ปัจจัยที่มีผลต่อความผาสุกทางจิตวิญญาณของผู้สูงอายุ

ผู้แต่ง

  • วนิดา เคนทองดี
  • อรอุมา แก้วเกิด
  • ยุทธชัย ไชยสิทธิ์

คำสำคัญ:

ความผาสุกทางจิตวิญญาณของผู้สูงอายุ

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงภาคตัดขวาง (Cross- sectional study) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อความผาสุกทางจิต
วิญญาณของผู้สูงอายุ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้เก็บข้อมูลเชิงปริมาณคือผู้สูงอายุ จำนวน 109 คน เก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างวันที่ 30
พฤศจิกายน 2564 ถึงวันที่ 20 มีนาคม 2565 เครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณ ได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถาม
การสนับสนุนทางสังคม และแบบสอบความผาสุกทางจิตวิญญาณมีค่าความเชื่อมั่นสัมประสิทธิ์แอลฟาครอนบาคเท่ากับ .70 และ .74
ตามลำดับ ส่วนเครื่องมือ ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยที่มีผลต่อความผาสุกทางจิตวิญญาณของผู้สูงอายุ ได้แก่ เพศชาย การสนับสนุนทาง
สังคม และการตักบาตรทุกวันไม่ได้ไปวัด สามารถทำนายความผาสุกทางจิตวิญญาณของผู้สูงอายุได้ร้อยละ 14.1 (R2 = .141, β=-.306, R2
adjusted = .141, t = -2.081, p < 0.05) ร้อยละ 11.4 (R2= .131, R2 adjusted = .114, t = 2.737, p < 0.05) และร้อยละ 5.9 (R2= .068,
β=-.186, R2 adjusted = 0.059, -3.389, p < 0.05) ตามลำดับ ดังนั้น บุคลากรสุขภาพควรออกแบบกิจกรรมที่ส่งเสริมความผาสุกทางจิต
วิญญาณสาหรับผู้สูงอายุ โดยคานึงถึงปัจจัยด้านเพศ การสนับสนุนทางสังคม และการตักบาตรสาหรับผู้สูงอายุควรแนะนาให้ทากิจกรรม
ตักบาตรและเข้าวัด

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-11-02