การพัฒนาระบบบริการพยาบาลผู้ป่วยวัณโรค “Dots, s Intrend”

ผู้แต่ง

  • ดาราณี การจุนสี

คำสำคัญ:

ผู้ป่วยวัณโรค, ระบบบริการพยาบาล, ครอบครัวเป็นศูนย์กลาง

บทคัดย่อ

การวิจัยและพัฒนามีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาระบบบริการพยาบาลผู้ป่วยวัณโรคและศึกษาผลลัพธ์ของ
การใช้ระบบบริการพยาบาลที่พัฒนาขึ้นภายใต้แนวคิดหลักฐานเชิงประจักษ์และครอบครัวเป็นศูนย์กลาง กลุ่ม
ตัวอย่างเป็นผู้ป่วยวัณโรครายใหม่ในเดือนมีนาคม จานวน 10 ราย และพยาบาลที่ปฏิบัติงานในคลินิกวัณโรค
และหอผู้ป่วยอายุรกรรมชาย 1 จำนวน 20 คน เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ แนวปฏิบัติการพยาบาลเพื่อส่งเสริมการ
ดูแลตนเองของผู้ป่วยวัณโรค แบบประเมินความรู้เรื่องการพยาบาลผู้ป่วยวัณโรค แบบประเมินกระบวนการ
พยาบาลสาหรับพยาบาล และแบบสอบถามความพึงพอใจของพยาบาลและผู้ป่วย วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติ
บรรยาย ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เปรียบเทียบผลลัพธ์ก่อน-หลังการพัฒนา
โดยการทดสอบค่าที ผลการวิจัยพบว่า การพัฒนาระบบบริการพยาบาลผู้ป่วยวัณโรคในการส่งเสริมการดูแล
ตนเองของผู้ป่วยวัณโรค แบ่งเป็น 4 ระยะ คือ 1) ศึกษาสถานการณ์การพยาบาลผู้ป่วยวัณโรคก่อนและหลังการ
พัฒนาที่ชัดเจน 2) สืบค้นหลักฐานเชิงประจักษ์ เพื่อพัฒนาระบบบริการพยาบาลผู้ป่วยวัณโรค 3) พัฒนาระบบ
การพยาบาลและทดลองใช้กับกลุ่มผู้ป่วยเป้าหมาย 4) ประเมินผลลัพธ์ของการใช้ระบบการพยาบาลในการ
ส่งเสริมการดูแลตนเองของผู้ป่วยวัณโรค พบว่าค่าเฉลี่ยหลังการพัฒนาอยู่ในระดับดี (mean = 27.13, S.D. =
2.13) พยาบาลมีความรู้เรื่องการพยาบาลผู้ป่วยวัณโรค หลังการพัฒนาสูงกว่าก่อนพัฒนาและมีความแตกต่างกัน
อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (P<.001) และค่าเฉลี่ยความพึงพอใจของพยาบาลวิชาชีพต่อการใช้ระบบ
การพยาบาลผู้ป่วยวัณโรค หลังการพัฒนาเพิ่มขึ้นกว่าก่อนพัฒนาและมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทาง
สถิติที่ระดับ .01 (P<.001) จากผลการศึกษาเสนอแนะว่า ควรนาระบบการพยาบาลผู้ป่วยวัณโรคดังกล่าวไปใช้
พัฒนาการให้บริการผู้ป่วยในคลินิกวัณโรค และประยุกต์ใช้ในหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องต่อไป

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-11-02