รูปแบบการเสริมสร้างการจัดการขยะตำบลนาคำ อำเภอคำเขื่อนแก้ว จังหวัดยโสธร

ผู้แต่ง

  • บัณดิษฐ สร้อยจักร นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนาคำ อำเภอคำเขื่อนแก้ว จังหวัดยโสธร

คำสำคัญ:

การจัดการขยะ, 3R

บทคัดย่อ

     การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Research) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการจัดการขยะและปริมาณขยะของชุมชนในตำบลนาคำ อำเภอคำเขื่อนแก้วและรูปแบบการเสริมสร้างการจัดการขยะตำบลนาคำ อำเภอคำเขื่อนแก้ว มีระยะเวลาในการศึกษาระหว่าง เดือน สิงหาคม 2567 ถึง เดือนพฤศจิกายน 2567 รวม 4 เดือน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ตัวแทนครัวเรือนชุมชนในตำบลนาคำ อำเภอคำเขื่อนแก้ว โดยการเจาะจง จำนวน 462 คน ตามเกณฑ์คัดเข้า เก็บข้อมูลจากแบบสอบถามและแบบบันทึกปริมาณขยะ วิเคราะห์ข้อมูล โดยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (Content Analysis) ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ Dependent t – test
     ผลการศึกษา พบว่า พฤติกรรมการจัดการขยะในชุมชนของตัวแทนครัวเรือน ตำบลนาคำ อำเภอคำเขื่อนแก้ว ก่อนดำเนินการ โดยรวมและรายด้าน อยู่ในระดับมาก หลังดำเนินการ โดยรวมและรายด้าน อยู่ในระดับมากที่สุด พฤติกรรมการจัดการขยะในชุมชนของตัวแทนครัวเรือน ตำบลนาคำ อำเภอคำเขื่อนแก้ว ก่อนและหลังการดำเนินการ พบว่า มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยที่ พฤติกรรมการจัดการขยะในชุมชนของตัวแทนครัวเรือน ตำบลนาคำ อำเภอคำเขื่อนแก้ว หลังดำเนินการดีกว่าก่อนดำเนินการ และผลการจัดการขยะในชุมชนของตัวแทนครัวเรือน ตำบลนาคำ อำเภอคำเขื่อนแก้ว หลังการดำเนินงาน มีการจัดการขยะได้มากขึ้น

References

Katharina Buchholz.(2022). A World of Waste. https://www.statista.com/chart/18732/waste-generated-country/

Bruna Alves.(2024). Global waste generation - statistics & facts. https://www.statista.com/topics/4983/waste-generation-worldwide/#topicOverview

กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. (2560). คู่มือชุมชนปลอดขยะ ZERO WASTE. กองส่งเสริมและเผยแพร่ กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อมกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

กรมควบคุมมลพิษ (2565). รายงานสถานการณ์สถานที่กาจัดขยะมูลฝอย ของประเทศไทย ปี พ.ศ. 2565. ส่วนขยะมูลฝอยชุมชน กองจัดการกากของเสียและสารอันตราย กรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม.

กรมควบคุมมลพิษ (2561). คู่มือปฏิบัติการ 3 ใช้ (3R) เพื่อจัดการขยะชุมชน. http://www.pcd.go.th/file/06-09-61/16.pdf

เนทิยา กรีธาชาติ Zero waste แนวคิดขยะเหลือศูนย์. https://www.up.ac.th/TH/NewsReadBlog2.aspx?itemID=245847. องค์การบริหารส่วนตำบลนาคำ (2565). ปริมาณขยะและการจัดการขยะ องค์การบริหารส่วนตำบลนาคำ12. เอนก ฝ่ายจำปา.(2563). การพัฒนารูปแบบการจัดการขยะแบบมีส่วนร่วมขององค์การบริหารส่วนตำบลจอมศรี อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย. วารสารวิชาการสาธารณสุขชุมชนปีที่ 6 ฉบับที่ 2 เมษายน –มิถุนายน 2563. 124-42

กรมควบคุมมลพิษ (2563). เอกสารการฝึกอบรมหลักสูตร “เทคโนโลยีและการบริหารจัดการขยะมูลฝอย”. https://www.pcd.go.th/garbage/เอกสารการฝึกอบรมหลักสูตร/

สำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 2 ลำปาง.(2564). คู่มือหรับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น การจัดการขยะมูลฝอยชุมชนอย่างครบวงจร. ส่วนส่งเสริมการจัดการสิ่งแวดล้อม สำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 2 ลำปาง

อนันต์ ปุรินทะ.(2566). การส่งเสริมพฤติกรรมการจัดการขยะในชุมชนของแกนนาชุมชน ตามหลัก 3 R ตาบลภูสิงห์ อำเภอสหัสขันธ์ จังหวัดกาฬสินธุ์. วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อม และสุขภาพชุมชน ปีที่ 8 ฉบับที่ 1 มกราคม – เมษายน 2566 198-204

นิตยา มูลปินใจ.(2565). การพัฒนารูปแบบการจัดการขยะอย่างมีส่วนร่วมของชุมชน: กรณีศึกษา เทศบาลตำบลไหล่หิน อำเภอเกาะคา จังหวัดลำปาง. วารสารวชิ าการมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี ปีที่ 10 ฉบับที่ 1 มกราคม – มิถุนายน 2565 118-37

บุญส่ง อยู่นุ่น.(2566). พฤติกรรมการจัดการขยะมูลฝอยในครัวเรือนของประชาชนตำบลคูหาใต้ อำเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลา. รายงานวิจัย โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านทุ่งมะขาม ตำบลคูหาใต้ อำเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลา สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสงขลา

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-31

How to Cite

สร้อยจักร บ. (2024). รูปแบบการเสริมสร้างการจัดการขยะตำบลนาคำ อำเภอคำเขื่อนแก้ว จังหวัดยโสธร. วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน, 9(6), 124–131. สืบค้น จาก https://he03.tci-thaijo.org/index.php/ech/article/view/3621