การส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากย่านาง (Tiliacora triandra (Colebr.) Diels.) บ้านวังใหม่ ตำบลนาข่า อำเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม

ผู้แต่ง

  • อารียา หาญณรงค์

คำสำคัญ:

การส่งเสริม, การใช้ประโยชน์, ย่านาง, ความรู้, ทัศนคติ

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีความมุ่งหมาย เพื่อศึกษาสภาพการใช้ประโยชน์จากย่านาง และเพื่อศึกษาและเปรียบเทียบความรู้และ
ทัศนคติก่อนและหลังการส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากย่านาง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ศึกษา คือ ชาวบ้านบ้านวังใหม่ จานวน 30 คน
ได้จากการสมัครใจเข้ารับการส่งเสริม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ คู่มือการส่งเสริม แผ่นพับ แบบสอบถาม แบบสอบถาม
ความรู้และแบบวัดทัศนคติ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติ
ทดสอบสมมติฐาน Paired t-test ผลการวิจัย พบว่า ชาวบ้านใช้ประโยชน์จากย่านางที่ปลูกเองมากกว่าเก็บจากป่าธรรมชาติ
ส่วนใหญ่ใช้ประโยชน์จากย่านางในด้านการประกอบอาหาร ก่อนการส่งเสริมชาวบ้านมีความรู้อยู่ในระดับปานกลาง หลังการ
ส่งเสริมชาวบ้านมีความรู้อยู่ในระดับสูง เมื่อเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยก่อนและหลังการส่งเสริม พบว่า ชาวบ้านมีคะแนนเฉลี่ย
ความรู้หลังการส่งเสริมสูงกว่าก่อนการส่งเสริมอย่างมีนัยสาคัญที่ระดับ .05. ก่อนการส่งเสริม ชาวบ้านมีทัศนคติอยู่ในระดับเห็น
ด้วย และหลังการส่งเสริมชาวบ้านมีทัศนคติอยู่ในระดับเห็นด้วย เมื่อเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยก่อนและหลังการส่งเสริม พบว่า
ชาวบ้านมีคะแนนเฉลี่ยทัศนคติที่ดีขึ้นอย่างมีนัยสาคัญที่ระดับ .05.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-11-25

How to Cite

หาญณรงค์ อ. (2022). การส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากย่านาง (Tiliacora triandra (Colebr.) Diels.) บ้านวังใหม่ ตำบลนาข่า อำเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม. วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน, 1(1), 23–33. สืบค้น จาก https://he03.tci-thaijo.org/index.php/ech/article/view/641