รูปแบบการพัฒนาศูนย์ดูแลผู้มีภาวะพึ่งพิงจังหวัดนครปฐม
คำสำคัญ:
ผู้มีภาวะพึ่งพิง, ศูนย์ดูแลผู้มีภาวะพึ่งพิงบทคัดย่อ
การศึกษารูปแบบการพัฒนาศูนย์ดูแลผู้มีภาวะพึ่งพิงจังหวัดนครปฐม มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์การดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคอง/ระยะท้าย (Palliative Care) และรูปแบบการพัฒนาศูนย์ดูแลผู้มีภาวะพึ่งพิงจังหวัดนครปฐม เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Research) มีระยะเวลาในการศึกษา ระหว่าง เดือน ตุลาคม 2567 ถึง ธันวาคม 2567 รวม 3 เดือน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้มีภาวะพึ่งพิงจังหวัดนครปฐม จำนวน 2,159 คน เก็บข้อมูลจากฐานข้อมูลและแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูล โดยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (Content Analysis) ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ Dependent t – test
ผลการศึกษา พบว่า หลังดำเนินการ ความพร้อมศูนย์ดูแลผู้มีภาวะพึ่งพิง โรงพยาบาลชุมชน จังหวัดนครปฐม โดยรวมและรายด้าน อยู่ในระดับมากที่สุด ความพร้อมศูนย์ดูแลผู้มีภาวะพึ่งพิง โรงพยาบาลชุมชน จังหวัดนครปฐม สำหรับบุคลากรสาธารณสุขที่เกี่ยวข้อง ของ CM กับ CG ก่อนและหลังการดำเนินการ โดยรวมและรายด้าน มีความแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยที่หลังการดำเนินงานการประเมินความพร้อมศูนย์ดูแลผู้มีภาวะพึ่งพิง โรงพยาบาลชุมชน จังหวัดนครปฐม สำหรับบุคลากรสาธารณสุขที่เกี่ยวข้อง ระหว่าง CM ดีกว่าก่อนการดำเนินงาน ผู้ที่มีภาวะพึ่งพิงภายใต้โครงการการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุข (Long Term Care) ได้รับการดูแลตาม Care plan ร้อยละ 100.00 และมีศูนย์ดูแลผู้มีภาวะพึ่งพิงตัวอย่าง ได้แก่ เทศบาลตำบลอ้อมใหญ่ จังหวัดนครปฐม
References
อัญชิษฐฐา ศิริคำเพ็ง และภักดี โพธิ์สิงห์.(2560). การดูแลผู้สูงอายุระยะยาวที่มีภาวะพึ่งพิงในยุคประเทศไทย 4.0. วารสารวิชาการธรรมทรรศน์. 17(3) 235-43
นัทธมน หรี่อินทร์.(2564). ผลการพัฒนาการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงภายใต้กระบวนการ Care Management อำเภอหนองสองห้อง จังหวัดขอนแก่น. วารสารสานักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น ปี ที่ 3 ฉบับที่ 1 มกราคม – มิถุนายน 2564
สุนิษา มะลิวัลย์.(2567). ภาวะพึ่งพิงของผู้สูงอายุไทย ในอนาคตอีก 20 ปี : อนามัยพยากรณ์ อนามัยโพล์. [ออนไลน์]. https://hfd.anamai.moph.go.th/th/news-anamai-3/229198
เกศกนก จงรัตน์ ศรีธยา ฤทธิ์ช่วยรอด นันทวุฒิ วงศ์เมฆ นิพนธ์ รัตนคช.(2562). ภาวะสุขภาพและคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงในเขตเทศบาลเมืองทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารวิชาการสาธารณสุข. 28(6). 1013-20
ชาญชัย เหลาสาร กัลยา ไชยสัตย์ วชิราภรณ์ วิทยาขาว.(2563). การดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงแบบมีส่วนร่วมของศูนย์ดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเวียง ตำบลกระเดียน อำเภอตระการพืชผล จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารวิชาการสาธารณสุข. 29(5). 813-21
ภาสกร สวนเรือง อาณัติ วรรณศรี สัมฤทธิ์ ศรีธำรงสวัสดิ์.(2561). การดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงของผู้ช่วยเหลือในชุมชนภายใต้นโยบายการพัฒนาระบบการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุขสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง. วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข. 12(3). 437-51
กระทรวงสาธารณสุข.(2567). คู่มือการดำเนินงานตามนโยบาย สถานชีวาภิบาล. กองบริหารการสาธารณสุข สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข
ประเสริฐ สาวีรัมย์.(2565). การพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง โดยการพัฒนาความรอบรู้ด้วยหลักสูตร “CG เชี่ยวชาญ” ให้กับผู้ดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ในเขตอำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์. วารสารศูนย์อนามัยที่ 9 : วารสารส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม 16(1). 86-100
สำนักอนามัยผู้สูงอายุ.(2567). มาตรฐานและแนวทางการพัฒนาสถานชีวาภิบาลในชุมชนและและองค์กรศาสนา. สำนักอนามัยผู้สูงอายุ กรมอนามัย
วิชาญ ทรายอ่อน.(2567). สถานชีวาภิบาล. สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. สำนักวิชาการ สถานีวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์รัฐสภา
วารี ศรีสุรพล ชวลิต สวัสดิ์ผล.(2565). การพัฒนาศักยภาพชุมชนท้องถิ่นเพื่อผู้สูงอายุที่อยู่ในภาวะพึ่งพิง ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์ ปีที่ 8 ฉบับที่ 1 (2022): ปีที่ 8 ฉบับที่ 1 มกราคม - เมษายน 2565
ธีรนันท์ วรรณศิริ ดวงพร ผาสุวรรณ.(2564). การมีส่วนร่วมของชุมชนในการดูแลผู้สูงอายุติดบ้านและติดเตียงในจังหวัดนครปฐม. วารสารพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยคริสเตียน. 8(2) .
อภิรักษ์ วัฒนวิกกิจ.(2567). รูปแบบการดูแลผู้สูงอายุและพัฒนาการดูแลผู้สูงอายุในคลินิกชีวาภิบาล เขตอำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน. 9(3). 49-58