รูปแบบการจัดบริการดูแลเด็กที่มีปัญหาสมาธิสั้นโดยการมีส่วนร่วมของครอบครัวและชุมชน อำเภอยางสีสุราช จังหวัดมหาสารคาม
คำสำคัญ:
รูปแบบ, เด็กที่มีปัญหาสมาธิสั้น, การมีส่วนร่วมของครอบครัวและชุมชนบทคัดย่อ
การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาและประเมินผลรูปแบบการจัดบริการดูแลเด็กที่มีปัญหาสมาธิสั้นโดยการมีส่วนร่วมของครอบครัวและชุมชน อำเภอยางสีสุราช จังหวัดมหาสารคาม ขั้นตอนการดำเนินการประกอบด้วย 3 ระยะ คือ ระยะวิเคราะห์สถานการณ์ ระยะพัฒนาระบบ และระยะประเมินผล ผู้มีส่วนร่วมวิจัยประกอบด้วย เด็กที่มีปัญหาสมาธิสั้นและผู้ปกครอง ครูผู้ดูแลเด็ก ทีมสหวิชาชีพ และภาคีเครือข่ายที่มีส่วนร่วมในการดูแลเด็ก เครื่องมือวิจัยประกอบด้วยแนวคำถามสำหรับสนทนากลุ่ม แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบประเมินการปฏิบัติการดูแลเด็กสมาธิสั้น แบบประเมินพฤติกรรมเด็กสมาธิสั้น แบบบันทึกการติดตามเยี่ยมและอาการข้างเคียงของยา แบบประเมินความพึงพอใจ ดำเนินการวิจัยระหว่างเดือนตุลาคม 2564 - กันยายน 2566 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรนณาและการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า ภายหลังดำเนินการเกิดรูปแบบการจัดบริการดูแลเด็กที่มีปัญหาสมาธิสั้นโดยการมีส่วนร่วมของครอบครัวและชุมชนที่เป็นรูปธรรมและสอดคล้องกับบริบทของหน่วยงานคือ 3C4R Model ผู้ปกครองและครูได้รับการอบรมครอบคลุมทุกกิจกรรมทุกคนทั้งผู้ปกครองและทีมสุขภาพสามารถปฏิบัติการดูแลได้ถูกต้องร้อยละ 100 บุคลากรทางการแพทย์สามารถดูแลเด็กได้ครอบคลุมร้อยละ 100 และพบว่าเด็กที่มีปัญหาสมาธิสั้นมีพฤติกรรมที่ดีขึ้น ในรายที่พบปัญหาเร่งด่วนได้รับการส่งต่อทุกราย รวมทั้งไม่พบอุบัติการณ์การแพ้ยาและอาการข้างเคียงรุนแรง ผู้ปกครอง ครู และทีมสุขภาพมีความพึงพอใจต่อระบบการจัดบริการในระดับดีมาก
References
Doulou A, Drigas A. ADHD: Causes and alternative types of intervention. Sci Electron Arch. 2022;15(2):49-57. doi:10.36560/15220221514.
Núñez-Jaramillo L, Herrera-Solís A, Herrera-Morales WV. ADHD: Reviewing the causes and evaluating solutions. J Pers Med. 2021;11(3):166. doi:10.3390/jpm11030166.
Popit S, Serod K, Locatelli I, Stuhec M. Prevalence of attention-deficit hyperactivity disorder (ADHD): systematic review and meta-analysis. Eur Psychiatry. 2024;67(1):1-23. doi:10.1192/j.eurpsy.2024.1786.
Danielson ML, Bitsko RH, Ghandour RM, Holbrook JR, Kogan MD, Blumberg SJ. Prevalence of parent-reported ADHD diagnosis and associated treatment among US children and adolescents, 2016. J Clin Child Adolesc Psychol. 2018;47(2):199-212. doi:10.1080/15374416.2017.1417860.
Visanuyothin T, Pavasuthipaisit C, Wachiradilok P, Arunruang P, Buranasuksakul T. The prevalence of attention deficit/hyperactivity disorder in Thailand. J Ment Health Thai. 2013;21(2):66-75.
Caye A, Swanson JM, Coghill D, Rohde LA. Treatment strategies for ADHD: an evidence-based guide to select optimal treatment. Mol Psychiatry. 2019;24(3):390-408. doi:10.1038/s41380-018-0116-3.
สถาบันพัฒนาการเด็กราชครินทร์. คู่มือการคัดกรองและปรับพฤติกรรมเด็กที่มีอาการสมาธิสั้น สำหรับผู้ปกครอง. เชียงใหม่: สยามพิมพ์นานา; 2560.
Breaux R, Waschbusch DA, Marshall R, Rothe E, Humphery H, Pelham WE, et al. The role of parental knowledge and attitudes about ADHD and perceptions of treatment response in the treatment utilization of families of children with ADHD. Evid Based Pract Child Adolesc Ment Health. 2020;5(1):102-14. doi:10.1080/23794925.2020.1727797.
Ward RJ, Bristow SJ, Kovshoff H, Cortese S, Kreppner J. The effects of ADHD teacher training programs on teachers and pupils: A systematic review and meta-analysis. J Atten Disord. 2022;26(2):225-44. doi:10.1177/1087054720972801.
Kemmis S, McTaggart R. The action research planner. 3rd ed. Victoria: Deakin University; 1988.
ชาญวิทย์ พรนภดล, วัจนินทร์ โรหิตสุข, มะลิรมย์ หัสดินรัตน์, นิรมล ยสินทร. คู่มือวิทยากรการฝึกอบรมผู้ปกครองวิธีปรับพฤติกรรมเด็ก. กรุงเทพฯ: ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล; 2549.
ณัทธร พิทยรัตน์เสถียร, ธันวรุจน์ บูรณะสุขสกุล, ดุษฎี จึงศิรกุลวิทย์, ทรงภูมิ เบญญากร. คุณสมบัติของแบบคัดกรองโรคสมาธิสั้นชื่อ Swanson, Nolan, and Pelham IV Scale (SNAP-IV) และ Strengths and Difficulties Questionnaire ส่วนที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมอยู่ไม่นิ่ง/สมาธิสั้น (SDQ-ADHD) ฉบับภาษาไทย. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย. 2557;59(2):97-110.
Duangpetsang J. Development of Integrated Care for Children with Attention Deficit Hyperactivity Disorder among Parents and Teachers in Kaeng Khro District, Chaiyaphum Province. Reg Health Promot Cent 9 J. 2024;18(1):339-50.