ผลของการสร้างการมีส่วนร่วมและการให้คุณค่าต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐของบุคลากรโรงพยาบาลปรางค์กู่ อำเภอปรางค์กู่ จังหวัดศรีสะเกษ
คำสำคัญ:
การมีส่วนร่วม, การให้คุณค่า, คุณธรรมและความโปร่งใส, หน่วยงานภาครัฐบทคัดย่อ
การวิจัยแบบกึ่งทดลองครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการสร้างการมีส่วนร่วมและการให้คุณค่าต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐของบุคลากรโรงพยาบาลปรางค์กู่ อำเภอปรางค์กู่ จังหวัดศรีสะเกษ กลุ่มตัวอย่างแบ่งเป็น 2 กลุ่ม ๆ ละ 30 คน รวม 60 คน กลุ่มทดลอง คือ บุคลากรโรงพยาบาลปรางค์กู่ อำเภอปรางค์กู่ จังหวัดศรีสะเกษ กลุ่มเปรียบเทียบ คือ บุคลากรโรงพยาบาลห้วยทับทัน อำเภอห้วยทับทัน จังหวัดศรีสะเกษ โดยกลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมเป็นระยะเวลา 12 สัปดาห์ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม 2 ครั้ง ก่อนและหลังการทดลอง ระหว่างวันที่ 15 สิงหาคม 2567 ถึง 15 พฤศจิกายน 2567 เปรียบเทียบผลต่างของคะแนนเฉลี่ยของตัวแปรภายในกลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบโดยใช้สถิติ paired t-test และระหว่างกลุ่มโดยใช้สถิติ Independent t-test กำหนดนัยสำคัญที่ระดับ 0.05
ผลการศึกษาพบว่า หลังการทดลอง กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยในด้านการมีส่วนร่วม ทัศนคติ ความตั้งใจ การรับรู้ความสามารถของตนเอง แรงสนับสนุนทางสังคม และพฤติกรรมในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐสูงกว่าก่อนทดลองและสูงกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 (p-value < 0.001)
References
กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ราชการบริหารส่วนภูมิภาค ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567. กรุงเทพฯ: ศูนย์ปฏิบัติการต่อต้านการทุจริต กระทรวงสาธารณสุข, 2566.
กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม. รายงานการประเมินผลการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์แผนแม่บทส่งเสริมคุณธรรมแห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ. 2559 - 2564) ฉบับสมบูรณ์. นครปฐม: เพชรเกยมพริ้นต์ดิ้ง กรุ๊ป จำกัด, 2564.
วิษณุ คชรัตน์. แนวทางการพัฒนาคุณธรรมและความโปร่งใสของหน่วยงานภาครัฐ : กรณีศึกษา องค์การบริหารส่วนตำบลบางขันแตก จังหวัดสมุทรสงคราม. โครงการรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต: มหาวิทยาลัยรามคำแหง, 2564.
ธภัทร ติระวัฒน์. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อคุณธรรมและความโปร่งใส ในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายในโรงพยาบาล. วารสารโรงพยาบาลสิงห์บุรี 2563; 29(2): 99-110.
Lemeshow, S. Adequacy of Sample Size in Health Studies. Chichester: John Wiley & Sons, 1990.
ศักดิ์สิน กุลบุตรดี. รูปแบบการบริหารงานแบบธรรมาภิบาลของผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลจังหวัดศรีสะเกษ. วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อม และสุขภาพชุมชน 2565; 7(2): 160-171.
ขจรศักดิ์ ว่องไว. การบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารงานในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามุกดาหาร. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต: มหาวิทยาลัยราชภัฎสกลนคร, 2562.
หทัยพร อ้วนภักดี. ผลการพัฒนาการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ (ITA) โรงพยาบาลคำม่วงอำเภอคำม่วง จังหวัดกาฬสินธุ์ปี 2560-2563. วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อม และสุขภาพชุมชน 2563; 5(3): 23-29.