ปัจจัยที่มีผลต่อค่า INR ของผู้ใช้ยาวาร์ฟาริน โรงพยาบาลเบญจลักษ์เฉลิมพระเกียรติ 80พรรษา

ผู้แต่ง

  • สิระ ชวรัศมิ์
  • ชนัชชา อุปฮาด

คำสำคัญ:

วาร์ฟาริน INR

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัย เพื่อสร้างสมการทำนายหาปัจจัยที่มีผลต่อค่า International normalized ratio (INR) ของผู้ใช้
ยาวาร์ฟาริน (Warfarin) โรงพยาบาลเบญจลักษ์เฉลิมพระเกียรติ 80พรรษา เนื่องจากประชากรมีน้อยจึงใช้ประชากรทั้งหมดในการศึกษา
จำนวน 95 คน รวบรวมข้อมูลโดยแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น ได้แก่ ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการดูแลตนเอง มีค่าความเชื่อมั่น
.75, .82 .และ 97 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติเชิงพรรณนา ทำนายตัวแปรคัดสรรโดยสถิติถดถอยโลจิสติคพหุกลุ่ม
(Multinomial logistic regression analysis) ผลการศึกษาพบว่ากลุ่มตัวอย่างมี ความรู้ ทัศนคติ และมีพฤติกรรมการดูแลตนเองที่
ถูกต้องอยู่ในระดับสูง ร้อยละ 100.00 โดยผู้ป่วยที่มีค่า INR ปกติ (2 -3) มีพฤติกรรมการดูแลตนเองที่ถูกต้อง มากกว่าผู้ป่วยที่มีค่า INR
สูง (> 3) 22 เท่า ผู้ป่วยที่มีค่า INR ปกติ (2 -3) มีการปรับขนาดยาที่ใช้ให้ได้ใกล้เคียงกัน มากกว่าผู้ป่วยที่มีค่า INR ต่า (< 2) 15 เท่า
อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ดังนั้น 1) เภสัชกรหรือผู้มีส่วนเกี่ยวข้องควรให้ความสำคัญกับการติดตามพฤติกรรมการปฏิบัติตัวของผู้ป่วย
2)ควรระวังในผู้ป่วยที่เริ่มรับยาเพราะมีแนวโน้มที่จะมีระดับค่า INR สูง 3)ควรติดตามการได้รับยาของผู้สูงอายุ เนื่องจากเมื่ออายุมากขึ้น
ความต้องการยาวาร์ฟารินมีขนาดลดลง ควรตรวจติดตามค่า INR และปรับขนาดยาให้มีความเหมาะสม
เนื่องจากแต่ละหน่วยบริการมีการจัดตั้งคลินิกวาร์ฟาริน ผู้ป่วยได้รับสุขศึกษาจากเภสัชกร มีการปรับขนาดยาที่ใกล้เคียงกันใน
การรักษา แต่ยังพบว่าผู้ป่วยยังเกิดอาการข้างเคียง มีค่า INR ที่สูงหรือต่าผิดปกติ ดังนั้นควรหารูปแบบการพัฒนาที่เป็นต้นแบบและ
วัดผล นาผลลัพธ์ที่ได้ไปพัฒนากระบวนการดูแลผู้ป่วยต่อไป

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-11-02

How to Cite

ชวรัศมิ์ ส. ., & อุปฮาด ช. . (2022). ปัจจัยที่มีผลต่อค่า INR ของผู้ใช้ยาวาร์ฟาริน โรงพยาบาลเบญจลักษ์เฉลิมพระเกียรติ 80พรรษา. วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน, 7(1), 137–146. สืบค้น จาก https://he03.tci-thaijo.org/index.php/ech/article/view/519