ผลของการส่งเสริมชุดการดูแลในการปฏิบัติการพยาบาลเพื่อป้องกันการติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะในผู้ป่วยบาดเจ็บหลายระบบที่ได้รับการใส่สายสวนปัสสาวะหอผู้ป่วยวิกฤตศัลยกรรมอุบัติเหตุ โรงพยาบาลระดับตติยภูมิ

ผู้แต่ง

  • ณัฐรินีย์ วงศ์ศรีจันทร์ พย.บ.โรงพยาบาลสกลนคร
  • ณัฐวิภา บุญเกิดรัมย์ พย.ม. โรงพยาบาลสกลนคร
  • จรรยา ชมชายผล พย.บ. โรงพยาบาลสกลนคร
  • ณัฐธยาน์ พันธุออน พย.ม. โรงพยาบาลสกลนคร

คำสำคัญ:

ชุดการดูแล, ติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะ, การคาสายสวนปัสสาวะ

บทคัดย่อ

     การวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลอง (Quasi-experimental research) แบบกลุ่มเดียววัดก่อนและหลังการทดลอง (One-group pretest-posttest design) เพื่อศึกษาผลของการส่งเสริมการใช้ชุดการดูแล (care bundle) ในการปฏิบัติการพยาบาลเพื่อป้องกันการติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะในผู้ป่วยบาดเจ็บหลายระบบ      ที่ได้รับการใส่สายสวนปัสสาวะ ดำเนินการในหอผู้ป่วยวิกฤตศัลยกรรมอุบัติเหตุ โรงพยาบาลระดับตติยภูมิ ระหว่างเดือนพฤศจิกายน 2567 ถึงเดือนกุมภาพันธ์ 2568 ประชากรที่ศึกษาประกอบด้วย พยาบาลวิชาชีพจำนวน 13 ราย และผู้ป่วยจำนวน 24 ราย เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วย 1) ชุดการดูแลตาม APSIC guideline เพื่อป้องกันการติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะในผู้ป่วยที่คาสายสวนปัสสาวะ 2) คู่มือการใช้ชุดการดูแลสำหรับพยาบาล 3) แผนการอบรมเชิงปฏิบัติการและสื่อประกอบการสอน 4) แบบทดสอบความรู้เกี่ยวกับการป้องกันการติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะ 5) แบบสังเกตการปฏิบัติตามชุดการดูแล 6) แบบบันทึกข้อมูลการคาสายสวนปัสสาวะ เช่น วันที่ใส่ วันที่ถอด ระยะเวลาการคา 7) แบบบันทึกการเฝ้าระวังโรคติดเชื้อ CAUTI ที่ผ่านการตรวจสอบความตรง ของเนื้อหาและความเชื่อมั่น แล้วนำไปวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา วิเคราะห์ความแตกต่าง ของค่าเฉลี่ยคะแนนความรู้ คะแนนการปฏิบัติการพยาบาล โดยใช้สถิติ Paired t-test
     ผลการศึกษาพบว่า ค่าคะแนนความรู้ของพยาบาลวิชาชีพก่อนและหลังให้ความรู้มีความ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.0001) คะแนนการปฏิบัติการพยาบาลเพื่อการป้องกันการติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะ (CAUTI) ในผู้ป่วยบาดเจ็บหลายระบบที่ได้รับการใส่สายสวนปัสสาวะหลังการส่งเสริมการใช้ชุดการดูแล (care bundle) สูงกว่าก่อนการส่งเสริมการใช้ชุดการดูแล (care bundle) มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.0001) และอัตราอุบัติการณ์การติดเชื้อลดลงจาก 5.27 เหลือ 2.18 ครั้งต่อ 1,000 วันคาสายสวนปัสสาวะ มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ (p<0.0001)  

References

Rhee, C., Phelps, M. E., Meyer, B., & Reed, W. G. (2016). Viewing Prevention of Catheter- Associated Urinary Tract Infection as a System: Using Systems Engineering and Human Factors Engineering in a Quality Improvement Project in an Academic Medical Center. Joint Commission journal on quality and patient safety, 42(10), 447–471. https://doi.org/10.1016/s1553-7250(16)42060-x

เยาวลักษณ์ อโณทยานนท์. (2563). ปัจจัยที่มีผลต่อการติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะที่สัมพันธ์กับการใส่คา สายสวนปัสสาวะ ในโรงพยาบาลตติยภูมิ. วารสารพยาบาลตำรวจ. 12(1), 48-57.

จุฬาพร ขำดี. (2561). ผลการส่งเสริมการปฏิบัติการพยาบาลเพื่อป้องกันการติดเชื้อในระบบทางเดิน ปัสสาวะจากการคาสายสวนปัสสาวะ งานผู้ป่วยในโรงพยาบาลศรีประจันต์. วารสารวิทยาลัยพบยาบาลบรม ราชชนนีสุพรรณบุรี. 1(2), 39-55.

