การพัฒนารูปแบบการดาเนินงานเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก อำเภอเมืองจันทร์ ปี 2563

ผู้แต่ง

  • จิระวัตร วิเศษสังข์

คำสำคัญ:

ไข้เลือดออก, การพัฒนารูปแบบ, การวิจัยและพัฒนา, ระบบสุขภาพอาเภอ

บทคัดย่อ

การวิจัยและพัฒนา (Research and Development) ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการ
ดำเนินงานเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกอำเภอเมืองจันทร์ จังหวัดศรีสะเกษ และเปรียบเทียบ
ผลการดำเนินงานก่อนกับหลังการนารูปแบบที่พัฒนาขึ้นไปดำเนินการ นำรูปแบบที่พัฒนาขึ้นไปดำเนินการที่
อำเภอเมืองจันทร์ จังหวัดศรีสะเกษ ในช่วง 1 ตุลาคม 2562 ถึง 30 กันยายน 2563 กลุ่มตัวอย่าง เป็นการ
เลือกแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive sampling ) ได้แก่ 1) คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอาเภอ
(พชอ.) อาเภอเมืองจันทร์ จานวน 21 คน 2) คณะทางานศูนย์ปฏิบัติการตอบโต้ภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุข
(EOC) และทีมเฝ้าระวังสอบสวนเคลื่อนที่เร็ว (SRRT) จานวน 10 คน 3) ผู้นาชุมชน ประกอบด้วย กำนัน
ผู้ใหญ่บ้าน 52 คน และ 4) ตัวแทน อสม. จานวน 52 คน รวมทั้งหมด 135 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติ
พรรณนา แจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ การหาค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสถิติ t- test เพื่อ
เปรียบเทียบผลการดำเนินงาน
ผลการวิจัยพบว่า หลังการทดลองใช้รูปแบบการดำเนินการใหม่ มีผลลัพธ์การดำเนินงาน 1) อัตราป่วย
โรคไข้เลือดออกลดลง 2) ค่าเฉลี่ยดัชนีความชุกลูกน้ำยุงลายลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) 3) เกิด
หมู่บ้านต้นแบบควบคุมโรคไข้เลือดออกระดับอำเภอ 4) ประสิทธิภาพการควบคุมโรคผ่านเกณฑ์มาตรฐาน 5)
เป็นต้นแบบขยายผลการดำเนินงานสู่ระดับจังหวัด ปัจจัยความสำเร็จที่สำคัญได้แก่ 1) ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เข้า
มามีส่วนร่วมในการดำเนินงานทุกขั้นตอนของกิจกรรม 2) มีการแบ่งปันและใช้ทรัพยากรร่วมกันทุกระดับ 3) มี
การจัดระบบข้อมูลในการเฝ้าระวังโรคในหมู่บ้าน ตำบล อำเภอที่เข้มแข็ง 4) การทำงานเป็นทีม ผู้เกี่ยวข้องทุก
ภาคส่วน มีการประสานการทำงานร่วมกันอย่างเป็นเอกภาพ 5) การบูรณาการภารกิจและขับเคลื่อนโดย
คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ(พชอ.) จึงสรุปได้ว่า รูปแบบใหม่ที่พัฒนาขึ้น ดีกว่ารูปแบบเดิม
เนื่องจากมีวิธีการพัฒนารูปแบบที่ดี จำแนกเป็น 4 ขั้นตอน คือ การวิเคราะห์รูปแบบเดิม การพัฒนารูปแบบ
ใหม่เบื้องต้น การทดลองใช้รูปแบบที่พัฒนาขึ้นใหม่และการสรุปผลการทดลองใช้รูปแบบที่พัฒนาขึ้นใหม่ ทำให้
เกิดระบบที่ชัดเจน สามารถปฏิบัติได้จริง มีวิธีการนำรูปแบบไปดำเนินการที่ดีเป็นที่ยอมรับจากผู้ปฏิบัติงาน
ด้วยหลักการบริหารแบบมีส่วนร่วม มีการติดตามประเมินผลที่ดีและนำผลไปพัฒนารูปแบบขณะดำเนินการ
เป็นระยะๆ ด้วยความร่วมมือร่วมใจของผู้ปฏิบัติงาน เสนอแนะให้พัฒนาต่อเนื่องและครอบคลุมทุกๆ ปัจจัยที่
เกี่ยวข้อง รวมทั้ง ควรนำไปประยุกต์และขยายผลการพัฒนางานทั้งหลายอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน นำไปสู่
ประโยชน์สุขของผู้ป่วย ครอบครัว ชุมชน และ ประเทศชาติ อย่างกว้างขวางและคุ้มค่ายิ่งๆขึ้น

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-11-02