ผลของโปรแกรมการสนทนาแบบสร้างแรงจูงใจเพื่อสนับสนุนการจัดการตนเองในการควบคุมความดันโลหิตของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่ควบคุมไม่ได้ต่อพฤติกรรมสุขภาพและระดับความดันโลหิต คลินิกความดันโลหิตสูง งานผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลเขาวง

ผู้แต่ง

  • จันทร์ทิต เพียรภายลุน พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ โรงพยาบาลเขาวง จังหวัดกาฬสินธุ์
  • ยุวดี คาดีวี พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ โรงพยาบาลเขาวง จังหวัดกาฬสินธุ์
  • พนิตา จิตจักร พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ โรงพยาบาลเขาวง จังหวัดกาฬสินธุ์

คำสำคัญ:

ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่ควบคุมไม่ได้, การสนทนาสร้างแรงจูงใจ, การจัดการตนเองพฤติกรรมสุขภาพ

บทคัดย่อ

     การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองแบบกลุ่มเดียว วัดก่อนและหลังได้รับโปรแกรมการสนทนาแบบสร้างแรงจูงใจฯ (The One Group Pretest Posttest Design) เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการสนทนาแบบสร้างแรงจูงใจเพื่อสนับสนุนการจัดการตนเองในการควบคุมความดันโลหิตของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่ควบคุมไม่ได้ต่อพฤติกรรมสุขภาพและระดับความดันโลหิต ดำเนินระหว่างเดือนสิงหาคม ถึงเดือนธันวาคม 2567 ประชากร คือ ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่ควบคุมไม่ได้ ที่มารับการรักษาที่คลินิกความดันโลหิตสูง งานผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลเขาวง จำนวน 30 ราย คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง (purposive sampling) เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วยโปรแกรมการสนทนาแบบสร้างแรงจูงใจเพื่อสนับสนุนการจัดการตนเองในการควบคุมความดันโลหิตของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่ควบคุมไม่ได้ โดยมีการสนทนาจำนวน 4 ครั้ง แต่ละครั้งห่างกัน 1 เดือน ผ่านกิจกรรมการส่งเสริมการจัดการตนเองอย่างต่อเนื่องตลอด 12 สัปดาห์ แบบบันทึกการสนทนาสร้างแรงจูงใจ คู่มือการจัดการตนเอง แบบบันทึกการปฏิบัติในการจัดการตนเองของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่ควบคุมไม่ได้ สื่อวีดีทัศน์ให้ความรู้ 2 เรื่อง เครื่องวัดความดันโลหิตมาตรฐานชนิดปรอทดิจิตอล แบบบันทึกการสนทนาสร้างแรงจูงใจ แบบสอบถามพฤติกรรมสุขภาพ และแบบบันทึกระดับความดันโลหิตก่อนรับโปรแกรม จบโปรแกรมทันที วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา จำนวนร้อยละ ค่าเฉลี่ย สถิติทดสอบ paired sample t-test
     ผลการวิจับ พบว่า ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่ควบคุมไม่ได้ภายหลังเข้าร่วมโปรแกรมการสนทนาแบบสร้างแรงจูงใจเพื่อสนับสนุนการจัดการตนเองในการควบคุมความดันโลหิตของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่ควบคุมไม่ได้ มีคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมสุขภาพสูงก่อนเข้าร่วมโปรแกรมการสนทนาแบบสร้างแรงจูงใจฯ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p< .01) และพบว่า ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่ควบคุมไม่ได้ ภายหลังเข้าร่วมโปรแกรมการสนทนาแบบสร้างแรงจูงใจฯ มีระดับความดันโลหิตต่ำกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรมการสนทนาแบบสร้างแรงจูงใจฯ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p< .05)

References

World Health organization. (2022). World health statistics 2018: monitoring health for the SDGs, sustainable development goals. Geneva: World Health Organization; 2022.

กองโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2565). ข้อมูลการสำรวจสุขภาพประชาชนไทย (NHES) ครั้งที่ 6.

ธาริณี พังจุนันท์ และนิตยา พันธุเวทย์. (2556). ประเด็นสารรณรงค์วันความดันโลหิตสูงโลก 2556. Retrieved 2024 May 23 from http://thaincd.com/document/file/news/announce -ment/_message % 20HT%2012%2004%2012_update.pdf

สมาคมความดันโลหิตสูงแห่งประเทศไทย (2558).ความหมายความดันโลหิตสูง (Hypertension).

โรงพยาบาลเขาวง. (2566). สถิติคลินิกความดันโลหิตสูง งานผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลเขาวง

อัญชลี เกาะอ้อม. (2560). ผลของโปรแกรมการสร้างแรงจูงใจร่วมกับการออกกำลังกายต่อความดันโลหิตของกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง. วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Kanfer, F. H., & Gaelick-Buys, L. (1991). Self-management methods. In F. Kanfer & A. Goldtein (Eds.), Helping people change: A text book of methods. (4th ed.). New York: Pergamonpress

สมใจ จางวาง, เทพกร พิทยภินัน, และนิรชร ชูติพัฒนะ. (2559). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลตนเอง เพื่อป้องกันโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงของประชาชนกลุ่มเสี่ยง.วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้, 3(1), 110-128.

ศีริวัฒน์ วงค์พุทธคา. (2552). ผลของการจัดการตนเองต่อพฤติกรรมสุขภาพและความดันโลหิตของผู้ป่วยความดันโลหิตสูง. พยาบาลสาร, 36(3), 125-136.

จันทร์เพ็ญ หวานคำ, ชดช้อย วัฒนะ และ ศิริพร ขัมภลิขิต. (2558). ผลของโปรแกรมการจัดการตนเองต่อพฤติกรรมการควบคุมโรคความดันโลหิตสูงและค่าเฉลี่ยความดันหลอดเลือดแดงของผู้ที่เป็นโรคความดันโลหิตสูง. พยาบาลสาร, 42(1), 49-60.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-31

How to Cite

เพียรภายลุน จ. . ., คาดีวี ย. . ., & จิตจักร พ. . (2024). ผลของโปรแกรมการสนทนาแบบสร้างแรงจูงใจเพื่อสนับสนุนการจัดการตนเองในการควบคุมความดันโลหิตของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่ควบคุมไม่ได้ต่อพฤติกรรมสุขภาพและระดับความดันโลหิต คลินิกความดันโลหิตสูง งานผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลเขาวง. วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน, 9(6), 132–143. สืบค้น จาก https://he03.tci-thaijo.org/index.php/ech/article/view/3622