รูปแบบการศักยภาพอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในการตำเนินงานตำบลจัดการสุขภาพ อำเภอสมเด็จ จังหวัดกาฬสินธุ์

ผู้แต่ง

  • เชาวฤทธิ์ รองไชย -

คำสำคัญ:

อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน, ตำบลจัดการสุขภาพ

บทคัดย่อ

     การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) รูปแบบการศักยภาพอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในการตำเนินงานตำบลจัดการสุขภาพ อำเภอสมเด็จ จังหวัดกาฬสินธุ์ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเข้าใจในการตำเนินงานตำบลจัดการสุขภาพ และศึกษารูปแบบการศักยภาพอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในการตำเนินงานตำบลจัดการสุขภาพ อำเภอสมเด็จ จังหวัดกาฬสินธุ์ มีระยะเวลาในการศึกษาระหว่าง เดือน กันยายน 2567 ถึง เดือนธันวาคม 2567 รวม 4 เดือน เก็บข้อมูลจากแบบสอบถาม และเวชระเบียน วิเคราะห์ข้อมูล โดยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (Content Analysis) ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ Dependent t – test
     ผลการศึกษา พบว่า ความเข้าใจในการตำเนินงานตำบลจัดการสุขภาพ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน อำเภอสมเด็จ จังหวัดกาฬสินธุ์ ก่อนดำเนินการ โดยรวมและรายด้าน อยู่ในระดับปานกลาง หลังดำเนินการ โดยรวมและรายด้าน อยู่ในระดับมากที่สุดและการเปรียบเทียบระดับความเข้าใจในการตำเนินงานตำบลจัดการสุขภาพ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน อำเภอสมเด็จ จังหวัดกาฬสินธุ์ ก่อนและหลังดำเนินการ พบว่า มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยที่หลังการดำเนินงานระดับความเข้าใจในการตำเนินงานตำบลจัดการสุขภาพ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน อำเภอสมเด็จ จังหวัดกาฬสินธุ์ มีค่าคะแนนเฉลี่ยมากกว่าก่อนการดำเนินงาน

References

กองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ.(2567). คู่มือการดำเนินงานตำบลจัดการสุขภาพประจำปี นนทบุรี: กลุ่มวิชาการและพัฒนาคุณภาพงานสุขศึกษา กองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข

กองสนับสนุนสุขภาพภาคประชาชน กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ. (2565). แนวทางการดำเนินงาน ปี 2565 ตำบลจัดการคุณภาพชีวิต ตำบลวิถีใหม่ ปลอดภัยจาก โควิด-19. นนทบุรี: กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข

สำนักอนามัยสิ่งแวดล้อม กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข.(2562). คู่มือหลักสูตร อสม. เชี่ยวชาญ การจัดการสุขภาพชุมชน และอนามัยสิ่งแวดล้อม. กรุงเทพฯ: ศูนย์สื่อและสิ่งพิมพ์แก้วเจ้าจอม มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา

กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย. (2560). คู่มือมาตรฐานงานสาธารณสุขมูลฐาน. กรุงเทพ; โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย

สมตระกูล ราศิริ สุชาดา อินทรกำแหง ณ ราชสีมา ธิติรัตน์ ราศิริ.(2564). บทบาทของอาสาสมัครสาธารณสุขไทย. วารสารวิจัยและพัฒนาด้านสุขภาพ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา. 7(2) 80-97

Best, J.W. (1991). Research in education (8th ed.). New Delhi: V. k. Batra at Peart officer Prees.

กรรณิกา เพ็ชรักษ์ ศรีอุบล อินทร์แป้น สาคร สอนดี วรรณชาติ ตาเลิศ ชัชฎาพร จันทรสุข รศิกาญจน์ พลจำรัสพัชญ์.(2566). ผลของโปรแกรมการพัฒนาสมรรถนะด้านการดูแลสุขภาพชุมชนแบบออนไลน์ ต่อความรู้ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ในช่วงสถานการณ์ระบาดโควิด-19. วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม. 20(1) 195-202

กองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ. (2563). แนวทางการดำเนินงานสุขศึกษา เพื่อเสริมสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพ. นนทบุรี: โรงพิมพ์กองสุขศึกษา.

พชรกรณ์ นิยมเวช นงนุช วงศ์สว่าง.(2567). การศึกษาสมรรถนะด้านการจัดการสุขภาพชุมชนของอาสาสมัครสาธารณสุข ประจำหมู่บ้านในอำเภอเมืองสมุทรสงคราม จังหวัดสมุทรสงคราม. วารสารวิชาการและการพยาบาล วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จักรีรัช. 4(1). 1-13

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-31

How to Cite

รองไชย เ. . . (2024). รูปแบบการศักยภาพอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในการตำเนินงานตำบลจัดการสุขภาพ อำเภอสมเด็จ จังหวัดกาฬสินธุ์. วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน, 9(6), 174–180. สืบค้น จาก https://he03.tci-thaijo.org/index.php/ech/article/view/3626