ปัญหาและความต้องการระบบเวชระเบียนอิเลคทรอนิกส์เพื่อรายงานการรักษาผู้ป่วยในงานการพยาบาลเรือนจำ

ผู้แต่ง

  • กฤชฐา สีหบัณฑ์ ว่าที่ร้อยตรี นักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระราชูปถัมภ์
  • พรรณี บัญชรหัตถกิจ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระราชูปถัมภ์
  • ทัศพร ชูศักดิ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระราชูปถัมภ์

คำสำคัญ:

เวชระเบียน, เวชระเบียนอิเล็กทรอนิกส์, ระบบต้นแบบเวชระเบียนอิเล็กทรอนิกส์

บทคัดย่อ

     การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey research) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาและความต้องการระบบเวชระเบียนของงานการพยาบาลเรือนจำ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่เจ้าหน้าที่พยาบาลที่ปฏิบัติหน้าที่งานเวชระเบียนของสถานพยาบาลในเรือนจำ สังกัดกรมราชทัณฑ์ เขต1 – เขต10 เก็บรวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณ ด้วยแบบสอบถามความคิดเห็นโดยการสุ่มตัวอย่าง อย่างง่าย เขตละ 1 เรือนจำ จำนวน 10 เรือนจำๆละ 1 คน และข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกเจ้าหน้าที่พยาบาลที่ปฏิบัติหน้าที่งานเวชระเบียนของสถานพยาบาลในเรือนจำ สังกัดกรมราชทัณฑ์ จำนวน    10 คน เก็บข้อมูลเมื่อ เดือนกรกฎาคม-ตุลาคม 2567 วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณใช้สถิติเชิงพรรณนา จำนวนร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์เชิงเนื้อหา
     ผลการวิจัย พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 70.0 มีช่วงอายุระหว่าง 40-49ปี ร้อยละ 60.0 มีตำแหน่งทางวิชาการระดับชำนาญการพิเศษ ร้อยละ 50.0 การศึกษาอยู่ในระดับปริญญาตรี ร้อยละ 70.0 มีประสบการณ์ในการทำงานในสถานพยาบาลเรือนจำอยู่ในช่วง 20-29ปี ร้อยละ 50.0 ภาพรวมของระดับความคิดเห็นต่อปัญหาการใช้เวชระเบียนกระดาษอยู่ในระดับมาก มีค่าคะแนนเฉลี่ย 4.37 ในรายด้านพบว่ามีความคิดเห็นต่อปัญหาด้านการจัดการเวชระเบียนในระดับมากที่สุด ค่าคะแนนเฉลี่ย 4.56

References

แผนปฏิบัติราชการระยะ 5 ปี (2566-2570) กรมราชทัณฑ์https://drive.google.com/drive/folders/15q0-rFcLyUKWcHS5j778zeAHp_hXhl44 สืบค้น เมื่อวันที่ 7 เมษายน 2566

กองระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค. สรุปรายงานการเฝ้าระวังโรค Epidemiological Surveillance Report 2019 2019 ประจำปี2562, 2562

กิตติยาพร ทองไทย, คุณวราดิศัย แสวงวัชระธนกิจ.การยอมรับการใช้เวชระเบียน อิเล็กทรอนิกส์ของคลินิกแพทย์และทันตแพทย์.วารสารเภสัชกรรมไทย 9.2 (2019): 489-498.

ศิวนาฏ พีระเชื้อ; กัญจนี วชิรรังสิมันตุ์. ความถูกต้องในการตรวจวินิจฉัยของชุดทดสอบแอนติเจนอย่าง รวดเร็วในการระบุผู้ป่วยติดเชื้อโควิด 19 ที่เข้ารับการรักษาในแผนกฉุกเฉินของโรงพยาบาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชจังหวัดตาก.วารสารสาธารณสุขล้านนา, 2021,17.2:14-25.

นพมาศ เครือสุวรรณ,ประเสริฐ อินทร์รักษ์. การ บริหารการพัฒนางานเวชระเบียนในประเทศไทย.วารสารวิชาการบัณฑิตวิทยาลัยสวนดุสิต 14.2 (2018): 171-190.

มนัสวี ธนารักษ์พงศกร;อภิชญา ตั้งจุฑารัตน์; แสงเทียน อยู่เถา.แนวทางการพัฒนาเวชระเบียนผู้ป่วยนอกสำหรับผู้สูงอายุ:กรณีศึกษาโรงพยาบาลทหารผ่านศึก.วารสารสังคมศาสตร์บูรณาการ มหาวิทยาลัยมหิดล,2564

กุลฉัตร ยงยืนนาน, ฐิตารีย์ ศิริศรีษรชัย,อุดม สิทธิ์จีรสิทธิ์กุล.การพัฒนาระบบสารสนเทศในการบันทึกเวช ระเบียนผู้ป่วยนอกของแพทย์กรณีศึกษาโรงพยาบาลราษฎร์บูรณะ.วารสารโรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์, 2022,18.2: 43-61.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-31

How to Cite

สีหบัณฑ์ ก. ., บัญชรหัตถกิจ พ. ., & ชูศักดิ์ ท. . (2024). ปัญหาและความต้องการระบบเวชระเบียนอิเลคทรอนิกส์เพื่อรายงานการรักษาผู้ป่วยในงานการพยาบาลเรือนจำ. วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน, 9(6), 812–823. สืบค้น จาก https://he03.tci-thaijo.org/index.php/ech/article/view/3721