การวิเคราะห์ต้นทุนและประเมินความพร้อมของการผลิตยาสมุนไพรของโรงพยาบาลกมลาไสยเพื่อสนับสนุนสถานบริการของรัฐ ในเขตสุขภาพที่ 7 ปี พ.ศ.2566 – 2567

ผู้แต่ง

  • กฤช โชติการณ์ เภสัชกรชำนาญการพิเศษ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกาฬสินธุ์
  • อรนิฏา ธารเจริญ เภสัชกรชำนาญการ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกาฬสินธุ์
  • รัตติยา แดนดงยิ่ง เภสัชกรชำนาญการ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกาฬสินธุ์

คำสำคัญ:

การวิเคราะห์ต้นทุน, การประเมินความพร้อม, การผลิตยาสมุนไพร

บทคัดย่อ

     การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการวิเคราะห์ต้นทุนและประเมินความพร้อมของการผลิตยาสมุนไพรของโรงพยาบาลกมลาไสยเพื่อสนับสนุนสถานบริการของรัฐ ในเขตสุขภาพที่ 7 ปี พ.ศ.2566 – 2567 โดยศึกษาระหว่าง เดือนกันยายน 2565 – เดือนตุลาคม 2567 รวม 24 เดือน ศึกษาในหน่วยประชากรคือ โรงพยาบาลกมลาไสย เก็บรวบรวมข้อมูล จาก แบบบันทึกการผลิตยาสมุนไพรโรงพยาบาลกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์ และการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ วิเคราะห์ข้อมูล โดยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (Content Analysis) ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
     ผลการศึกษา พบว่า โรงงานผลิตยาสมุนไพรของโรงพยาบาลกมลาไสย สามารถผลิตยาสมุนไพรได้ทั้งหมด 47 ชนิดสมุนไพรที่ผลิตได้มากที่สุด ได้แก่ ยาแคปซูลขมิ้นชัน 500 มิลลิกรัม 10 แคปซูล/แผง กำลังการผลิต 130,000 แคปซูล ต้นทุก 10 บาทต่อแคปซูลรวมมูลค่า 1,300,000 บาท และยาแคปซูลฟ้าทะลายโจร 400 มิลลิกรัมกำลังการผลิต 130,000 แคปซูล ต้นทุก 10 บาทต่อแคปซูลรวมมูลค่า 1,300,000 บาท ต้นทุนรวมทั้งหมด 1,792,612.39 บาท จำนวนเงินรายรับที่ได้เข้าโรงพยาบาล 707,387.61 บาท ส่วนต่างต้นทุน เท่ากับ 1,085,224.78 บาท ผลการประเมินมาตรฐานหลักเกณฑ์วิธีการที่ดีในการผลิตยาจากสมุนไพรตามเกณฑ์ WHO-GMP แจกแจงรายละเอียดหัวข้อในแต่ละหมวด พบว่า การผลิตยาสมุนไพรของโรงพยาบาลกมลาไสย ผ่านการประเมิน ร้อยละ 65.29

References

การขับเคลื่อนงานสมุนไพรกระทรวงเกษตรและสหกรณ์.(2566). สมุนไพรวิถี: ยาสมุนไพรปลอดภัยเมื่อใช้ถูกหลัก.[ออนไลน์] สืบค้นเมื่อ 24 กุมภาพันธ์ 2566. https://www.moac.go.th/herbs-knowledge-preview-451891791795

ภาณุเมศวร์ สุขศรีศิริวัชร ชูชาติ พยอม และศุภชัย แก้วจันทร์.(2563). การพัฒนาเครื่องอัดเม็ดยาสมุนไพรแบบเพลาลูกเบี้ยวเยื้องศูนย์สำหรับชุมชนแพทย์แผนไทย อำเภอกาบเชิง จังหวัดสุรินทร์. วารสารเกษตรศาสตร์และเทคโนโลยี. 1(3). 95-104

นูรรีย๊ะ ล่าเตะเกะ มุสตูรา ยะโกะ รัตติภรณ์ บุญทัศน์ นัฎมน โรจน์หัสดิน.(2566). ศึกษาสูตรสมุนไพรเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์นวดสมุนไพรถิ่นเพื่อการบริการด้านสุขภาพเชิงอัตลักษณ์. วารสารวิชาการสาธารณสุขชุมชน. 9(3). 81-86

ปทุมมาศ สิริกวิน กฤษณ์ พงศ์พิรุฬห์, กวิน สิริกวิน, สุธี อนันต์สุขสมศรี.(2563). สถานการณ์โรงงานผลิตยาแผนโบราณของภาครัฐและเอกชนของประเทศไทย. วารสารการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ ทางเลือก. 18(1).

รัตนพร เสนาลาด.(2564). การพัฒนาแนวทางการซื้อขายยาสมุนไพรร่วมกันระดับเขตสุขภาพที่ 7. วารสารวิชาการสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดมหาสารคาม. 5(10) 87-98

ธีรนันท์ ธนัญชัย ยิ่งยง เทาประเสริฐ กันยานุช เทาประเสริฐ ศิวพงษ์ ตันสุวรรณวงค์ ทวีศักดิ์ หลีแก้วสาย.(2565). แนวทางการผลิตยาแผนไทย โดยใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่สำหรับการเรียนการสอนนักศึกษาแพทย์แผนไทย. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์. 9(1). 88-103

กองผลิตภัณฑ์สมุนไพร. (2565). คู่มือสำหรับโรงงานผลิตผลิตภัณฑ์สมุนไพร. กองผลิตภัณฑ์สมุนไพร สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา

พระราชบัญญัติผลิตภัณฑ์สมุนไพร พ.ศ. 2562

ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการผลิตผลิตภัณฑ์สมุนไพรตามพระราชบัญญัติผลิตภัณฑ์สมุนไพร พ.ศ. 2562 พ.ศ. 25564

ชาลิสา ปานสุวรรณ์, ธันยพร เถาสุวรรณ์, นันท์นภัส พลาดิสัย.(2561). การสร้างโมเดลทางการเงินสำหรับการผลิตยาแผนโบราณในโรงพยาบาล. ปริญญานิพนธ์ เภสัชศาสตรบัณฑิต คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ธนัชพร อินโท, จันทรรัตน์ สิทธิวรนันท์.(2565). สถานการณ์และความพร้อมของสถานที่ผลิตยาแผนโบราณในเขตสุขภาพที่ 3 ในการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และวิธีการพื้นฐานในการผลิตยาแผนโบราณ พ.ศ. 2559. วารสารเภสัชกรรมไทย. 14(1). 193-208

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-31

How to Cite

โชติการณ์ ก. . . . ., ธารเจริญ อ., & แดนดงยิ่ง ร. (2024). การวิเคราะห์ต้นทุนและประเมินความพร้อมของการผลิตยาสมุนไพรของโรงพยาบาลกมลาไสยเพื่อสนับสนุนสถานบริการของรัฐ ในเขตสุขภาพที่ 7 ปี พ.ศ.2566 – 2567. วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน, 9(6), 722–732. สืบค้น จาก https://he03.tci-thaijo.org/index.php/ech/article/view/3693