ประสิทธิผลของโปรแกรมการสนับสนุนครอบครัวต่อการส่งเสริมความร่วมมือในการรักษาด้วยยาของผู้ป่วยโรคจิตเภทในชุมชน โรงพยาบาลเขาวง
คำสำคัญ:
พฤติกรรมความร่วมมือในการรับประทานยา, ผู้ป่วยโรคจิตเภท, การสนับสนุนครอบครัวบทคัดย่อ
การวิจัยนี้เป็นรูปแบบวิจัยเป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลอง (Quasi Experimental Research) แบบกลุ่มเดียว วัดก่อนและหลังการทดลอง (The One Groups, Pre-test, Post-test Design) เพื่อศึกษามีการทดสอบวัดผลก่อนและหลังการทดลอง เพื่อศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมการสนับสนุนครอบครัวต่อการส่งเสริมความร่วมมือในการรักษาด้วยยาของผู้ป่วยโรคจิตเภทในขุมชน โรงพยาบาลเขาวง ประชากรกลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยจิตเภทที่มีพฤติกรรมความไม่ร่วมมือในการรับประทานยาที่เข้ารับการรักษาโรงพยาบาลเขาวง และผู้ดูแลที่บ้าน เลือกแบบเจาะจง ระหว่างเดือนมิถุนายน 2567 - เดือนสิงหาคม 2567 เครื่องมือที่ใช้ในการคัดเลือกกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ แบบประเมินอาการทางจิต แบบวัดพฤติกรรมการใช้ยาตามเกณฑ์การรักษา เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล แบบประเมินพฤติกรรมการใช้ยาตามเกณฑ์การรักษา แบบวัดความพึงพอใจสำหรับผู้ป่วยโรคจิตเภท แบบบันทึกร้อยละอาการกำเริบ และแบบบันทึกร้อยละการกลับมารักษาซ้ำ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา และสถิติ t-test
ผลการวิจัย พบว่า ผลการเปรียบเทียบความแตกต่างของคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมความร่วมมือในการรับประทานยา ก่อนการดำเนินโปรแกรมฯ และหลังสิ้นสุดโปรแกรมฯ โดยใช้สถิติ t-test พบว่า คะแนนเฉลี่ยของพฤติกรรมความร่วมมือในการรับประทานยาก่อนและหลังการดำเนินโปรแกรมฯมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t = - 20.89; p = .000) โดยที่คะแนนเฉลี่ยของพฤติกรรมความร่วมมือในการรับประทานยาหลังสิ้นสุดโปรแกรมฯ สูงกว่าก่อนการดำเนินโปรแกรมฯ (Mean = 79.33, SD =3.36) อาการกำเริบจากการขาดความร่วมมือในการรักษาด้วยยาของผู้ป่วยโรคจิตเภทหลังการใช้โปรแกรมฯ มีอาการทางจิตอยู่ในเกณฑ์ปกติ จำนวน 4 คน คิดเป็นร้อยละ 18.18 และมีอาการทางจิต จำนวน 18 คน คิดเป็นร้อยละ 81.82 ไม่พบผู้ป่วยโรคจิตเภทที่มีอาการกำเริบซ้ำและกลับมารักษาซ้ำในโรงพยาบาล คิดเป็นร้อยละ 100 และผู้ป่วยโรคจิตเภทมีความพึงพอใจในระดับปานกลาง จำนวน 4 คน คิดเป็นร้อยละ 18.18 และมีความพึงพอใจระดับมาก จำนวน 18 คน คิดเป็นร้อยละ 81.82
References
กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. (2561). แนวทางการดูแลผู้ป่วยจิตเวชฉุกเฉิน (Acute Care) สำหรับหน่วย บริการสาธารณสุข (ระดับ A, S, M1 และ M2) ฉบับทดลองใช้. บียอนด์ พับลิสซิ่ง.
กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือการดูแลผู้ป่วยจิตเวชเรื้อรังกลุ่มเสี่ยงในชุมชนสำหรับบุคลากรของหน่วยบริการระดับปฐมภูมิ. กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนจำกัดแสงจันทร์การพิมพ์; 2559.
โรงพยาบาลเขาวง. (2566). รายงานผู้ป่วยโรงพยาบาลเขาวง. โปรแกรม HospXP. กาฬสินธุ์: โรงพยาบาลเขาวง.
สินเงิน สุขสมปอง, ดุษฏี อุดมอิทธิพงศ์, พลภัทร์ โล่เสถียรกิจ. (2016). ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการกลับเป็นซ้ำในผู้ป่วยโรคจิตครั้งแรก. J Psychiatr Assoc Thail [Internet]. 2016; 61(4): 331–40.
