การพยาบาลผู้คลอดโรคเบาหวานที่มีภาวะโรคอ้วนร่วมกับมีภาวะคลอดยาก : กรณีศึกษา

ผู้แต่ง

  • สุดารัตน์ ภูจานง

คำสำคัญ:

การพยาบาล, ผู้คลอดโรคเบาหวาน, ภาวะโรคอ้วน, ภาวะคลอดยาก

บทคัดย่อ

ผู้คลอดหญิงไทย เชื้อชาติไทย อายุ 23 ปี (G1P0A0L0) อายุครรภ์ 38+5 weeks by Ultrasound
ฝากครรภ์ที่โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชสระแก้ว จังหวัดสระแก้ว จำนวน 5 ครั้ง เมื่ออายุครรภ์ 28 สัปดาห์
ผู้คลอดเป็นโรคเบาหวาน 2 ปี แต่ไม่รับการรักษาต่อเนื่อง พบ Urine sugar + 4 ผล OGTT ได้ค่ากลูโคสใน
พลาสมา ก่อนรับประทานกลูโคส 203 mg/dl หลังรับประทานกลูโคส 1 ชั่วโมง 108 mg/dl หลังรับประทาน
กลูโคส 2 ชั่วโมง 210 mg/dl ร่วมกับมีภาวะ Obesity (น้าหนัก 105 กก.) แพทย์รักษาโดยรับประทานใน
ช่วงแรก แต่ไม่สามารถควบคุมอาหารและระดับน้าตาลในเลือดได้ แพทย์จึงพิจารณาให้ Insulin ฉีดเข้าใต้
ผิวหนังวันละครั้งก่อนอาหารเช้า รับไว้ในโรงพยาบาล วันที่ 5 เมษายน 2565 ให้ประวัติว่า 50 นาที ก่อนมา
โรงพยาบาล มีเจ็บครรภ์ร่วมกับน้าเดิน ได้รับการวินิจฉัยเบื้องต้น Labor pain with Overt DM with
Obesity จึงรับไว้เพื่อการรักษาใน โรงพยาบาล ทารกได้รับช่วยคลอดโดยใช้เครื่องดูดสุญญากาศ (Vacuum
extraction) เพศหญิง สมบูรณ์แข็งแรง Apgar score นาที 1 และ 5 ได้ 9 และ 9 คะแนน น้าหนัก 2,850
กรัม ประเมินภาวะสุขภาพของทารกแรกเกิดไม่พบสิ่งผิดปกติใด ๆ และได้วางแผนให้การพยาบาลตามกระบวน
ทางการพยาบาล
จากการศึกษาผู้ป่วย พบว่า การติดตามประเมินปัญหาและความต้องการอย่างต่อเนื่องตลอดช่วงเวลา
ที่ได้รับการดูแล ทาให้สามารถวางแผนดูแลช่วยเหลือมารดาหลังคลอดและทารกให้สอดคล้องกับความต้องการ
ได้อย่างครบถ้วน

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-11-02

How to Cite

ภูจานง ส. . (2022). การพยาบาลผู้คลอดโรคเบาหวานที่มีภาวะโรคอ้วนร่วมกับมีภาวะคลอดยาก : กรณีศึกษา. วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน, 7(1), 187–195. สืบค้น จาก https://he03.tci-thaijo.org/index.php/ech/article/view/525