การประเมินมาตรฐานส้วมและการทดสอบการปนเปื้อนแบคทีเรียโคลิฟอร์ม ในแผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลสกลนคร
คำสำคัญ:
มาตรฐานส้วมสาธารณะ (HAS), โคลิฟอร์มแบคทีเรีย, โรงพยาบาลสกลนครบทคัดย่อ
การศึกษาวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษามาตรฐานส้วมสาธารณะ
ในแผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลสกลนครตามมาตรฐานส้วมสาธารณะ (HAS) ของกรมอนามัยและศึกษาการปนเปื้อน
โคลิฟอร์มแบคทีเรีย (Coliform bacteria) ดาเนินการสุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางสาเร็จรูปของเครจซี่และมอร์แกนได้
กลุ่มตัวอย่างจานวน 86 ห้อง และมีเครื่องมือในการเก็บตัวอย่าง 2 ส่วน ได้แก่ 1) มาตรฐานส้วมสาธารณะ (HAS) ของ
กรมอนามัย และ 2) ชุดทดสอบโคลิฟอร์มแบคทีเรีย(SI-2) วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ จำนวน ร้อย
ละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัย พบว่า ห้องส้วมในแผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลสกลนครผ่านเกณฑ์มาตรฐานส้วมสาธารณะ (HAS)
ทั้ง 16 ข้อ จานวน 22 ห้อง ร้อยละ 25.6 และเมื่อแจกแจงเป็นรายด้านพบว่า ด้านสะอาด (Healthy) ผ่านมาตรฐาน
26 ห้อง ร้อยละ 30.2 ด้านเพียงพอ (Accessibility) จำนวน 78 ห้อง ร้อยละ 90.7 และด้านปลอดภัย (Safety)
จำนวน 75 ห้อง ร้อยละ 87.2 สาหรับการปนเปื้อนเชื่อโคลิฟอร์มแบคทีเรีย พบว่า มีการปนเปื้อนเชื้อโคลิฟอร์ม
แบคทีเรีย จำนวน 62 ห้อง ร้อยละ 72.1 โดยจุดที่พบการปนเปื้อนมากที่สุด ได้แก่ บริเวณพื้นห้องส้วม ร้อยละ 51.2
รองลงมาคือ ที่รองนั่งโถส้วม ร้อยละ 29.1 และที่จับฉีดน้าชำระ ร้อยละ 26.7 ดังนั้นผู้ดูแลต้องเน้นจุดทำความสะอาด
โดยเฉพาะอย่างยิ่งในบริเวณพื้นห้องส้วม พร้อมทั้งจัดให้มีวัสดุอุปกรณ์ในการอำนวยความสะดวกในห้องส้วมอย่าง
เพียงพอ เพื่อเป็นการลดการปนเปื้อนของเชื้อโรค และนาไปสู่การมีสุขภาพอนามัยที่ดีของผู้รับบริการต่อไป