แนวทางการดูแลผู้ป่วยยาเสพติดที่มีอาการทางจิตและมีความเสี่ยงสูงในการก่อความรุนแรงโดยชุมชนมีส่วนร่วม อำเภอยางสีสุราช จังหวัดมหาสารคาม
คำสำคัญ:
ยาเสพติด, เสี่ยงสูง, ความรุนแรงบทคัดย่อ
การวิจัยเชิงปฏิบัติการนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแนวทางการดูแลผู้ป่วยยาเสพติดที่มีอาการทางจิตและมีความเสี่ยงสูงต่อการก่อความรุนแรง อำเภอยางสีสุราช ระยะเวลาการศึกษามีการพัฒนา 3 ระยะ ตั้งแต่เดือน ตุลาคม 2564 - มีนาคม 2566 คือ ระยะที่ 1 วิเคราะห์สถานการณ์ ระยะที่ 2 พัฒนาแนวทางการดูแล ระยะที่ 3 ประเมินผลการพัฒนา กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นจิตเวชเรื้อรัง (F20-F29) จำนวน 34 ราย เก็บรวบรวมข้อมูลโดย ใช้เครื่องมือแบบประเมินอาการทางจิต (Brief Psychiatric Rating Scale : BPRS) แบบประเมินพฤติกรรมก้าวร้าวรุนแรง (Overt Aggression Scale : OAS) แบบประเมินคัดกรองและส่งต่อผู้ป่วยที่ใช้ยาและสารเสพติดเพื่อรับการบำบัดรักษา กระทรวงสาธารณสุข (V.2) แบบประเมินแรงจูงใจและระยะการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม (Stage of change) แบบคัดกรอง/ประเมินโรคซึมเศร้า (2Q 9Q) และแบบประเมินฆ่าตัวตาย (8Q) และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา จำนวน ร้อยละ และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา
ผลการศึกษา พบว่าแนวทางการดูแลผู้ป่วยยาเสพติดที่มีอาการทางจิตและมีความเสี่ยงสูงต่อการก่อความรุนแรงโดยชุมชนมีส่วนร่วม ประกอบด้วยการดูแล 3 ระยะ คือ การดูแลระยะก่อนเข้าโรงพยาบาล (Pre-Hospital) การดูแลขณะในโรงพยาบาล (In-Hospital) และการดูแลต่อเนื่องหลังจากกลับสู่ชุมชน (Post-Hospital) เกิดการโดยการดูแลแบบมีส่วนร่วมของชุมชนของ 3 หมอ และ 4 ทีม รวมทั้งมีการพัฒนาคู่มือแนวทางการดูแลผู้ป่วยยาเสพติดและจิตเวชที่มีอาการทางจิตและมีความเสี่ยงต่อการก่อความรุนแรงในชุมชน ประกอบด้วย 1) คู่มือแนวทางการค้นหา/คัดกรองผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงต่ออาการจิตเวชในชุมชน 2) คู่มือการดูแลตนเองสำหรับผู้ป่วยยาเสพติดและญาติ 3) คู่มือการดูแลตนเองสำหรับผู้ป่วยจิตเวชและญาติที่บ้าน 4) คู่มือการติดตามเยี่ยมบ้านผู้ป่วยยาเสพติดและจิตเวชที่มีอาการทางจิตต่อเนื่องหลังจากจำหน่ายในชุมชน ผลลัพธ์การดำเนินงาน พบว่า ผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงสูงและก่อความรุนแรงได้รับการดูแลฉุกเฉินและการส่งต่อดูแลต่อเนื่อง ร้อยละ 100 ไม่เกิดอุบัติการณ์รุนแรงจากพฤติกรรมของผู้ป่วย SMI-V ซ้ำในชุมชน ชุมชนสามารถประเมินและจัดการอุบัติการณ์รุนแรงเบื้องต้นได้ และสามารถดูแลต่อเนื่องหลังผู้ป่วยจำหน่ายจากโรงพยาบาลได้
References
กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. (2563). คู่มือระบบการดูแลผู้ป่วยจิตเวชที่มีความเสี่ยงสูงต่อการก่อความรุนแรงสำหรับสถาบัน/โรงพยาบาล สังกัดกรมสุขภาพจิต. กรุงเทพฯ: บริษัท พรอสเพอรัสพลัส จำกัด.
กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. (2563). แนวทางการดูแลผู้ป่วยจิตเวชฉุกเฉิน (Acute Care) สำหรับหน่วยบริการสาธารณสุข (ระดับA,S,M1และ M2). กรุงเทพฯ: บริษัท บียอนด์ พับลิสชิ่ง จำกัด.
กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. (2565). คู่มือการดูแลผู้ป่วยจิตเวชเรื้อรังกลุ่มเสี่ยงในชุมชนสำหรับบุคลากรของหน่วยบริการระดับปฐมภูมิ พิมพ์ครั้งที่1. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. (2565). ระบบการดูแลผู้ป่วยจิตเวชที่มีความเสี่ยงสูงต่อการก่อความรุนแรงสำหรับสถาบัน/โรงพยาบาลพิมพ์ครั้งที่1. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. (2566). มาตรฐานการปฏิบัติงานการดูแลผู้ป่วยจิตเวชและยาเสพติดที่มีความเสี่ยงสูงต่อการก่อความรุนแรง. กรุงเทพฯ: บริษัท บียอนด์ พับลิสชิ่ง จำกัด.
โรงพยาบาลยางสีสุราช . (2564). รายงานการดำเนินงานผู้ป่วย SMIV พ.ศ. 2563-2564. มหาสารคาม : โรงพยาบาลยางสีสุราช จังหวัดมหาสารคาม.
Kemmis S, McTaggart R. (1988). The action research planner. 3rd ed. Victoria: Deakin University.
เกษราวัลณ์ นิลวรางกูร. (2558). การวิจัยเชิงปฏิบัติการสำหรับวิชาชีพการพยาบาล. ขอนแก่น: โรงพิมพ์คลังนานาวิทยา.
โกศล เจริญศรี. (2566). การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยจิตเวชที่มีความเสี่ยงสูงต่อการก่อความรุนแรง โดยการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายอำเภอดอนตาล กรณีศึกษาบ้านนาทาม-ห้วยทราย ตำบลป่าไร่ อำเภอดอนตาล จังหวัดมุกดาหาร. วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน, 9 (5), 577-584.
กชพร นะราธร. (2567). การพัฒนารูปแบบการพยาบาลการดูแลผู้ป่วยจิตเวชที่มีความเสี่ยงสูงต่อการก่อความรุนแรง ร่วมกับการประยุกต์ใช้ทฤษฎีการดูแลตนเองของโอเร็ม โดยการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย อำเภอโพนทอง จังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน, 8 (2), 286-296.