การพัฒนารูปแบบการดูแลตนเองของกลุ่มสงสัยป่วยโรคความดันโลหิตสูง เพื่อป้องกันการเป็นผู้ป่วยรายใหม่ผ่านกลไกสถานีสุขภาพ (Health station) ตำบลหัวขวาง อำเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม

ผู้แต่ง

  • นงลักษณ์ โคกสีอำนวย พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ โรงพยาบาลโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม
  • สุวิมล แสงเรือง พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ โรงพยาบาลโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม
  • วีระวุฒิ ศรีอำนวย พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ โรงพยาบาลโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม
  • อาริยา แดงวงษา พยาบาลวิชาชีพปฏิบัติการ โรงพยาบาลโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม
  • พนมพรณ์ อร่ามพงษ์พันธ์ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ โรงพยาบาลโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม

คำสำคัญ:

โรคความดันโลหิตสูง, พฤติกรรมการดูแลตนเอง, สถานีสุขภาพ

บทคัดย่อ

     การวิจัยเชิงปฏิบัติการนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบริบทปัญหา พัฒนาและประเมินผลการใช้รูปแบบการดูแลตนเองของกลุ่มสงสัยป่วยโรคความดันโลหิตสูง เพื่อป้องกันการเป็นผู้ป่วยรายใหม่ผ่านกลไกสถานีสุขภาพ (Health station) ตำบลหัวขวาง อำเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม เก็บข้อมูลระหว่างเดือนมีนาคม-กรกฎาคม 2567 รวมระยะเวลา 5 เดือน กลุ่มสงสัยป่วยโรคความดันโลหิตสูง ในเขตตำบลหัวขวาง อำเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม จำนวน 83 คน เครื่องมือ ได้แก่ 1) แบบสัมภาษณ์เชิงลึก แบบเก็บข้อมูลทั่วไป 2) แบบประเมินการดูแลตนเอง 3) แบบประเมินการบริโภคเหลือโซเดียม 4) แบบประเมินพฤติกรรมการบริโภคอาหาร 5) แบบประเมินศักยภาพสถานีสุขภาพ และ 6) แบบประเมินความพึงพอใจ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา ใช้สถิติ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ paired t-test
     ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มผู้สงสัยป่วยโรคความดันโลหิตสูง จำนวน 83 คน ส่วนมากเป็นเพศหญิง ร้อยละ 76.74 อาชีพทำนา ร้อยละ 38.37 อายุส่วนมาก 60 ปีขึ้นไป ร้อยละ 42.94 (Mean± SD= 63.23 ปี± 2.34, Min=31 ปี, Max=65 ปี) สถานภาพแต่งงาน ร้อยละ 75.35 มัธยมศึกษาตอนปลาย ปวช. ร้อยละ 33.60 การพัฒนาแนวทางประกอบด้วย 5 แนวทางดังนี้ 1) ส่งเสริมการคัดกรองกลุ่มเสี่ยง โดย อสม. มีส่วนร่วม 2) พัฒนาแนวทางการดำเนินงานสถานีสุขภาพ (Health station) 3) แต่งตั้งคณะทำงานที่ชัดเจนและส่งเสริมการมีส่วนร่วมของคนในชุมชน 4) เพิ่มการเข้าถึงบริการสุขภาพในชุมชน และสร้างการรับรู้ภาวะสุขภาพของประชาชนในชุมชน 5) พัฒนาแนวปฏิบัติที่ชัดเจนในการปฏิบัติงาน ผลของการใช้รูปแบบพบว่า พฤติกรรมการดูแลตนเองเพิ่มขึ้น พฤติกรรมการลดเกลือและโซเดียมลดลง พฤติกรรมการบริโภคอาหารเสี่ยงลดลง ศักยภาพของสถานีสุขภาพเพิ่มขึ้น และความพึงพอใจเพิ่มขึ้น ภายหลังการพัฒนาอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ p <.05, t = 16.57, 14.62, 16.60, 7.94, 7.18 ตามลำดับ

References

กระทรวงสาธารณสุข กรมควบคุมโรค สำนักระบาดวิทยา. สรุปรายงานการเฝ้าระวังโรคประจำปี 2557. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย. 2557.