ขจีรัตน์ ปรักเอโก และคณะ. (2559).คู่มือการดูแลผู้ป่วยจิตเวชในชุมชนสำหรับบุคลากรในหน่วยบริการระดับปฐมภูมิ. กรุงเทพมหานคร: ห้างหุ้นส่วนจำกัด แสงจันทร์การพิมพ์.
กายสิทธิ์ แก้วยาศรี. (2565). การพัฒนารูปแบบการเฝ้าระวัง คัดกรองและดูแลผู้ป่วยจิตเวชในชุมชน จังหวัดเลย. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ;15(2):328-42
เปรมฤดี ด้ารักษ์, อังคณา วังทอง, อนุชิต วังทอง. (2557). การมีส่วนร่วมของชุมชนในการดูแลผู้ป่วยจิตเภทเรื้อรังซับซ้อน อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี. สมาคมนักวิจัย. 2557; 19(2): 92–103.
อรสา วัฒนศิร, เสาวภา ศรีภูสิตโต. The Development of Process of Continuity Care in Schizophrenia Patient by Interdisciplinary Team and Care Giver Network of Kamphaeng Phet Hospital. กองการพยาบาล. 2556;40(1): 67–83.
Posri A. (2018). Family and Community Participation in Caring of Chronic Schizophrenic Patients: Study of Nongnasang Community. J R Thai Army Nurses. 2018; 19(August): 239–47
The International Classification of Diseases and Related Health Problem 10th Reversion [ICD-10] (World Health Organization [WHO], 1994
สรินทร เชี่ยวโสธร. (2545). ผลของการเสริมสร้างพลังอา นาจในผู้ป่วยจิตเภทต่อพฤติกรรมการใช้ยาตามเกณฑ์การรักษา (วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช). บัณฑิตวิทยาลัย, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Faul, F., Erdfelder, E., Lang, A. G., & Buchner, A. (2007). G*Power 3: A flexible statistical power analysis program for the social, behavioral, and biomedical sciences. Behavior Research Methods, 39, 175-191
จันทร์เพ็ญ สุทธิชัยโชติ, สุกฤติยา กุลศรี, และวัฒานาภรณ์ พิบูลย์อาลักษณ์. (2556). ผลของการเสริมสร้างแรงจูงใจผู้ป่วยจิตเภทในการใช้ยาตามเกณฑ์การรักษา สถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา.
Overall, J. E., & Gorham, D. R., (1962). The brief psychiatric rating scale. Schizophrenia Report, 10, 799-812.Peterson, 1983
พันธุ์นภา กิตติรัตนไพบูลย์. (2546). Brief psychotric rating scale (BPS). ไม่ปรากฏสถานที่พิมพ์
เพชรี คันธสายบัว. (2544). การวิเคราะห์ตัวแปรจำแนกกลุ่มผู้ป่วยจิตเภทที่ป่วยซ้ำและไม่ป่วยซ้ำ. ปริญญาพยาบาลศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Farragher, B. (1999). Treatment compliance in the mental health service. Iris Medication Journal, 92(6), 392-394.
สุกฤติยา กุลศรี, และ เพ็ญนภา แดงด้อมยุทธ์. (2552). การใช้โปรแกรมสุขภาพจิตศึกษาที่เน้นการเสริมสร้างแรงจูงใจต่อพฤติกรรมการใช้ยาตามเกณฑ์การรักษาของผู้ป่วยจิตเภท. วารสารสถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา, 3(2), 31-41.
De Sousa, A., Kurvey, A., & Sonavane, S. (2012). Family psycho education for schizophrenia: A Clinical Review. Retrieved from http://www.mjpsychiatry.org/index.php/mjp/article/ viewFile/196/155.pdf
วารุณี ทับแสง. (2554). ประสิทธิผลของการใช้โปรแกรมการดูแลผู้ป่วยจิตเวชโดยครอบครัวเพื่อส่งเสริมความร่วมมือในการรักษาด้วยยาของผู้ที่เป็นโรคจิตเภท โรงพยาบาลชนแดน จังหวัดเพชรบูรณ์ (การค้นคว้าแบบอิสระพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช). บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
Acosta, F. J., Hernández, J. L., Pereira, J., Herrera, J., & Rodríguez, C. J. (2012). Medication adherence in schizophrenia. World Journal of Psychiatry, 2(5), 74-82.doi:10.5498/wjp.v2.i5.74