ผลของการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดเพื่อป้องกันความรุนแรงของการดำเนินโรค หอผู้ป่วยอายุรกรรม โรงพยาบาลวานรนิวาส จังหวัดสกลนคร

ผู้แต่ง

  • พจนาฏ ศรีธรรมมา โรงพยาบาลวานรนิวาส

คำสำคัญ:

แนวปฏิบัติทางการพยาบาล, ภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด, หอผู้ป่วยอายุรกรรม

บทคัดย่อ

     การศึกษากึ่งทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดเพื่อป้องกันความรุนแรงของการดำเนินโรค ในแผนกหอผู้ป่วยอายุรกรรม โรงพยาบาลวานรนิวาส กลุ่มตัวอย่าง 2 กลุ่ม ได้แก่ 1) พยาบาลวิชาชีพผู้ปฏิบัติงานในหอผู้ป่วยอายุรกรรม จำนวน 20 คน 2) ผู้ป่วยที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดที่เข้ารับการรักษาแผนกหอผู้ป่วยอายุรกรรม โรงพยาบาลวานรนิวาส ระหว่างวันที่ 9 กันยายน – 30 พฤศจิกายน 2567 เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงตามคุณสมบัติที่กำหนด จำนวน 60 คน แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือกลุ่มผู้ป่วยที่ได้รับการดูแลตามแนวปฏิบัติฯแบบเดิม จำนวน 30 คน และกลุ่มผู้ป่วยที่ได้รับการดูแลตามแนวปฏิบัติฯแบบใหม่ จำนวน 30 คน เครื่องมือในการเก็บข้อมูลประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลทั่วไปของพยาบาลวิชาชีพ แบบสอบถามการปฏิบัติการพยาบาลตามแนวปฏิบัติฯ แบบสอบถามความพึงพอใจต่อการใช้แนวปฏิบัติฯแบบใหม่ และแบบบันทึกผลลัพธ์หลังใช้แนวปฏิบัติ เครื่องมือในการทดลองคือ แนวปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติเปรียบเทียบใช้ Paired t-test
     ผลการศึกษาพบว่าคะแนนเฉลี่ยการปฏิบัติตามแนวปฏิบัติฯแบบเดิมและแบบใหม่อยู่ในระดับสูง (equation= 104.75, S.D.=17.13; equation= 123.60, S.D.=6.90) เมื่อเปรียบเทียบพบว่าคะแนนเฉลี่ยการปฏิบัติตามแนวปฏิบัติฯแบบใหม่สูงกว่าการปฏิบัติตามแนวปฏิบัติฯแบบเดิมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t=-5.951, p<0.001) ด้านผลลัพธ์ต่อผู้รับบริการพบว่ากลุ่มที่ได้รับการดูแลตามแนวปฏิบัติฯแบบเดิมเกิดภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดระดับรุนแรง/เกิดภาวะช็อกจากการติดเชื้อร้อยละ 10.0 อัตราการเสียชีวิตร้อยละ 3.3 นอนรักษาในโรงพยาบาลไม่เกิน 7 วันร้อยละ 76.7 ค่าเฉลี่ยจำนวนวันนอนโรงพยาบาลเท่ากับ 6.07 วัน (S.D.=5.03) ส่วนกลุ่มที่ได้รับการดูแลตามแนวปฏิบัติฯแบบใหม่เกิดภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดระดับรุนแรง/เกิดภาวะช็อกจากการติดเชื้อลดลงเป็นร้อยละ 3.3 อัตราการเสียชีวิตลดลงเป็นร้อยละ 0.0 นอนรักษาในโรงพยาบาลไม่เกิน 7 วันเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 96.7 ค่าเฉลี่ยจำนวนวันนอนโรงพยาบาลลดลงเหลือ 3.93 วัน (S.D.=2.19) และพยาบาลวิชาชีพพึงพอใจต่อการใช้แนวปฏิบัติฯแบบใหม่ในระดับมากที่สุด

References

กระทรวงสาธารณสุข. ระบบวัดผลการดำเนินงานรายตัวชี้วัด (Health KPI) [อินเตอร์เน็ต]. เข้าถึงเมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม 2567]. แหล่งข้อมูล http://healthkpi.moph.go.th

Bone RC, Balk RA, Cerra FB, Dellinger RP, Fein AM, Knaus WA, Schein RM, Sibbald WJ. Definitions for sepsis and organ failure and guidelines for the use of innovative therapies in sepsis. The ACCP/SCCM Consensus Conference Committee, American College of Chest Physicians/Society of Critical Care Medicine. Chest 1992,101(6),1644-1655.

