รูปแบบการเสริมสร้างความเข้าใจในการดำเนินงานชุมชนน่าอยู่ของแกนนำชุมชน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านขมิ้น ตำบลผาเสวย อำเภอสมเด็จ จังหวัดกาฬสินธุ์
คำสำคัญ:
ความเข้าใจ, ชุมชนน่าอยู่, แกนนำชุมชนบทคัดย่อ
การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเข้าใจในการดำเนินงานชุมชนน่าอยู่ของแกนนำชุมชน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านขมิ้น ตำบลผาเสวย อำเภอสมเด็จ จังหวัดกาฬสินธุ์ และศึกษารูปแบบการเสริมสร้างความเข้าใจในการดำเนินงานชุมชนน่าอยู่ของแกนนำชุมชน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านขมิ้น ตำบลผาเสวย อำเภอสมเด็จ จังหวัดกาฬสินธุ์ มีระยะเวลาในการศึกษาระหว่าง เดือน กันยายน 2567 ถึง เดือนธันวาคม 2567 รวม 4 เดือน เก็บข้อมูลจากแบบสอบถาม และเวชระเบียน วิเคราะห์ข้อมูล โดยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (Content Analysis) ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ Dependent t – test
ผลการศึกษา ความเข้าใจในการดำเนินงานชุมชนน่าอยู่ของแกนนำชุมชน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านขมิ้น ตำบลผาเสวย อำเภอสมเด็จ จังหวัดกาฬสินธุ์ ก่อนการดำเนินการ โดยรวมและรายด้าน อยู่ในระดับปานกลาง หลังการดำเนินการ โดยรวมและรายด้าน อยู่ในระดับมากที่สุด ความเข้าใจในการดำเนินงานชุมชนน่าอยู่ของแกนนำชุมชน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านขมิ้น ตำบลผาเสวย อำเภอสมเด็จ จังหวัดกาฬสินธุ์ ก่อนและหลังการดำเนินงาน พบว่า มีความแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยที่ หลังความเข้าใจในการดำเนินงานชุมชนน่าอยู่ของแกนนำชุมชน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านขมิ้น ตำบลผาเสวย อำเภอสมเด็จ จังหวัดกาฬสินธุ์ มีค่าคะแนนเฉลี่ยมากกว่าก่อนการดำเนินการ
References
กาญจนา ปัญญาธร ณัฐวรรณ ไชยมีเขียว รวีวรรณ เผ่ากัณหา จุฑารัตน์ เสาวพันธ์.(2567). การพัฒนาแกนนำสุขภาพครอบครัวและชุมชนในการดูแลผู้สูงอายุป่วยเรื้อรังติดเตียง. วารสารการแพทย์โรงพยาบาลอุดรธานี. 32(1) 1-12
กองสนับสนุนสุขภาพภาคประชาชน กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ. (2565). แนวทางการดำเนินงาน ปี 2565 ตำบลจัดการคุณภาพชีวิต ตำบลวิถีใหม่ ปลอดภัยจาก โควิด-19. [ออนไลน์] ค้นเมื่อ 16 ธันวาคม 2565 จาก http://phc.moph.go.th/www_hss/data_center/ifm_mod/nw/manuals_tumbon.pdf
(กองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ, 2557)
Best, J.W. (1991). Research in education (8th ed.). New Delhi: V. k. Batra at Peart officer Prees.
กองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ. (2567). คู่มือการดำเนินงานตำบลจัดการสุขภาพประจำปี 2567. นนทบุรี ; กองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ.
กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข (2561). แนวคิด หลักการขององค์กรรอบรู้ด้านสุขภาพ. สำนักงานโครงการขับเคลื่อนกรมอนามัย 4.0 เพื่อความรอบรู้ด้านสุขภาพของประชาชน (สชรส.)
สุธาทิพย์ จันทรักษ์. (2560). การมีส่วนร่วมของแกนนำภาคีเครือข่ายสุขภาพในการขับเคลื่อนงานพัฒนาตำบลจัดการสุขภาพ. วารสารวิชาการกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ. 13(2) 67-74
กัลยาณี ตันตรานนท์ อนนท์ วิสุทธิ์ธนานนท์ เดชา ทำดี. (2562). การพัฒนารูปแบบการดูแลสุขภาพชุมชน ตำบลท่าวังตาล อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่. พยาบาลสาร. 46(4) 49-58