การพัฒนารูปแบบการดูแลต่อเนื่องในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตันเฉียบพลัน โรงพยาบาลเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด

ผู้แต่ง

  • ยวนจิตร ภักตะภา

คำสำคัญ:

การพัฒนารูปแบบ, การดูแลต่อเนื่องในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตันเฉียบพลัน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา มีวัตถุประสงค์เพื่อการพัฒนารูปแบบการดูแลต่อเนื่องในผู้ป่วยโรค
หลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตันเฉียบพลันโรงพยาบาลเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ
ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตันเฉียบพลันที่ถูกส่งตัวกลับจากโรงพยาบาลร้อยเอ็ดมานอนรักษาตัวในหอ
ผู้ป่วยใน โรงพยาบาลเสลภูมิ ทาการคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง(Purposive Sampling) จานวน 35
ราย เก็บรวบรวมข้อมูลจากแบบสอบถาม แบบประเมินความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจาวันของผู้ป่วย
(Barthel ADL Index)ของสถาบันประสาทวิทยา กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข แบบประเมินความพิการ
(The Modified Rankin Scale : mRs) และแบบประเมินผลความพึงพอใจของผู้ป่วยและญาติต่อการให้บริการการ
ดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตันเฉียบพลัน
ผลการวิจัยพบว่า หลังจากนารูปแบบการดูแลต่อเนื่องในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตัน
เฉียบพลัน โรงพยาบาลเสลภูมิมาใช้ในการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตัน พบว่า วันที่จาหน่ายผู้ป่วย
ออกจากโรงพยาบาลผู้ป่วยมีค่าเฉลี่ยคะแนนการประเมินความสามารถในการทากิจวัตรประจาวันเพิ่มขึ้นมากกว่า
วันที่รับผู้ป่วยไว้ในโรงพยาบาลอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติ (p-value = <0.0001, 95%CI = 1.94 – 3.36) มีค่าเฉลี่ย
คะแนนการประเมินความพิการ(The Modified Rankin Scale : mRs) ลดลงน้อยกว่าวันที่รับผู้ป่วยไว้ใน
โรงพยาบาลอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติ (p-value = <0.0001, 95%CI = 0.44 – 0.81) และความพึงพอใจของผู้ป่วย
และญาติต่อการให้บริการการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองสมองตีบหรืออุดตันเฉียบพลัน พบว่า ค่าเฉลี่ยคะแนน
ความพึงพอใจโดยรวมในการมารับบริการเท่ากับ 4.11 (S.D.=0.79) อยู่ในระดับมากที่สุด

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-11-02