การส่งเสริมการทาน้ำหมักชีวภาพจากเศษผักผลไม้และเศษอาหารในครัวเรือนบ้านดอนบม ตำบลแวงน่าง อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม

ผู้แต่ง

  • ศิริพร วงศ์พงศกร

คำสำคัญ:

การส่งเสริม, น้ำหมักชีวภาพ, ความรู้, ทัศนคติ

บทคัดย่อ

วิจัยนี้มีความมุ่งหมายเพื่อส่งเสริมการทาน้ำหมักชีวภาพจากเศษผักผลไม้และเศษอาหารในครัวเรือน เพื่อศึกษาและ
เปรียบเทียบความรู้และทัศนคติต่อการทาน้ำหมักชีวภาพจากเศษผักผลไม้และเศษอาหารในครัวเรือนบ้านดอนบม กลุ่ม
ตัวอย่างเป็นชาวบ้านดอนบม จำนวน 30 คน ได้จากความสมัครใจเข้าร่วมการส่งเสริม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย
คู่มือ แผ่นพับ แบบทดสอบความรู้ และแบบวัดทัศนคติการส่งเสริมการทาน้ำหมักชีวภาพจากเศษผักผลไม้และเศษอาหาร สถิติ
ที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ Paired t-test ผลการศึกษา พบว่า
ก่อนการส่งเสริมชาวบ้านมีความรู้อยู่ในระดับปานกลาง (gif.latex?\bar{x} = 12.20) และหลังการส่งเสริมชาวบ้านมีความรู้อยู่ในระดับสูง (gif.latex?\bar{x}
=18.30) และก่อนการส่งเสริมชาวบ้านมีทัศนคติอยู่ในระดับไม่แน่ใจ (gif.latex?\bar{x} = 2.13) หลังการส่งเสริมชาวบ้านมีทัศนคติอยู่ใน
ระดับเห็นด้วย (gif.latex?\bar{x} = 2.95) เมื่อเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยของความรู้และทัศนคติก่อนและหลังการส่งเสริม พบว่า หลังการ
ส่งเสริมชาวบ้านมีความรู้และทัศนคติเพิ่มขึ้นกว่าก่อนการส่งเสริมอย่างมีนัยสาคัญที่ระดับ .05 แสดงให้เห็นว่าการส่งเสริมการ
ทาน้ำหมักชีวภาพจากเศษผักผลไม้และเศษอาหารในครัวเรือนสามารถเพิ่มความรู้และทัศนคติที่ดี

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-11-27