การพัฒนารูปแบบการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุระยะยาวในกลุ่มที่มีภาวะพึ่งพิง โรงพยาบาลนามน จังหวัดกาฬสินธุ์
คำสำคัญ:
การพยาบาลผู้สูงอายุ, การดูแลระยะยาว, ภาวะพึ่งพิงบทคัดย่อ
การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาพัฒนาและใช้รูปแบบการพัฒนารูปแบบการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุระยะยาวในกลุ่มที่มีภาวะพึ่งพิง โรงพยาบาลนามน จังหวัดกาฬสินธุ์ ทำการศึกษาระหว่างตุลาคม 2566 - ตุลาคม 2567 กลุ่มตัวอย่าง เชิงคุณภาพ ได้แก่ บุคลากรภาคีเครือข่ายสุขภาพ จำนวน 69 คน เชิงปริมาณผู้สูงอายุติดบ้านและติดเตียง จำนวน 60 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ แนวคำถามกึ่งโครงสร้างในการพัฒนารูปแบบ แบบสัมภาษณ์ข้อมูลทั่วไป แบบประเมินคัดกรองการดำเนินชีวิตประจำวัน (ADL) แบบการประเมินความเศร้า (TGDS) แบบประเมินคุณภาพชีวิต แบบประเมินความพึงพอใจ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพเชิงเนื้อหาแบบสามเส้า เชิงปริมาณใช้สถิติพรรณนา ร้อยละ มัธยฐาน และเปรียบเทียบก่อนหลังด้วยสถิติ paired-t test
ผลการศึกษา กระบวนการพัฒนา12 รูปแบบสำคัญดังนี้ 1) ตรวจคัดกรองผู้สูงอายุให้ครอบคลุม 2) จัดทำ care plan ทุกราย 3) เยี่ยมแบบองค์รวมโดยทีมสหวิชาชีพ 4) สร้างการมีส่วนร่วมของชุมชน 5) จัดระบบบริการต่อเนื่องประสานทุกระดับ 6) มีนโยบายและกิจกรรมโครงการที่ครอบคลุม 7) บูรณาการช่วยเหลือสนับสนุนจากหน่วยงานอื่นๆ 8) ส่งเสริมการออกกำลังกายในผู้สูงอายุ 9) ส่งเสริมความรู้ในผู้สูงอายุและผู้ดูแล 10) ส่งเสริมอาชีพและรายได้ผู้สูงอายุ 11) สนับสนุนการจัดการสิ่งแวดล้อมในบ้านผู้สูงอายุ 12) สนับสนุนการดูแลสุขภาพจิตใจ ผลลัพธ์ของรูปแบบส่งผลให้ผู้สูงอายุมีสุขภาพกาย (ADL) และจิตใจ (TGDS) ดีขึ้น ระดับคุณภาพชีวิตดีขึ้น ระดับความพึงพอใจดีขึ้น อย่างมีนัยยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (t=6.18, 8.13, 6.26, 5.18)
References
กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. รายงานการสำรวจสุขภาวะผู้สูงอายุไทย ปี 2556 ภายใต้แผนงานส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุและผู้พิการ. โรงพิมพ์วัชรินทร์ พี.พี. นนทบุรี. 2566.
สำนักงานสถิติแห่งชาติ. การสำรวจประชากรสูงอายุในประเทศไทย พ.ศ. 2564. สืบค้นเมื่อ 8 สิงหาคม 2566. จาก http://www.nso.go.th.
จันทร์พ็ญ ชูประภาวรรณ. บรรณาธิการ : สถานะสุขภาพคนไทย. สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขสืบค้นเมื่อ 8 สิงหาคม 2566 จาก https://www.hiso.or.th/hiso/picture/reportHealth/report27.pdf
ชมพูนุท พรหมภักดิ์. การเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุของประเทศไทย. สืบค้นเมื่อ 23 กันยายน 2560,แหล่งที่มา https://goo.gl/2N4SLn
ระบบ Health Data Center กระทรวงสาธารณสุข. ข้อมูลประชากรจำแนกเพศ กลุ่มอายุรายปี จังหวัดกาฬสินธุ์ ปี 2566. สืบค้น 8 สิงหาคม 2566.จาก https://hdcservice.moph.go.th
สุวมน โพนสาลี. การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ในเขตเทศบาล ตำบลกุดสิม อำเภอเขาวง จังหวัดกาฬสินธุ์. วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน.2567; 9(2): 621-630.
จินต์ประวีร์ เจริญฉิม. รูปแบบกระบวนการถ่ายทอดศักยภาพภูมิปัญญาของผู้สูงอายุสู่ชุมชนและสังคมที่ยั่งยืน. [วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต]. กรุงเทพ: มหาวิทยาลัยศิลปากร; 2565.
ปฏิภาณี ขันธโภค และคณะ. การใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นสำหรับการรักษาหรือส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุ ในตำบลรางจรเข้ อำเภอเสนา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยการพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้.2565; 9(2): 220-234.
อรนุช วงศ์วัฒนาเสถียร และคณะ. การส่งเสริมการดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุโดยใช้ภูมิปัญญาพื้นบ้านของไทย ตำบลแวงน่าง อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม. วารสารราชพฤกษ์.2563; 18(2): 128-136.
ธีรพัฒน์ สุทธิประภา และคณะ. การประยุกต์ภูมิปัญญาท้องถิ่นในการดูแลผู้สูงอายุแบบมีส่วนร่วมในชุมชน อำเภอนามน จังหวัดกาฬสินธุ์. วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน.2567; 9(4): 665-671.