: Beyond Publishing Company Limited, 2013. (in Thai)

The committee on the development of nursing practice guidelines for health promotion for professional nurses. Nursing guidelines for health promotion for on-site professional nurses Primary health care Secondary level and Tertiary level. Nonthaburi: Mata Printing Company Limited, 2017.

World Health Organization (WHO). Quality of life indicators of the World Health Organization, Thai version (WHOQOL-BREF-THAI), 1997.

Suphachutikul, A. Arranging and crystallizing the concept of quality. The basis for building trust. Nonthaburi: Institute for Quality Assurance of Healthcare Facilities. (Public Organization), 2021.

Tiloksakulchai, F. Nursing practice based on evidence-based principles and practices. Bangkok: Pre-One Limited Partnership, 2006.

Thongkasem, K. Quality of life of village fund members: a case study of Ang-Thong province. Master of Arts-Master Degree Social Development Branch Faculty of Social Development National Institude of Development Administration, 2003.

Kaewdu, S. Quality of life according to sufficiency economy and quality of life. In the work of the people of One Tambon One Product Project, Hin How Subdistrict, Lom Kao District Phetchaboon. Master of Business Administration Program in General Management Chandrakasem Rajabhat University, 2007.

Mechamnan, S. Laksananurak, S. Quality of life of people in Nakhonchaisri district Nakhon Pathom province. Silpakorn Educational Research Journal, 2010. 1(2). 269-281. (in Thai)

Kue-iad, N. Chaimay, B. Worade, S. Early Childhood Development among Thai Children Aged Under 5 Years: A Literature Review. The Southern College Network Journal of Nursing and Public Health, 2018. 5(1). 281-196. (in Thai)

Theprak, S., Mukdakasem, P., Suebnuch, J. & Jaturaperm, J. Study of Parents’ Parenting Factors and Community Participation in Promoting Growth and Early Child Development, Health Zone 4 and 5. Maternal and Child Health, Health Promotion Group, Health Center 4 Ratchaburi, Department of Health, Ministry of Public Health, 2014. Retrieved August, 14 2016, from hpc4.go.th/rcenter //_fulltext/ 201403311030241551/20140403134122_548.pdf. (in Thai).

Charoensiri, W. Bangkok Health Information Center. http://www.bangkokhealth.com/author%B4. (Search date 27/02/2019).

Mental Health Promotion and Development Divition. http://sorporson.com. (Search date 27/02/2019)

Waraasawapati, K. Phono, K. Lamyai, W. Imkam, E. Development of Quality of Life test for primary caregivers of schizophrenic patients. Journal of the psychiatric association of Thailand 2017. 62(3): 233-246. (in Thai)

Surakarn, A., Arin, N. Mental Health Care: Community Participation. Srinakharinwirot University Journal (Science and Technology Program), 2014. 6(12), 176-184. (in Thai)

Noknoi, J. Boriphan, W. The Quality of Life of Elders in Songkhla Province. Princess of Naradhiwas University Journal, 2017. 9(3), 94-105. (in Thai)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-31

How to Cite

วังทอง อ. ., วังทอง อ. ., & งามสกุลพิพัฒน์ ไ. . (2024). การพัฒนาแบบวัดคุณภาพชีวิตประชาชน. วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน, 9(6), 99–112. สืบค้น จาก https://he03.tci-thaijo.org/index.php/ech/article/view/3618