วิภาพร สิทธิสาตร์. วิถีชีวิต วิถีสุขภาพ และบทบาทของอาสาสมัครสาธารณสุขในการควบคุมโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ตามบริบทของชาวสวนยางพารา. วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีพุทธชินราช. 2560.

สำนักโรคไม่ติดต่อ ก. รวม 4 โรค/ความดันโลหิตสูง/เบาหวาน/หัวใจขาดเลือด/หลอดเลือด สมอง/หลอดลมอักเสบ/ถุงลมโป่งพอง2022 [cited 2566 2 มิถุนายน 2567].

จารุจิต ประจิตร. การพัฒนาระบบบริการผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังโรงพยาบาลชุมพวงโดยใช้หลักการพื้นฐานของลีนและการเว้นระยะห่างทางกายภาพ. วารสารวิจัยและพัฒนาด้านสุขภาพ. 2565; 8(1):18-37.

อาคม รัฐวงษา. การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตาบล อำเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม. วารสารสุขภาพและสิ่งแวดล้อมศึกษา. 2563;ปีที่ 5 ฉบับที่ 2.

Organization WHO. Innovative care for chronic condition.2022.

Health MoPH. Public Health Statistics A.D.2023. Mahasarakham Province. Health data center 2022 [cited 2022 2 February 2024]. Available from:https://data.moph.go.th/.

Yavalak W. The Effects of Management for Motivation to Prevent Disease in Patients with Non-Insulin DependentType of Diabetes, Tha Tum District, Nakhon Phanom Province. Master's Degree Thesis Mahasarakham University. 2017.

World Health Organization (WHO).World Health Statistics. WHO library Cataloguing in Publication Data. 2017.

Hung HC, Joshipura KJ, Jiang R, Hu FB, Hunter D, Smith-Warner SA; et al. (2004). Fruitandvegetable intake and risk of major chronic disease. Journal of the National CancerInstute. 96:1557-1584.

โรงพยาบาลโกสุมพิสัย. รายงานสถานการณ์ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงรายใหม่ประจำปี 2566. สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดมหาสารคาม. 2566.

สุภาพร มงคลหมู่, ชนัญชิดาดุษฎี ทูลศิริ, พรนภา หอมสินธุ์. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความรอบรู้ด้านสุขภาพในการป้องกันโรคความดันโลหิตสูงของกลุ่มเสี่ยงในอำเภอนาดี จังหวัดปราจีนบุรี. วารสารไทยเภสัชศาสตร์และวิทยาการสุขภาพ. 2565;17(2):168-75.

เรียมใจ พลเวียง และ มิ่งขวัญ ภูหงษ์ทอง.การพัฒนารูปแบบการควบคุมระดับความดันโลหิตในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน อำเภอเปือยน้อย จังหวัดขอนแก่น 2565;31(1):26-35.

อมรรัตน์ พันธ์คีรี.การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงกลุ่มเสี่ยงโรคหลอดเลือดสมอง พื้นที่อำเภอมะนัง จังหวัดสตูล.วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมการแพทย์และสุขภาพ 2566;8(3):677-688.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-31

How to Cite

โคกสีอำนวย น. . . ., แสงเรือง ส. . ., ศรีอำนวย ว. ., แดงวงษา อ. . ., & อร่ามพงษ์พันธ์ พ. . (2024). การพัฒนารูปแบบการดูแลตนเองของกลุ่มสงสัยป่วยโรคความดันโลหิตสูง เพื่อป้องกันการเป็นผู้ป่วยรายใหม่ผ่านกลไกสถานีสุขภาพ (Health station) ตำบลหัวขวาง อำเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม . วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน, 9(6), 774–784. สืบค้น จาก https://he03.tci-thaijo.org/index.php/ech/article/view/3696