Fylnn MMB, Elizabeth B. Managing Sepsis and Septic Shock: Current Guidelines and Definitions. American Journal Nursing 2018,118(2),34-39.

นาตยา บุญสุข. ผลการใช้แนวปฏิบัติในการดูแลผู้ป่วยที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดโรงพยาบาลเกาะ สมุย. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์ 2566,10(7),286-296.

ประภาพรรณ สิงห์โตและทองเปลว ชมจันทร์. กระบวนการและผลลัพธ์ของการดูแลแบบมุ่งเป้าใน 6 ชั่วโมงแรกในผู้ป่วยที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดชนิดรุนแรงและภาวะช็อกจากการติดเชื้อ. วารสารการพยาบาลและสุขภาพ สสอท. 2564,3(2),1-21.

นิตยา ภูริพันธ์, อำนาจ กาศสกุลและณัฐวรรณ พละวุฑิโฒทัย. ผลลัพธ์ของการพัฒนาการใช้ Sepsis Protocol Checklist Lerdsin Hospital. วารสารวิจัยสุขภาพและการพยาบาล 2563,36(1),12-20.

ธารทนา วงษ์ทวี, อภิญญา ศิริพิทยาคุณกิจและสุนทรี เจียรวิทยกิจ. การประเมินผลการใช้แนวปฏิบัติทางการพยาบาลในการดูแลผู้ป่วยภาวะเซพซิสต่อผลลัพธ์ทางคลินิกในหอผู้ป่วยอายุรกรรม. รามาธิบดีพยาบาลสาร 2563,26(2),155-171.

ระบบคลังข้อมูลด้านการแพทย์และสุขภาพ (HDC). ตัวชี้วัดกระทรวงสาธารณสุขปี 2567. สืบค้นเมื่อวันที่ 5 มิถุนายน 2567 จากแหล่งข้อมูล HDC Service

Easton D. A sytems analysis of political life. New Yourk:Wiley;1965b.

Faul F, Erdfelder E, Lang A-G, & Buchner A. G*Power 3: A flexible statistical power analysis program for the social, behavioral, and biomedical sciences. Behavior Research Methods 2007,39,175-191.

Cohen J. Statistical power analysis for the behavioral sciences. 2nd ed. Hillsdale, New Jersey: Lawrence Erlbaum Associates;1988.

Bloom BS. Handbook on formative and summative evaluation of student learning. New York: McGraw-Hill;1971.

ศิริวรรณ เสรีรัตน์และคณะ. การตลาดบริการ. กรุงเทพฯ: บริษัท ซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัด;2549.

สมใจ จันทะวัง. การพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยที่มีภาวะช็อกจากการติดเชื้อในกระแสเลือด ในงานหอผู้ป่วยหนัก 2 โรงพยาบาลลำพูน. วารสารโรงพยาบาลแพร่ 2561,26(1),35-46.

พรรณี ชูศรี, อิสราภรณ์ ปัญญาและปิยะเนตร ปานเกิด. การพัฒนาแนวทางการดูแลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือดหอผู้ป่วยอายุรกรรมหญิง 1 โรงพยาบาลพุทธชินราช พิษณุโลก. วารสารการพยาบาล สุขภาพ และสาธารณสุข 2565,1(2),12-27.

ภัทราวรรณ ขุนทองและวารินทร์ บินโฮเซ็น. คุณภาพการจัดการดูแลผู้ที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด หอผู้ป่วยวิกฤตอายุรกรรม โรงพยาบาลตติยภูมิ. วารสารการพยาบาลและสุขภาพ สสอท 2566,5(3),1-18.

สิรินทร วิบูลชัย, วนิดา เคนทองดี และพรพิมล คำประเสริฐ. การพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือดกลุ่มงานศัลยกรรม โรงพยาบาลเลย. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ 2563,38(2),119-128.

ลักคณา บุญมี, จิริยา อินทนา, คริณธร มังคะมณี, เยาวลักษณ์ มีบุญมากและอัคนี วันชัย. ผู้ป่วยกลุ่มอาการติดเชื้อกระแสเลือด: บทบาทพยาบาล. เชียงรายเวชสาร 2561,10(2),268-276.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-31

How to Cite

ศรีธรรมมา พ. . (2024). ผลของการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดเพื่อป้องกันความรุนแรงของการดำเนินโรค หอผู้ป่วยอายุรกรรม โรงพยาบาลวานรนิวาส จังหวัดสกลนคร. วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน, 9(6), 551–561. สืบค้น จาก https://he03.tci-thaijo.org/index.php/ech/article/view/3709