รูปแบบการบริหารงานแบบธรรมาภิบาลของผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลจังหวัดศรีสะเกษ

ผู้แต่ง

  • ศักดิ์สิน กุลบุตรดี

คำสำคัญ:

รูปแบบ, ธรรมาภิบาล, ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล

บทคัดย่อ

การวิจัยและพัฒนาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการบริหารงานแบบ
ธรรมาภิบาลของผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลจังหวัดศรีสะเกษ 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการ
บริหารงานแบบธรรมาภิบาลของผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในจังหวัดศรีสะเกษ และ 3)
เพื่อเปรียบเทียบผลต่างคะแนนเฉลี่ยของความรู้เรื่องการบริหารแบบธรรมาภิบาล การรับรู้ความสามารถของ
ตนในการบริหารแบบธรรมาภิบาล ทัศนคติต่อการบริหารงานแบบธรรมาภิบาล การมีส่วนร่วมในการบริหาร
ของผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง และพฤติกรรมการบริหารแบบธรรมาภิบาลของผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ
ตำบลจังหวัดศรีสะเกษ ก่อนและหลังได้รับโปรแกรมการบริหารงานแบบธรรมาภิบาลของผู้อำนวยการ
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล แบ่งการศึกษาเป็น 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 เป็นการวิจัยเชิงวิเคราะห์แบบ
ภาคตัดขวาง กลุ่มตัวอย่างคือผู้อานวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในจังหวัดศรีสะเกษ จานวน 254
คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น ระหว่างเดือน 1 มกราคม 2565 ถึง 31 มกราคม
2565 วิเคราะห์เพื่อหาปัจจัยทำนายด้วยสถิติ Multiple linear regression ระยะที่ 2 เป็นการวิจัยวิจัยเชิง
ปฏิบัติการเพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารงานแบบธรรมาภิบาลของผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ
ตำบลในจังหวัดศรีสะเกษ ผ่านกระบวนการจัดการคุณภาพ (PAOR) จานวน 3 วงรอบ กลุ่มตัวอย่างเป็น
ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ผู้นาชุมชน นายกองค์การบริหารส่วนตำบล เจ้าหน้าที่
สาธารณสุขผู้ปฏิบัติ ประชาชนผู้รับบริการ รวมทั้งสิ้น 81 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการรวบรวม จัดหมวดหมู่
และการวิเคราะห์เนื้อหา ระยะที่ 3 เป็นการวิจัยกึ่งทดลองศึกษาผลของรูปแบบที่พัฒนาขึ้น กลุ่มตัวอย่าง คือ
ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลอำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ ที่ได้รับโปรแกรมการ
บริหารงานแบบธรรมาภิบาล จานวน 33 คน วิเคราะห์ข้อมูลเพื่อเปรียบเทียบผลต่างคะแนนเฉลี่ยของตัวแปร
ก่อนและหลังได้รับโปรแกรม โดยใช้สถิติ paired t-test ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการบริหารงาน
แบบธรรมาภิบาลของผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลจังหวัดศรีสะเกษ คือ การประเมินผลและ
การตรวจสอบโดยสามารถอธิบายความผันแปรของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการบริหารงานแบบธรรมาภิบาลของ
ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลจังหวัดศรีสะเกษ ได้ร้อยละ 38.80 (R2=0.388, SEest=2.79484,
F=19.016, p<0.001) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 รูปแบบการบริหารงานแบบธรรมาภิบาลของ
ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลจังหวัดศรีสะเกษ คือ FPTDRMVE Model ประกอบด้วย 1) การ
การบริหารแบบครอบครัว (family management) 2) การสร้างการมีส่วนร่วมและโปร่งใส (participation
and transparency) 3) การเคารพในศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของเพื่อนร่วมงาน (dignity and respect) 4)การปลูกฝังการมีจริยธรรมและศีลธรรม (morality) 5) การสร้างค่านิยมใหม่ที่ถูกต้อง (values) 6) การ
ประเมินผลการปฏิบัติงาน (Evaluation) และหลังทดลองใช้รูปแบบที่พัฒนาขึ้นผู้อำนวยการโรงพยาบาล
ส่งเสริมสุขภาพตำบลจังหวัดศรีสะเกษมีผลต่างคะแนนเฉลี่ยของความรู้เรื่องการบริหารแบบธรรมาภิบาล การ
รับรู้ความสามารถของตนในการบริหารแบบธรรมาภิบาล ทัศนคติต่อการบริหารงานแบบธรรมาภิบาล การมี
ส่วนร่วมในการบริหารขององค์กร และพฤติกรรมการบริหารแบบธรรมาภิบาลสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมี
นัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 จากผลการวิจัยรูปแบบที่พัฒนาขึ้นสามารถเพิ่มการบริหารงานแบบธรรมาภิบาลของ
ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลจังหวัดศรีสะเกษได้ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-11-15

How to Cite

กุลบุตรดี ศ. . (2022). รูปแบบการบริหารงานแบบธรรมาภิบาลของผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลจังหวัดศรีสะเกษ. วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน, 7(2), 160–171. สืบค้น จาก https://he03.tci-thaijo.org/index.php/ech/article/view/591