รูปแบบการพัฒนาแนวปฏิบัติทางการพยาบาลในการเฝ้าระวังอาการไม่พึงประสงค์ ผู้ป่วยระหว่างรอตรวจ ตึกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลสมเด็จ
คำสำคัญ:
แนวปฏิบัติทางการพยาบาล, การเฝ้าระวังอาการไม่พึงประสงค์, ผู้ป่วยระหว่างรอตรวจ, ตึกผู้ป่วยนอกบทคัดย่อ
การศึกษานี้ เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์ของอาการไม่พึงประสงค์ ผู้ป่วยระหว่างรอตรวจ ตึกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลสมเด็จ และศึกษารูปแบบการพัฒนาแนวปฏิบัติทางการพยาบาลในการเฝ้าระวังอาการไม่พึงประสงค์ ผู้ป่วยระหว่างรอตรวจ ตึกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลสมเด็จ มีระยะเวลาในการศึกษาระหว่าง เดือน กันยายน 2567 ถึง เดือนธันวาคม 2567 รวม 4 เดือน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้ป่วยระหว่างรอตรวจ ตึกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลสมเด็จ ระหว่าง เดือน กันยายน 2567 ถึง เดือนพฤศจิกายน 2567 รวม 3 เดือน จำนวน 507 คน คำนวณจากสูตรการคำนวณขนาดกลุ่มตัวอย่าง ของ Krejcie และ Morgan เก็บข้อมูลจากแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูล โดยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (Content Analysis) ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ Dependent t – test
ผลการศึกษา พบว่า หลังการดำเนินงาน ความเข้าใจของผู้ป่วยในการเฝ้าระวังอาการไม่พึงประสงค์ ระหว่างรอตรวจและความเข้าใจของผู้ป่วยในการให้บริการตึกผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลสมเด็จ โดยรวมและรายข้ออยู่ในระดับมากที่สุด และความเข้าใจของผู้ป่วยในการเฝ้าระวังอาการไม่พึงประสงค์ ระหว่างรอตรวจและความเข้าใจของผู้ป่วยในการให้บริการตึกผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลสมเด็จ ก่อนและหลังการดำเนินงาน พบว่า มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยที่หลังดำเนินการความเข้าใจของผู้ป่วยในการเฝ้าระวังอาการไม่พึงประสงค์ ระหว่างรอตรวจและความเข้าใจของผู้ป่วยในการให้บริการตึกผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลสมเด็จ ดีกว่าก่อนการดำเนินการ และไม่พบอุบัติการณ์อาการไม่พึงประสงค์
References
วัชรีย์ ไกรสิงห์เดชา. (2564) .การพัฒนาแนวทางการเฝ้าระวังผู้ป่วยอาการทรุดลงระหว่างรอตรวจของห้องตรวจศัลยกรรม กลุ่มงานผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลพุทธชินราช พิษณุโลก.วารสารการพยาบาลและสาธารณสุข ปีที่ 1 ฉบับที่ 1 (2022): มกราคม - เมษายน 2565
ดารุณี จันฤาไชย. (2564) .การพัฒนาระบบการคัดแยกประเภทผู้ป่วยงานผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลพระอาจารย์ ฝั้น อาจาโร จังหวัดสกลนคร.ระบบเผยแพร่ผลงานวิชาการ(OPEN ACCESS) สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสกลนคร
อารียา พิสัยพันธ์. (2564) . การพัฒนารูปแบบการเฝ้าระวังผู้สูงอายุอาการทรุดลงระหว่างรอตรวจ งานการพยาบาลผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย .วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน ปีที่ 9 ฉบับที่ 4
มณฑา คล้ายเขียว . (2565) .การพัฒนาระบบการเฝ้าระวังอาการไม่คงที่หรืออาการทรุดลงขณะรอตรวจ โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชนครไทย พิษณุโลก.สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 2 จังหวัด พิษณุโลก
สังวาลย์ วงศ์สมศักดิ์. (2566) .รูปแบบการจัดบริการพยาบาลในการเฝ้าระวังภาวะฉุกเฉินขณะรอตรวจแผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลพยัคฆภูมิพิสัย จังหวัดมหาสารคาม. วารสารวิชาการทางการพยาบาลและวิทยาศาสตร์สุขภาพ ปีที่ 3 ฉบับที่ 3
สุพรรณิการ์ บุญพสิษฐ์ . (2567) .การพัฒนาแนวทางการเฝ้าระวังอาการไม่คงที่หรืออาการทรุดลงขณะรอตรวจ กลุ่มงานผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลเฝ้าไร่ จังหวัดหนองคาย.วาสารวิชาการเพื่อการพัฒนาระบบสุขภาพปฐมภูมิและสาธารณสุข
โรงพยาบาลเพชรบูรณ์. (2562) .คู่มือการปฏิบัติงานการผู้ป่วยนอก(OPD) โรงพยาบาลเพชรบูรณ์ (PHETCHABUN HOSPITAL).(https://pbh.moph.go.th/imgs/picture_purchase/2022122LA- 2022-12-02-MO2-18.pdf)
คณะกรรมการระบบส่งต่อจังหวัดลำพูล. (2562) .แนวทางการส่งต่อผู้ป่วยตามระบบ FAST TRACK และกลุ่มโรคสำคัญจังหวัดลาพูน.(https://lamphunhealth.moph.go.th/)
สำนักการพยาบาล. (2551) . มาตรฐานการพยาบาลในโรงพยาบาล ปรับปรุงครั้งที่ 2. พิมพ์ครั้งที่ 3 โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก
คณะทำงานกลุ่มงานบริการผู้ป่วยนอก / หน่วยพิเศษ. (2561) .การคัดกรองผู้ป่วยนอก.โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า
สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ .(2556).คู่มือแนวทางการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ เกณฑ์ และวิธีปฏิบัติการคัดแยก ผู้ป่วยฉุกเฉินและจัดลาดับการบริบาล ณ ห้องฉุกเฉินตามหลักเกณฑ์ที่ กพฉ. กำหนด. สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาตินนทบุรี
กรมการแพทย์.(2561). MOPH ED. TRIAGE. .สำนักวิชาการแพทย์ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข
โรงพยาบาลบึงบูรพ์. (2561) .แนวทางการคัดกรองผู้ป่วยนอก การดูแลผู้ป่วยอาการไม่คงที่งานผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลบึงบูรพ์ จังหวัดศรีสะเกษ