การส่งเสริมการใช้คู่มือการปลูกกล้วยน้ำว้าเพื่อการใช้สอยและการอนุรักษ์ สำหรับนิสิตระดับปริญญาตรี สาขาวิชาสิ่งแวดล้อมศึกษา คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
คำสำคัญ:
การส่งเสริม, การปลูก, กล้วยน้ำว้า, ประสิทธิภาพ, ค่าดัชนีประสิทธิผล, ความรู้, ทัศนคติบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษาประสิทธิภาพของคู่มือการปลูกกล้วยน้ำว้าเพื่อการใช้สอยและการอนุรักษ์ เพื่อ
ศึกษาดัชนีประสิทธิผลของคู่มือการปลูกกล้วยน้ำว้าเพื่อการใช้สอยและการอนุรักษ์ เพื่อศึกษา และเปรียบเทียบความรู้และ
ทัศนคติต่อการปลูกกล้วยน้ำว้าเพื่อการใช้สอยและการอนุรักษ์สำหรับนิสิตระดับปริญญาตรี สาขาวิชาสิ่งแวดล้อมศึกษา
มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ก่อนและหลังการส่งเสริม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ศึกษาวิจัย คือ นิสิตระดับปริญญาตรี สาขาวิชา
สิ่งแวดล้อมศึกษา คณะสิ่งแวดล้อม และทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม จำนวน 30 คน ได้จากการสมัครใจเข้า
ร่วมการส่งเสริม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วยคู่มือ แผ่นพับ แบบทดสอบความรู้ แบบวัดทัศนคติ สถิติที่ใช้ในการ
วิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าดัชนีประสิทธิผล ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ Paired t-test
ผลการศึกษา พบว่า ประสิทธิภาพของคู่มือ มีค่าเท่ากับ 83.00/87.16 และมีดัชนีประสิทธิผล (E.I) เท่ากับ 0.6992
หมายความว่า นิสิตระดับปริญญาตรี สาขาวิชาสิ่งแวดล้อมศึกษา มีความก้าวหน้าในการมีความรู้ร้อยละ 69.92 สำหรับความรู้
และทัศนคติต่อการปลูกกล้วยน้ำว้าเพื่อการใช้สอยและการอนุรักษ์ ก่อนการส่งเสริมนิสิตมีความรู้โดยรวมอยู่ในระดี ( =
11.46) และหลังการส่งเสริมนิสิตมีความรู้อยู่ในระดับดีมาก ( = 17.43) ทัศนคติก่อนการส่งเสริมนิสิตมีทัศนคติโดยรวมอยู่ใน
ระดับเห็นด้วย ( = 2.69) และหลังการส่งเสริมนิสิตมีทัศนคติโดยรวมอยู่ในระดับเห็นด้วย ( = 2.85) เมื่อเปรียบเทียบ
คะแนนเฉลี่ยของความรู้และทัศนคติก่อนและหลังการส่งเสริม พบว่า นิสิตมีความรู้หลังการส่งเสริมมากกว่าก่อนการส่งเสริม
อย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ .05 แสดงให้เห็นว่า การจัดกิจกรรมการส่งเสริมการปลูกกล้วยน้ำว้าเพื่อการใช้สอยและการ
อนุรักษ์ สำหรับนิสิต ระดับปริญญาตรี สาขาวิชาสิ่งแวดล้อมศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม มีผลทาให้ความรู้และทัศนคติ
ของนิสิตระดับปริญญาตรี สาขาวิชาสิ่งแวดล้อมศึกษาเพิ่มขึ้น