Rosenthal VD, Maki DG, Jamulitrat S, Medeiros EA, Todi KS, Gomez DY, et al., International Nosocomial Infection Control Consortium (INICC) report, data summary for 2003-2008, issued June 2009. American Journal of Infection Control 2010; 38(2):95-104

Centers for Disease Control and Prevention. (2019). GUIDELINE FOR PREVENTION OF CATHETERASSOCIATED URINARY TRACT INFECTIONS 2009 (Last update: June 6, 2019) Retrieved from https://www.cdc.gov/infection-control/media/pdfs/Guideline-CAUTI-H.pdf

พารุณี วงษ์ศรี, สดสวย ทองมหา, นิภาพร บุตรสิงห์, สุมาวดี สกุนตนิยม, และอสิตา วงศ์ไพรกรณ์. (2566). ปัจจัยเสี่ยงต่อการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะที่สัมพันธ์กับการคาสายสวนปัสสาวะในศูนย์แพทย์ระดับตติยภูมิ. วารสารวิจัยและนวัตกรรมทางการพยาบาล, 29(3), 303-318.

Zegeye AF, Kassahun CW, Temechu YZ. Knowledge, practice and associated factors of catheter-associated urinary tract infection prevention among nurses working at University of Gondar. Comprehensive Specialized Hospital, Northwest Ethiopia; 2021.

Teshager, T., Hussien, H., Kefyalew, M. et al. Knowledge, practice and associated factors of nurses towards prevention of catheter-associated urinary tract infection in intensive care unit of public hospitals administered by Federal Government in Addis Ababa, Ethiopia: a cross-sectional institutional-based study. BMC Nurs 21, 186 (2022). https://doi.org/10.1186/s12912-022-00968-1

พัชดาภา ประจักกะตา. (2559). รูปแบบการป้องกันการติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะในผู้ป่วยคาสายสวน ปัสสาวะ โรงพยาบาลโกสุมพิสัย. วารสารวิชาการสาธารณสุข. 25(1), 104-110.

Ling, M. L., Ching, P., Apisarnthanarak, A., Jaggi, N., Harrington, G., & Fong, S. M. (2023). APSIC guide for prevention of catheter associated urinary tract infections (CAUTIs). Antimicrobial Resistance & Infection Control, 12(1), 52.

โรงพยาบาลสกลนคร. (2567). รายงานการเฝ้าระวังการติดเชื้อ โรงพยาบาลสกลนคร ปี 2565-2567. งานป้องกันและควบคุมการติดเชื้อ โรงพยาบาลสกลนคร.

อนุสรา แก้ววิชัย. (2558). ผลของการส่งเสริมการปฏิบัติตามหลักฐานเชิงประจักษ์ ในการป้องกันการติด เชื้อทางเดินปัสสาวะจากการคาสายสวนปัสสาวะ ในหอผู้ป่วยวิกฤตศัลยกรรมระบบประสาท โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ. งานการพยาบาลผปวยวกฤตศลยกรรมระบบประสาท โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ. 104 หน้า.

อารยา สุขประเสริฐ. (2558). การลดการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ โดยการเอาสายสวนปัสสาวะออกให้เร็วที่สุด. วารสารพยาบาลสวนดอก โรงพยาบาลมหาราชเชียงใหม่. 21(1), 5-7.

ธิดา กัมพูพงศ์, มาลีวรรณ เกษตรทัต, ศศิประภา ตันสุวัฒน์ และ ธนิญา น้อยเปียง. (2556). การพัฒนาแนวปฏิบัติทางการพยาบาลในการป้องกันการติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะในผู้ป่วย ที่ได้รับการคาสายสวนปัสสาวะในโรงพยาบาลลำพูน. วารสารสาธารณสุขล้านนา. 9(2), 76-98.

มารศรี มีธูป, จันทร ธูปบูชา, วัชราภรณ์ ไพโรจน์ และ อุทัย ทองเครือม. ผลการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลเพื่อป้องกันการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ ต่อการเกิดการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะในผู้หญิงสูงอายุกระดูกสะโพกหัก. กลุ่มงานการพยาบาลควบคุมและป้องกันการติดเชื้อ โรงพยาบาลพุทธชินราช พิษณุโลก. 13 หน้า.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2025-02-28

How to Cite

วงศ์ศรีจันทร์ ณ., บุญเกิดรัมย์ ณ., ชมชายผล จ., & พันธุออน ณ. . (2025). ผลของการส่งเสริมชุดการดูแลในการปฏิบัติการพยาบาลเพื่อป้องกันการติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะในผู้ป่วยบาดเจ็บหลายระบบที่ได้รับการใส่สายสวนปัสสาวะหอผู้ป่วยวิกฤตศัลยกรรมอุบัติเหตุ โรงพยาบาลระดับตติยภูมิ. วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน, 10(1), 680–689. สืบค้น จาก https://he03.tci-thaijo.org/index.php/ech/article/view/3963